บทที่ 2 อะไรคือวีรบุรุษที่แท้

บทที่ 2 อะไรคือวีรบุรุษที่แท้






บทที่ 2 อะไรคือวีรบุรุษที่แท้

 

 

 

เพราะเขาเป็นคนอ่อนแอเขาจึงเห็นแก่ตัว ลูกจงจำไว้นะว่าคนที่เข้มแข็ง ก็คือคนที่ไม่เห็นแก่ตัวนั่นเอง

วาทะของแม่

         ในทุกสังคมมีบุคคลทั้งที่มีจริงและไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการ ยกย่องอย่างสูง
เนื่องจากการกระทำของเขาอันเป็นการกระทำที่ทำได้ยาก
บุคคล ประเภทดังกล่าวนี้อาจเรียกกว้างๆ ได้ว่า
วีรบุรุษ

          “วีรบุรุษจำลองเอาอุดมคติของคุณธรรมที่สังคมยกย่องมาไว้ในรูปของ บุคคล
สังคมย่อมต้องการเอาอุดมคติของคุณธรรมทั้งที่สามารถบรรลุได้และ ไม่สามารถบรรลุได้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานทางจริยธรรมของตน

         
การทำให้อุดมคติเหล่านี้อยู่ในรูปของบุคคล ทำให้สามารถย้ำและสืบทอด อุดมคติได้ง่าย
แม้ในความเป็นจริงวีรบุรุษไม่ใช่คนจริงเป็นแต่เพียงอุดมคติแสดงออก
โดยผ่าน
เรื่องราวของเอกบุคคลคนหนึ่ง
วีรบุรุษจึงเป็นอุดมคติที่มีเลือดเนื้อและ บุคลิกภาพซึ่งคนอาจจำลองตัวเองให้เห็นว่าเป็นไปตามนั้นได้

         
กล่าวโดยโวหารมีบทสนทนาอันไม่รู้สิ้นสุด ระหว่างคนกับวีรบุรุษอยู่ตลอด เวลา

         
.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย

          ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 4

          (วันที่ 9 มีนาคม 2536)

 

         ในความเข้าใจของผมคนที่เป็นคนดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติของ คนกล้าหรือวีรบุรุษอยู่ภายในตัวด้วย! ผมขอยอมรับว่านิยามของความ เป็นวีรบุรุษของตัวผมนั้นได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งยิ่งจากภาพยนตร์กังฟู เรื่องหนึ่งของบริษัทชอว์ บราเดอร์ เมื่อสิบห้าปีก่อนที่นำแสดงด้วยตี๊หลุง ฉากแรกของภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดฉากด้วยการนิยามคำว่าวีรบุรุษโดยผ่าน บทสนทนาระหว่างตี๊หลุงซึ่งเล่นเป็นศิษย์ฆราวาสรุ่นพี่คนโตของวัดเส้าหลิน (ใต้) กับเจ้าอาวาสวัดเส้าหลินผู้เป็นอาจารย์ถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้แก่เขา ในช่วงสมัยราชวงศ์เช็งที่ทางการพวกแมนจูกำลังวางแผนกวาดล้างวัด เส้าหลินซึ่งถูกมองว่าเป็นแหล่งซ่องสุมของพวกกบฏกู้ชาติ

 

        “เธอรู้ไหมว่า วีรบุรุษนั้นคือ  บุคคลเยี่ยงใด!”

        “ไม่ทราบครับอาจารย์

        วีรบุรุษคือบุคคลที่สามารถและยินยอมกล้ำกลืนแบกรับความเจ็บช้ำ ความปวดร้าว และความเข้าใจผิดทั้งปวงไว้กับตนเอง เพื่อบรรลุปณิธาน ในชีวิตของตน บุคคลเช่นนี้แหละคือวีรบุรุษที่แท้จริงหาใช่พวกที่กระทำการใด ๆ ด้วยความบ้าบิ่นมุทะลุอย่างไม่กลัวความตายไม่!"

 

        ฉากต่อมา... เริ่มต้นภายหลังจากวัดเส้าหลินใต้ถูกทำลายอย่างย่อยยับ เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ในวัดส่วนใหญ่ถูกฆ่าตายจนแทบหมดสิ้นหลงเหลือ ศิษย์ฆราวาสที่มีฝีมือเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่กำลังซ่องสุมรวบรวมผู้คนเพื่อมาล้างแค้นทัพแมนจูที่ยังตั้งทัพควบคุมสถานการณ์อยู่ ขณะเดียวกันก็มีข่าว สะพัดไปทั่วว่าศิษย์ผู้พี่คนโต (ตี๊หลุง) ได้ทรยศต่อสำนักหันไปสวามิภักดิ์กับ ราชวงศ์แมนจูเสียแล้วโดยการรับผิดชอบเป็นหัวหน้าหน่วยปราบปรามพวก กบฏแห่งวัดเส้าหลินที่ยังหลงเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนไม่น้อย

        ในที่สุดศิษย์ผู้พี่คนโตก็สามารถตามจับกุมศิษย์ฆราวาสรุ่นน้องที่ เหลืออีกสามคนของตนและเป็นแกนนำของพวกกบฏแห่งวัดเส้าหลินได้หมด ด้วยวิชาฝีมือที่เหนือกว่า  แต่แทนที่จะฆ่าทิ้งเขากลับขออนุญาตจากองค์ชายผู้คุมกองทัพแมนจูมาถล่มวัดเส้าหลินและเป็นเจ้านายของเขานำตัวคน สามคนนี้ไปคุมขังโดยอ้างว่าเพื่อนำไปทรมานรีดเค้นให้สารภาพบอกที่หลบ ซ่อนของแกนนำคนอื่นๆ กับสมัครพรรคพวก

        วิธีการทรมานของศิษย์ผู้พี่คนโตแทบไม่ต่างจากการเคี่ยวกรำ ร่างกายในการฝึกวิชากังฟูของวัดเส้าหลินเลย ภายในระยะเวลาไม่นานนัก แทนที่ศิษย์ผู้น้องสามคนจะมีสุขภาพอ่อนแอทรุดโทรมลงการณ์กลับกลาย เป็นว่าพวกเขาแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมเสียอีก จนพวกแมนจูเริ่มสงสัยและ ระแวงในตัวของศิษย์ผู้พี่คนโตจึงทดสอบความภักดีของเขาด้วยการให้เขา ออกไปประลองฝีมือกลางแจ้งกับหนึ่งในศิษย์รุ่นน้องสามคนที่เป็นนักโทษ จนกระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกตายกันไปข้างหนึ่ง ศิษย์ผู้พี่คนโตจำใจต้องฆ่า ศิษย์รุ่นน้องของตนจนตายแทบเท้าท่ามกลางสายฝนที่ตกกระหน่ำลงมาปกปิด น้ำตาความร้าวรานใจของตัวเขา

        เขาอดทนรอคอยโอกาส จนกระทั่งกำลังกองทหารส่วนใหญ่ของแมนจูมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยกทัพกลับไปเมืองหลวง ประจวบกับ ได้รับข่าวว่าพวกกบฏเส้าหลินจะยกกำลังมาช่วยพรรคพวกที่ติดอยู่ในคุก เขาจึงเปิดเผยจุดประสงค์แท้จริงของตนออกมาแล้วจึงแหกคุกช่วยปลดปล่อย ศิษย์รุ่นน้องสองคนกับพวกและบุกเข้าไปในตำหนักทำการต่อสู้กับองค์ชายและพวกองครักษ์จนกระทั่งสามารถสังหารองค์ชายแมนจูด้วยวิชาหัตถ พุทธเส้าหลินล้างแค้นให้แก่อาจารย์ได้เป็นผลสำเร็จ แต่ตัวเขาเองก็ได้รับ บาดเจ็บสาหัสเช่นกัน

        ฉากสุดท้าย... พวกกบฏเส้าหลินบุกเข้ามาในตำหนักเพื่อกวาดล้าง พวกแมนจูให้สิ้นซาก เด็กหนุ่มฝ่ายกบฏที่เลือดร้อนคนหนึ่งเห็นศิษย์ผู้พี่คนโต ยืนพิงกำแพงหมดแรงด้วยอาการบาดเจ็บสาหัสอยู่จึงตรงรี่ปราดเข้าไปแทง ศิษย์ผู้พี่คนโตด้วยดาบของเขาจนมิดด้าม ทั้งนี้เพราะความเข้าใจผิดคิดว่า ศิษย์ผู้พี่คนโตเป็นพวกขายชาติตามที่มีข่าวลือ ศิษย์รุ่นน้องอีกสองคนที่ตามมา ดูเหตุการณ์ในตำหนักทีหลังได้แต่ยืนมองตาปริบๆ ต่อเหตุการณ์ข้างหน้าที่ เกิดขึ้นและพอจะเริ่มเข้าใจความจริงขึ้นมาบ้างแล้ว เด็กหนุ่มคนนั้นถูก พรรคพวกจับแบกขึ้นบ่าและได้รับการเชิดชูว่าเป็นวีรบุรุษ” ...ผมยังจำสีหน้า และแววตาซึ่งแสดงความปวดร้าวและเจ็บช้ำก่อนที่จะสิ้นลมของศิษย์ผู้พี่คนโต ที่แสดงโดยตี๊หลุงได้อย่างไม่มีวันลืมแม้จนบัดนี้

 




       ผมเก็บความทรงจำเกี่ยวกับนิยามของคำว่าวีรบุรุษดังที่ยกตัวอย่างเป็น หนังดังข้างต้นไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์คนหนึ่งของผมซึ่งมีความรู้กว้าง ขวางเกี่ยวกับวรรณกรรมจีน ในคราวที่เราถกกันเรื่องคนดีกับวีรบุรุษซึ่ง เป็นประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมไทยปัจจุบัน

        เพื่อนคนนี้ของผม แนะนำให้ผมอ่านหนังสือเลียดก๊ก

        (เล่ม 8 กับ เล่ม 9) ตอนอวดอ๋องยอมอัปยศเพื่อแก้แค้นหงออ๋อง

        เขาบอกกับผมว่าแนวคิดเกี่ยวกับวีรบุรุษในภาพยนตร์เรื่องนั้นที่ผม ได้เล่าให้เขาฟังนั้นคงจะมาจากตำนานวีรบุรุษในเลียดก๊กตอนอวดอ๋อง ยอมอัปยศเพื่อแก้แค้นหงออ๋องเพราะตำนานเรื่องนี้เป็นที่โด่งดังมากในหมู่ คนจีนรุ่นก่อน  เพราะสอนให้คนเราควรยินยอมกล้ำกลืนความอัปยศเพื่อบรรลุ จุดประสงค์ของตน ผมหยิบเลียดก๊กตอนนี้ออกมาอ่านทบทวนด้วยความ สนใจ... “เลียดก๊กเป็นพงศาวดารจีนในช่วงราชวงศ์เซียวและราชวงศ์จิว (ก่อนพุทธศักราช 1240 ปี ถึงพุทธศักราช 297) ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคสามก๊ก” (..337-807) เสียอีก

 

เกาเจียนอวดอ๋องฆ่าปู่ของฮูเฉหงออ๋องที่ยกทัพเข้ามาตีเมืองอ๋อง ตายในสนามรบสร้างความเจ็บแค้นให้แก่ฮูเฉหงออ๋อง เจ้าเมืองหงอจึงยกทัพ มาแก้แค้นในอีกสามปีหลังจากนั้น อวดอ๋องสู้ไม่ได้จึงปรึกษากับฮวมเล้และบุนจงซึ่งเป็นมือซ้ายมือขวาของตน ได้ความคิดว่าจะติดสินบนเป็กพีซึ่งเป็นมือซ้ายของหงออ๋องที่เป็นคนโลภและมักมากในกามคุณให้ไปเกลี้ยกล่อม หงออ๋องให้ไว้ชีวิตอวดอ๋อง

        แม้จะได้รับการทัดทานจากหงอจูสู่ผู้เป็นมือขวาของหงออ๋อง แต่ในที่สุดหงออ๋องก็ใจอ่อนเพราะเห็นแก่ทรัพย์สินเงินทอง สตรีงาม ที่อวดอ๋อง ฝากเป็กพีนำมาสวามิภักดิ์ โดยมีข้อแม้ว่าอวดอ๋องและฮูหยิน (ภรรยา) จะต้องไป อยู่เมืองหงอทำงานเลี้ยงม้ารับใช้หงออ๋อง อวดอ๋องจำใจยินยอมฝากเมืองอวด ให้บุนจงดูแลพาฮูหยินกับฮวมเล้ไปเป็นข้ารับใช้หงออ๋องที่เมืองหงอพร้อมกับตน

        ไม่ว่าหงออ๋องจะไปเที่ยว ณ แห่งหนใด อวดอ๋องจะต้องผูกม้าไปเทียม เกวียนถือแส้คอยท่าหงออ๋องอยู่แล้วก็จูงม้านำเกวียนหงออ๋องไปด้วยทุกครั้ง  ชาวเมืองที่ได้พบเห็นก็จะพูดบอกต่อๆ กัน ด้วยเสียงอันดังว่าพวกเราหากยัง ไม่รู้จักอวดอ๋องก็จงมาดูกันเถิดตอนนี้อวดอ๋องกำลังจูงม้าเทียมเกวียนของ หงออ๋องเดินมาโน่นแล้ว !!” มีผู้คนเป็นจำนวนมากแห่กันไปดูอวดอ๋อง

        อวดอ๋องรู้สึกอับอายยิ่งนักแต่ก็พยายามจูงม้าก้มหน้าเดินไปมิได้ เหลียวแลสบตาผู้ใด อวดอ๋องทำหน้าที่เลี้ยงม้าให้หงออ๋องเป็นเวลาสามปี   “ฮวมเล้มือซ้ายของอวดอ๋องได้คอยดูแลระวังอวดอ๋องมิได้คลาดเคลื่อน ไปทั้งกลางวันและกลางคืน ในระหว่างนั้นหงออ๋องได้ส่งคนมาสอดแนมอยู่ เสมอว่าอวดอ๋องจะคิดอ่านประการใด ก็หาเห็นอวดอ๋องคิดอ่านไม่ยังทำงาน รับใช้ตนเป็นปกติอยู่จึงวางใจและดำริว่าจะยกโทษอวดอ๋อง

        ฝ่ายหงอจูสู่มือขวาของหงออ๋อง เมื่อได้ข่าวว่าหงออ๋องจะปล่อย อวดอ๋องก็ตกใจจึงรีบเข้าไปหาหงออ๋องเพื่อคัดค้านว่าการปล่อยอวดอ๋องไป เท่ากับเป็นการปล่อยเสือคืนป่าทางที่ดีควรกำจัดทิ้งเสียดีกว่า หงออ๋องรู้สึก คล้อยตามจึงสั่งคนใช้ให้ไปเอาตัวอวดอ๋องมาแต่เป็นเคราะห์ดีของอวดอ๋อง ที่ชะตายังไม่ถึงฆาตจึงทำให้หงออ๋องเกิดล้มเจ็บกะทันหันทำให้อวดอ๋องยืด เวลาการเข้าพบหงออ๋องไปได้ แต่อวดอ๋องก็คอยสอดแนมฟังข่าวอยู่เนืองๆ   จึงรู้ว่าหงออ๋องป่วยมาสามเดือนแล้วแต่ก็ยังไม่หายขาดจึงสั่งฮวมเล้คนสนิท ให้ไปดูอาการหงออ๋องเพราะฮวมเล้มีความรู้ทางการแพทย์

        ฮวมเล้ไปดูอาการป่วยของหงออ๋อง แล้วกลับมาบอกแก่อวดอ๋องว่า โรคของหงออ๋องนี้ดูท่าจะหายในอีกสี่ห้าวันข้างหน้าถ้าอวดอ๋องไปเยี่ยมใน ตอนนี้ก็จะดี เวลาไปเยี่ยมขอให้อวดอ๋องจงขออุจจาระของหงออ๋องมาทำเป็น พิเคราะห์ดูแล้วใช้นิ้วมือจิ้มอุจจาระเข้าชิมแล้วจงบอกแก่หงออ๋องว่าโรคนี้อีก สี่ห้าวันก็จะหาย หากอวดอ๋องสามารถทำตามคำแนะนำของเขาได้แล้วก็เชื่อ ได้ว่าหงออ๋องจะสิ้นสงสัยและปล่อยตัวอวดอ๋องให้กลับประเทศไปเป็นมั่นคง

        อวดอ๋องตัดสินใจยอมกล้ำกลืนความอัปยศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต ทำตามคำแนะนำของฮวมเล้ทุกประการสร้างความตื้นตันให้แก่หงออ๋องจน ยอมปล่อยอวดอ๋องและฮูหยินกลับเมือง เมื่ออวดอ๋องเดินทางกลับมายัง เมืองของตนที่บุนจงมือขวาของตนดูแลให้เป็นอย่างดีในระหว่างที่ตนเอง ไม่อยู่แล้วก็ยังไม่อาจลืมความหลังที่เป็นความแค้นและความอัปยศของตน ได้อยากจะแก้แค้นด้วยการยกทัพไปตีเมืองหงอโดยเร็ว แต่ติดขัดที่ยังไม่ได้ โอกาสเสบียงอาหารและกำลังทหารก็ยังไม่พร้อม

        แต่เพื่อที่มิให้ลืมความแค้นของตนอวดอ๋องจึงสั่งให้คนใช้ไปตัด ไม้ท่อนกลมยาวศอกเศษมาประมาณห้าสิบท่อนเรียงซ้อนกันเป็นแถวใช้รอง นอนต่างเตียงนอนที่อ่อนนุ่ม และสั่งให้เอาดีหมูสดมาแขวนไว้ตรงข้างที่นอน ทุกคืน เมื่อหาวนอนเมื่อไหร่ก็จะเด็ดดีหมูที่มีรสขมมากัดกินเพื่อมิให้นอนหลับ จะได้ตรึกตรองครุ่นคิดแก้แค้นเมืองหงออยู่ทุกเวลา ซึ่งกลายเป็นที่มาของการ เริ่มต้นปฏิบัติการจองเวรครั้งมโหฬารของอวดอ๋องที่มีต่อหงออ๋องที่เป็นที่ กล่าวขานโจษจันกันมาจนถึงปัจจุบันนี้




        “จิตที่ถูกรัดรึงไว้ด้วยความแค้น เป็นพันธนาการอย่างหนึ่ง      
ดังนั้นการหลุดพ้นจากพันธนาการรึงรัดนั้นจึงคือการสามารถขจัด
ปัญหาความแค้นที่แท้จริง
และคือการหลุดพ้นทางจิตที่ไร้พันธนาการ อีกต่อไป
...
ปัญหาความแค้นจึงกลายเป็นปัญหาทางธรรมในที่สุด
และ การหลุดพ้นจากการผูกรัดรึงพันธนาการด้วยความแค้นจึงเป็นการ เปิดให้ดวงตาเห็นธรรม
คือส่วนหนึ่งในการบรรลุสู่การรู้แจ้งไปในตัว
... ‘
จิตที่ถูกรึงรัดด้วยความแค้นเป็นจิตที่คนโดยทั่วไปมีอยู่คือประสบพบ
มีแต่จิตที่สลัดหลุดพ้นจากพันธนาการนานาประการจึงจะเป็นจิตที่ สวางไสว


เรืองรอง รุ่งรัศมีความแค้น

คอลัมน์กิ่งไผ่และดวงโคม

ผู้จัดการรายสัปดาห์ (26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2536)

 

ในที่สุดบุนจงมือขวาและที่ปรึกษาคนสนิทของอวดอ๋องก็ได้เสนอ แผนการระดับอภิยุทธศาสตร์ (Grand Strategy) 7 ประการให้อวดอ๋อง นำไปปฏิบัติเพื่อบ่อนทำลายหงออ๋องให้สิ้นกำลังลงก่อนที่จะยกทัพไป เผด็จศึกในขั้นสุดท้าย แผนการ 7 ประการที่ว่านั้นคือแผนทำให้รักก่อน แล้วกำจัดทีหลังซึ่งได้แก่

        (1)    ถ้าหงออ๋องชอบสิ่งใดจงเอาใจปฏิบัติตามอย่าได้คิด เสียดายสิ่งของ

        (2)    ส่งเสบียงอาหารไปให้มิได้ขาด

        (3)    หาหญิงรูปงามและชำนาญการขับร้องไปเป็นนางบำเรอ จะได้หลงใหลและขาดการเอาใจใส่ต่อการบริหารราชการ

        (4)    ส่งเสริมให้คนโลภชอบประจบสอพลอพูดจาส่อเสียด ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่าตัวเป็นขุนนางใกล้ชิดที่หงออ๋องเชื่อถือและไว้วางใจ

        (5)    พยายามคิดฆ่าหรือขจัดขุนนางที่สัตย์ซื่อ มีสติปัญญา และ มีฝีมือกล้าแข็งของหงออ๋องให้จงได้

        (6)    จงตระเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อม

        (7)    จงตระเตรียมกำลังทหารให้พร้อม

        อวดอ๋องใช้เวลา 7 ปีในการบรรลุแผนที่ 1 ถึงแผนที่ 3 โดยการส่งคน จำนวนมากไปเสาะหาต้นไม้ใหญ่ขนาดยี่สิบคนโอบและตัดส่งไปให้หงออ๋อง เพื่อทำเป็นเหลาซึ่งใช้เวลาก่อสร้างถึง 5 ปี ในขณะเดียวกันก็เสาะหาหญิง รูปงามจนกระทั่งได้ตัวนางไซซีจากการคัดเลือกหญิงงามทั้งหมดสองพัน กว่าคน และนำนางไซซีไปอบรมการขับร้องเพลงและดีดสีเป็นเวลาสามปีจน ชำนาญก่อนที่จะส่งไปถวายแก่หงออ๋อง

        “หงอจูสู่ขุนนางผู้ภักดีและเป็นมือขวาของหงออ๋องอ่านแผนการ ของอวดอ๋องออกได้พยายามตักเตือนคัดค้านหงออ๋องมาโดยตลอดแต่ หงออ๋องลุ่มหลงนางไซซีอย่างถอนตัวไม่ขึ้นเสียแล้ว ในที่สุดก็สั่งประหารหงอจูสู่ โดยการแสร้งลืมกระบี่อาญาสิทธิ์ไว้ที่บ้านพักของหงอจูสู่เพื่อบีบบังคับให้ หงอจูสู่เชือดคอฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันเป็กพีมือซ้ายของหงออ๋องที่ได้รับ สินบนจากอวดอ๋องมาโดยตลอดกลับได้รับการส่งเสริมมีตำแหน่งใหญ่โต กว่าเดิมเป็นขุนนางผู้ใหญ่ได้ว่าราชการสิทธิ์ขาด





        สำหรับแผนที่ 6 “การตระเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อมนั้นอวดอ๋อง ได้ส่งบุนจงไปยืมข้าวจากหงออ๋องจำนวนหนึ่งพันเกวียนโดยอ้างว่าปีนี้ ข้าวยากหมากแพงพอปีนี้ทำนาได้บริบูรณ์แล้วจะชดใช้คืนให้ หงออ๋องหลงเชื่อให้ยืมข้าวหนึ่งพันเกวียนแก่อวดอ๋องอวดอ๋องนำข้าวที่ยืมมาไปแจก จ่ายแก่ชาวเมืองขยายการเพาะปลูกจนปีต่อมาได้ข้าวเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวน มาก พอตอนจะเอาข้าวพันเกวียนไปคืนแก่หงออ๋องตามสัญญาก็เอาข้าวมา โกรกคัดเอาแต่เมล็ดใหญ่ๆ มาตั้งไฟนึ่งเพื่อไม่ให้ข้าวงอก พอหงออ๋องเห็น เมล็ดข้าวขนาดใหญ่ที่อวดอ๋องส่งมาก็ดีใจนึกว่าเป็นพันธุ์ดีจึงนำไปแจกจ่าย แก่ราษฎรโดยหารู้ไม่ว่าปีต่อไปข้าวนั้นจะไม่งอก

        สำหรับแผนที่ 7” นั้น ก็ส่งคนออกไปเสาะหาจอมยุทธ์มาเป็น ครูฝึกกองทัพ ปรากฏว่าได้มาสองคนเป็นหญิงกับชายชื่อนางซูหนิงกับตั๋นอึม 

       เมื่อดำเนินตามแผนการต่างๆ จนได้ผลแล้วอวดอ๋องก็ยกทัพไปบุก เมืองหงอจนเกือบจะยึดเมืองได้แล้ว พอดีหงออ๋องส่งเป็กพีมาทวงบุญคุณที่ เคยไว้ชีวิตตนในอดีตอวดอ๋องจึงยอมยกทัพกลับเพื่อรักษาภาพพจน์ความ เป็นคนมีคุณธรรมของตนเอาไว้  แต่จริงๆ แล้วต้องการปล่อยให้หงออ๋องทำลาย ตนเองมากกว่านี้และสูญเสียความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองมาก กว่านี้ต่างหาก

       
       หงออ๋องมิได้สำนึกในความผิดพลาดของตนเมื่ออวดอ๋องถอนทัพ กลับไปแล้วก็วางใจหมกมุ่นกับสุรานารีดังเดิม จนกิตติศัพท์ความเหลวแหลก ของหงออ๋องกระจายไปทั่วแล้วอวดอ๋องจึงยกทัพมาบุกเมืองหงออีกครั้งหนึ่ง ปิดล้อมหงออ๋องจนไม่มีทางหลบหนี หงออ๋องจนปัญญาจึงเขียนหนังสือถึงฮวมเล้กับบุนจงมือซ้ายมือขวาของอวดอ๋องมีใจความว่าซึ่งท่านทั้งสอง เป็นนายทหารอวดอ๋องยกมาตีเมืองหงอครั้งนี้แม้นการสำเร็จแล้วคงจะมี อันตรายถึงตัวท่าน อุปมาเหมือนหนึ่งนายพรานเที่ยวยิงเนื้อในป่าก็ย่อมเอา สุนัขนั้นไปด้วย แม้นสิ้นเนื้อในป่าจะหาต่อไปมิได้ก็จะฆ่าสุนัขนั้นกินต่างเนื้อ ขอท่านจงตรึกตรองดู ถ้าเข้าใจแล้วจงเมตตาปล่อยให้ข้าพเจ้ารอดจากความ ตายเถิด

        แต่ฮวมเล้กับบุนจงไม่ฟัง หงออ๋องจนใจจึงต้องชักกระบี่ออกเชือดคอ ขาดใจตาย เมื่ออวดอ๋องยกทัพเข้าเมืองหงอได้แล้วงานแรกที่ทำคือสั่งประหาร เป็กพีและครอบครัวและแต่งหนังสือกราบทูลฮ่องเต้พร้อมมอบเครื่อง บรรณาการทำให้เมืองอวดได้รับแต่งตั้งเป็นหัวเมืองเอกแทนเมืองหงอ

        เมื่ออวดอ๋องยกทัพกลับเมืองอวดแล้วได้จัดงานเลี้ยงฉลองชัยชนะ ใหญ่โตมีการร้องเพลงสรรเสริญฮวมเล้กับบุนจงว่าเป็นที่ปรึกษาที่ปราด       เปรื่องด้วย พวกขุนนางได้ฟังก็หัวเราะชอบใจแต่อวดอ๋องกลับนิ่งเฉยมิได้พูดจา ประการใดฮวมเล้เห็นกิริยาของอวดอ๋องแล้วก็ถอนใจใหญ่คิดว่าอวดอ๋อง ได้ยินเพลงขับร้องเช่นนี้คงจะระแวงตนกับบุนจงอยู่นานไปคงจะทำร้ายตน กับบุนจงเหมือนที่หงออ๋องเคยเตือนไว้เป็นแน่ฮวมเล้จึงกล่าวลาอวดอ๋อง แล้วพาครอบครัวแอบหนีไปอยู่เมืองอื่น ก่อนไปเขาได้เขียนจดหมายเตือน บุนจงไว้ว่า

        “ท่านลืมความในหนังสือของหงออ๋องแล้วหรือ? อนึ่ง เราดูลักษณะ ของอวดอ๋องแล้ว เห็นคอยาว ริมฝีปากแหลม เป็นคนหามีความละอายไม่เมื่อ คราวทุกข์ก็จะให้พวกเราช่วยครั้นเป็นสุขก็จะลืมคุณพวกเราเสียแม้นท่านอยู่ ทำราชการไปก็เห็นจะมีอันตรายแก่ตัวท่าน

        แต่บุนจงลังเลสองจิตสองใจจึงถูกอวดอ๋องสั่งประหารด้วยการแสร้ง ลืมกระบี่อาญาสิทธิ์ในที่สุด ส่วนนางไซซีหมากตัวสำคัญในแผนปฏิบัติการจองเวรซึ่งกินเวลาทั้งหมดถึงสิบกว่าปีกว่าจะบรรลุผล อวดอ๋องติดใจใน รูปร่างคิดจะพากลับมาชุบเลี้ยงที่เมืองอวดด้วยแต่ปรากฎว่าฮูหยินภรรยา ของอวดอ๋องหึงหวงจึงส่งคนลอบไปลวงนางไซซีออกมานอกตึกแล้วมัดใส่ กระสอบถ่วงด้วยศิลานำไปทิ้งในแม่น้ำเสีย ส่วนอวดอ๋องนั้นครองเมืองนานถึง สิบเจ็ดปีก่อนป่วยตายอย่างสงบ

         ยิ่งผมอ่านเรื่องราวของอวดอ๋องไปมากเท่าใดผมก็ยิ่งรู้สึกว่าตำนาน วีรบุรุษเรื่องนี้ไม่ถูกต้องแล้ว!! และผมไม่อาจยอมรับในพฤติกรรมของ อวดอ๋องได้!!

        เท่าที่ผ่านมาคนจีนนิยมยกเรื่องราวแห่งความเป็นวีรบุรุษที่ยอม อัปยศของอวดอ๋องเพื่อมาสร้างความชอบธรรมแห่งการพกพาความแค้นไว้ในใจของพวกเขา แต่พฤติกรรมเช่นนี้ของอวดอ๋องถูกต้องสมควรแก่การ สรรเสริญจริงหรือ?

        เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะปู่ของหงออ๋องถูกอวดอ๋องฆ่าตายในสนาม รบ อวดอ๋องไม่ผิดเพราะปู่ของหงออ๋องยกทัพมารุกรานเมืองอวดก่อน หงออ๋อง ยกทัพบุกเมืองอวดเพื่อล้างแค้นให้กับปู่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ถ้าพูดตามตรรกะ แห่งอำนาจแล้วหงออ๋องสมควรฆ่าอวดอ๋องเพื่อขจัดเสี้ยนหนามแต่แรกแต่ หงออ๋องกลับไม่ทำเนื่องจากความเป็นคนใจอ่อนและโลเลของเขา อวดอ๋อง สมควรสำนึกส่วนที่ดีในตัวของหงออ๋องส่วนนี้ แต่เขากลับบ่มเพาะความแค้น อันล้ำลึกเอาไว้และใช้ช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตอันมีค่าของเขาให้หมดไปกับ การล้างแค้นซึ่งแทบสูญเปล่าและไร้ความหมายโดยแท้

        บุคคลในเรื่องนี้ที่เป็นวีรบุรุษที่แท้และผมยอมรับได้มีเพียงคน เดียวเท่านั้นคือฮวมเล้เขาเป็นคนซื่อสัตย์ฉลาดและไม่ยึดติด จึงทำให้เขา สามารถปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากอวดอ๋องและมีชีวิตที่เสรีใน บั้นปลายได้

        เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เห็นด้วยและไม่อาจยอมรับตำนานวีรบุรุษของอวดอ๋องที่คนจีนรุ่นก่อนตีความกันมานับเป็นร้อยๆ ปีได้อีกต่อไปแม้ผม จะมีความเชื่อมั่นโดยไม่เสื่อมคลายว่า

        “วีรบุรุษคือบุคคลที่สามารถและยินยอมกล้ำกลืนแบกรับความ อัปยศ ความเจ็บช้ำ ความปวดร้าว และความเข้าใจผิดทั้งปวงไว้กับตนเองเพื่อ บรรลุปณิธานในชีวิตก็จริงแต่วีรบุรุษจะต้องทำสิ่งนั้นมิใช่เพราะความแค้นแต่เพราะความรักในจิตใจของเขาที่มีต่อมนุษยชาติ

        ผมจึงขอเพิ่มเติมนิยามวีรบุรุษในทัศนะของผมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ดังนี้ว่า

        วีรบุรุษคือ  บุคคลที่ไม่สร้างความอัปยศ ความเจ็บช้ำ ความ ปวดร้าว ทั้งทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมให้แก่ผู้อื่น

        “วีรบุรุษคือ บุคคลที่ยินยอมกล้ำกลืน แบกรับความอัปยศ ความ เจ็บช้ำ ความปวดร้าว และความเข้าใจผิดทั้งปวงเอาไว้กับตนเอง

        ถ้านิยามวีรบุรุษอย่างนี้แล้ววีรบุรุษในดวงใจของผมก็มีเพียง สองคนเท่านั้นคือโอ้วฮุยแห่งจิ้งจอกอหังการของกิมย้งกับเอี๊ยบไคแห่งดาบจอมภพของโกวเล้ง” !!






        ฉาน บรรณฉันท์ ได้สรุปไว้อย่างรัดกุมว่าวีรบุรุษอย่างโอ้วฮุยไม่มี  “การเมืองแจ่มชัดเขาเป็นคนเร่ร่อนพเนจร เปลี่ยวเหงา ไร้สังกัด แต่เขาเป็น คนที่มีน้ำใจกว้างขวางยิ่งเพราะโดยจารีตของชาวยุทธ์โอ้วฮุยจะต้องล้างแค้น ให้โอ้วเจ็กตอผู้เป็นบิดาซึ่งถูกเมี้ยวนั้งหงส์ฆ่าตายโดยไม่เจตนา แต่ครั้นโอ้วฮุย ได้พบเห็นเมี้ยวนั้งหงส์ก็รู้สึกยอมรับนับถือเพราะคนผู้นี้นอกจากจะเป็นยอด ฝีมืออันดับหนึ่งของแผ่นดินแล้วเขายังองอาจเปิดเผยยึดถือคุณธรรมสมกับเป็น วิญญูชนที่แท้จริง

        โอ้วฮุยเคยเข้ามาแบกรับงานใหญ่เพียงเพราะเจ็บแค้นแทนคน เล็กๆ ที่ถูกผู้มีอิทธิพลรังแก ยินยอมเปลืองตัวโดยไม่คำนวณผลได้ผลเสีย ของตัวเอง บุคลิกภาพของโอ้วฮุยจึงเป็นดังที่กิมย้งบรรจงวาดไว้ว่า

        ยศถาบรรดาศักดิ์ไม่อาจมอมเมาจิตใจ

        ยากไร้ต่ำต้อยไม่อาจแปรปณิธาน

        ใต้อิทธิพลอำนาจไม่ยอมสยบ

        ไม่หวั่นไหวต่อความงามสตรี

        ไม่โอนอ่อนต่อถ้อยคำวิงวอน

        ไม่ผันแปรเพราะการให้เกียรติ

        ส่วนเอี๊ยบไคผู้เป็นทายาทสืบทอดวิชามีดสั้นของลี้คิมฮวงเล่า?   ความจริงเอี๊ยบไคสมควรเป็นบุคคลที่มีแต่ความแค้นเต็มหัวใจเพราะเขาคือ บุตรโทนเพียงคนเดียวของจอมดาบเทพเจ้าแป๊ะเทียนอู้ ผู้ถูกรุมสังหาร อย่างเหี้ยมโหดในคืนหิมะตกหนัก ณ อารามดอกเหมยเมื่อยี่สิบปีก่อนแต่ เขากลับมิได้เป็นคนมีความอาฆาตแค้นรุนแรงล้ำลึก เนื่องจากเมล็ดพืชที่ งอกงามเพาะเติบใหญ่อยู่ภายในดวงใจของเขาเป็นเมล็ดพืชแห่งความรักและเป็นเมล็ดพืชแห่งอโหสิกรรมภายใต้การบ่มเพาะเลี้ยงดูและอบรมของวีรบุรุษผู้มีชื่อว่าลี้คิมฮวง

        เอี๊ยบไคจึงมีความเชื่อมั่นอันฝังรากลึกและหนาแน่นอยู่ในความคิด ของเขาว่า

        สามารถฆ่าคนมิใช่เป็นเรื่องยาก แต่สามารถยินยอมให้อภัยแก่คน ที่ท่านพร้อมจะฆ่าได้ทุกเวลาจึงเป็นเรื่องยากเข็ญที่สุด

        เป็นที่น่าเสียดายว่าทั้งโอ้วฮุยและเอี้ยบไคเป็นบุคคลในนิยาย ใน จินตนาการของผู้แต่งเท่านั้น มิได้มีตัวตนอยู่จริงมายืนยันและรองรับคำนิยาม  “วีรบุรุษข้างต้นของผม

        แต่ถ้าหากเรายอมรับว่ามีบทสนทนาอันไม่รู้สิ้นสุดระหว่างคนกับ วีรบุรุษอยู่ตลอดเวลาก็ย่อมมีทางเป็นไปได้ที่พวกเราจะแปรการกระทำของ พวกเราให้ใกล้เคียงกับ การกระทำของวีรบุรุษในดวงใจได้ในสถานการณ์ที่ ต่างออกไป  สิ่งนี้ต่างหากที่มีความสำคัญยิ่งในการศึกษาตำนานวีรบุรุษ”  ของ คนสมัยนี้

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้