ชี่กงเพื่ออายุวัฒนะของกายและความเป็นอมตะของจิต

ชี่กงเพื่ออายุวัฒนะของกายและความเป็นอมตะของจิต

 ชี่กง (วิชาลมปราณ) ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน เป็น รูปการล่าสุดของ "ลัทธิ เต๋า" ที่เผยตัวเองออกมาในรูปแบบของการฝึกออกกำลังกายและการฝึกลมปราณเพื่อ สุขภาพ ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่การแสดงออกทางความเชื่อ เรื่องศาสนาและจิตวิญญาณของผู้คนถูกจำกัดเสรีภาพ แต่ในสมัยโบราณสิ่งที่ปัจจุบัน เรียกว่า ชี่กง นั้น คนสมัยก่อนเขาเรียกว่า การบำเพ็ญ ของลัทธิเต๋า โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ ความมีอายุวัฒนะ (Longevity) และ ความเป็นอมตะ (immortality) ไป พร้อมๆ กัน

การฝึกชี่กงที่คนส่วนใหญ่ฝึกกันอยู่ในปัจจุบันมักบกพร่องด้านเดียว คือ มุ่งเน้นเฉพาะ ความมีอายุวัฒนะ ซึ่งเป็นเรื่องของ กาย โดยไม่ค่อยเอาใจใส่ในเรื่อง ความเป็นอมตะ ของ จิต ทั้งๆ ที่สองสิ่งนี้ จะต้องฝึกฝนบ่มเพาะควบคู่กันไปอย่าง มีสมดุล จึงจะเป็น ชี่กงที่แท้จริง หรือเป็น การบำเพ็ญที่แท้จริง ตามหลักการของ ลัทธิเต๋าที่มีมาหลายพันปีแล้ว

ผู้ที่สนใจจะฝึกชี่กงในสมัยนี้ หากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องดังข้างต้นก็อาจ ไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฝึกชี่กงได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถพาก- เพียรหรือขาดแรงจูงใจที่จะฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฝึกชี่กง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ชี่กง คือ ศาสตร์และศิลปะ แห่งการพัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตของลัทธิเต๋า ที่เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีลักษณะบูรณาการที่สุด เท่าที่เคยมีอยู่ในอารยธรรมของ มนุษยชาติ

ในการจะฝึกชี่กง คนผู้นั้นจะต้องเข้าใจเรื่อง หยวนชี่ (ปราณดั้งเดิม) เสียก่อน ในความเข้าใจของคนทั่วไป เมื่อเจ็บป่วยไม่สบายก็ต้อง "กินยา" ซึ่งเป็นการใช้ "วัตถุ" จาก ภายนอกร่างกาย เข้ามาบำบัดอาการป่วยไข้ แต่ข้อเสียของการใช้ยาที่ ไม่ควรมองข้าม คือ ผลข้างเคียง ที่ตัวยามีต่อร่างกายของผู้ป่วยไม่มากก็น้อย ด้วย เหตุนี้ ชาวเต๋าจึงมีการคิดค้นวิธีการบำบัดรักษาโรคจากข้างในโดย ใช้ หยวนชี่ หรือ ปราณดั้งเดิมที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราตั้งแต่เกิดในตัวผู้ป่วย มาเพิ่มภูมิต้านทาน โรคของผู้ป่วยให้สามารถบำบัดโรคได้ด้วยตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ

แต่ หยวนชี่ ของ คนธรรมดาที่มิได้บำเพ็ญ หรือมิได้ฝึกชี่กงอย่างสม่ำ เสมอนั้น มันไม่ค่อยมีพลังหรือทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก ต่อให้ คน ธรรมดา เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ก็ยังเป็นแค่การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเสียเป็นส่วน ใหญ่ ซึ่งก็มีส่วนดีอยู่ แต่ยังมิพอเพียงต่อการทำให้ หยวนชี่ ขับเคลื่อนได้อย่างมี ประสิทธิภาพสมบูรณ์ ชาวเต๋าเห็นว่ามีแต่ต้องฝึกลมปราณหรือชี่กงเสริมเข้าไปกับการ ออกกำลังกายด้วยเท่านั้น ถึงจะทำให้ หยวนชี่ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ได้

ชาวเต๋ามีความเห็นว่า หยวนชี่ ของคนเรามีลักษณะเหมือน น้ำ ถ้าน้ำนิ่ง ดุจน้ำในบึงมันจะขุ่น แต่ถ้าน้ำไหลตลอดดุจน้ำเชี่ยวในลำธารน้ำตก มันจะใสฉันใด ก็ฉันนั้น น้ำที่ขุ่นหรือหยวนชี่ที่ไหลเวียนไม่สะดวกในร่างกายของคนเรา ย่อมไม่มี ประสิทธิภาพในการบำบัด ขณะที่น้ำที่ไหลแรงย่อมมีพลังเหมือนหยวนชี่ที่ไหลต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ย่อมเปล่งประสิทธิภาพเกินกว่าที่คนธรรมดาทั่วไปจะคาดนึกได้มากมายนัก

ชาวเต๋าเชื่อกันว่า ผู้ใดก็ตามที่สะสม หยวนชี่ เอาไว้ภายในร่างกายได้ มากพอ หยวนชี่นั้นจะไปขับดันกระแสโลหิตให้ไหลเวียนได้สะดวกดีขึ้น ปราณ (ชี่) ที่ผสมกับเลือด ชาวเต๋าเรียกว่า "เลือดลม" อันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการธำรงรักษา ชีวิตของคนเราเอาไว้ เลือดลมนี้จะไหลไปตามเส้นทางของปราณที่มักเรียกกันติดปากว่า เส้นชีพจร ซึ่งดำรงอยู่ทั่วร่างกาย เป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนครอบคลุมอวัยวะทุกส่วนใน ร่างกายกระทั่งผิวหนังและขุมขน อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราล้วนได้รับการ บำรุงหล่อเลี้ยงจากเลือดลมที่ส่งมาตามเส้นชีพจรเหล่านี้ทั้งสิ้น

ชาวเต๋าจึงสอนกันต่อๆ มาว่า หากคนเราหมั่นฝึกลมปราณ (ชี่กง) กระตุ้น หยวนชี่ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องป่วยไข้และ สามารถที่จะมีสุขภาพที่ยั่งยืนได้ตราบจนสิ้นอายุขัย การฝึกลมปราณทำให้หยวนชี่ใน ร่างกายคึกคัก ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อ สุขภาพกาย แล้ว ยังส่งผลดีต่อ สุขภาพใจ ของคนผู้นั้นอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ด้วยเขาผู้นั้นจะกลายเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่น มั่นคง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีสมาธิในการทำงานในกิจทั้งปวงที่สูงยิ่ง

พูดง่ายๆ ก็คือ เขาผู้นั้นจะเป็นผู้ที่อยู่ในสภาพ "ท็อปฟอร์ม" อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจอันเป็นภาวะที่ชาวเต๋าเห็นว่าสำคัญที่สุดในการผ่านพ้นโลก ทางวัตถุนี้ ก่อนที่ตัวเองจะรุดหน้าพัฒนาตัวเอง ก้าวข้ามไปสู่โลกที่ละเอียดกว่านั้น หรือจนกว่าจะหลุดพ้นจากสามโลกในที่สุด

อะไรคือ ความหมายของคำว่า "หยวน" ใน หยวนชี่ ?

คำว่า หยวน นี้ ถ้าแปลความหมายตามตัวอักษร คือ แปลว่า ดั้งเดิม โดยที่ชาวเต๋า หมายถึง สิ่งที่เป็นปฐมแห่งการก่อเกิดของสรรพสิ่ง คนโบราณจึงเรียก หยวน ว่าคือ เต๋า แต่ถ้ามองในแง่ของคุณสมบัติ หยวนจะมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ หยวนของปราณ หยวนของแสง และหยวนของเสียง หรือปฐมของปราณ (พลังงาน) ปฐมของแสงและปฐมของเสียงซึ่งครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในจักรวาลเอาไว้ทั้งหมด หยวนสามอย่างนี้ ชาวเต๋าเรียกว่า "สามหยวน"

ในทางปรัชญาเต๋า หยวน กับ สามหยวน มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่น แฟ้น หาก หยวน คือ กาย สามหยวน ก็คือ ประโยชน์ใช้สอยจากกาย หยวนย่อม ครอบคลุมสามหยวนเอาไว้อยู่ในตัวมัน และตัวสามหยวนก็ไม่อาจตัดขาดจากหยวน ดั้งเดิมได้ หยวนและสามหยวนจะว่าไปแล้วก็คือ สิ่งเดียวกัน

ชาวเต๋าเข้าใจกระบวนการก่อเกิดของจักรวาลว่า หยวนแห่งเสียง เกิด ก่อนแล้วจึงเกิด หยวนแห่งปราณ และ หยวนแห่งแสง ตามลำดับ ในช่วงที่ฟ้าดิน ยังไม่แยกจากกัน สามหยวนยังไร้รูป จึงมีชื่อเรียกว่า สามหยวนก่อนกำเนิด แต่ภาย หลังจากที่ฟ้าเป็นฟ้า ดินเป็นดินแล้ว สามหยวนจึงมีรูปและมีชื่อเรียกว่า สามหยวน หลังกำเนิด แต่ทั้งสามหยวนก่อนกำเนิดและหลังกำเนิดต่างก็ล้วนเป็นลีลาที่แสดงตัว ออกมาของ หยวน ทั้งสิ้น

ชาวเต๋าเชื่อว่า หยวนและสามหยวนมีลักษณะ 5 ประการคือ
1) ใหญ่สุด และก็เล็กสุด สามหยวนดำรงอยู่เต็มไปทั่วทั้งมหาจักรวาล และก็เป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของวัตถุ เล็กขนาดที่ไม่อาจแบ่งย่อยให้เล็กไปกว่า นั้นได้ สามหยวนจึงเป็น สิ่งที่ไร้ขอบเขตในเชิงพื้นที่
2) ไม่เกิดไม่ดับ ไม่เพิ่มไม่ลด ต่อให้รูปลักษณ์ของสามหยวนจะแปร เปลี่ยนแค่ไหน จากในอดีต จนถึงปัจจุบัน ยังถึงอนาคต แต่ปริมาณรวมของมันไม่เคย เปลี่ยนแปลง สามหยวนจึงเป็น สิ่งที่ไร้ขอบเขตในเชิงกาลเวลา
3) มีความละเอียด เป็นทิพย์ ผู้ที่บำเพ็ญย่อมเคยมี หรือจะมีประสบ การณ์โดยตรงทราบได้เองว่า ตัวเองสามารถดูดซับสามหยวนแห่งฟ้าดินผ่านทางรูขุมขน ได้ นี่คือสิ่งที่ชาวเต๋าเรียกว่า ความละเอียดอันเป็นทิพย์ของสามหยวน
4) มีทั้งพลังงานและข่าวสารอยู่ในตัวเอง อันเป็นที่มาของประสบการณ์ ทางจิตประเภทต่างๆ ที่มักบังเกิดแก่ผู้บำเพ็ญ
5) ดำรงอยู่ทั้งในภพภูมิที่มนุษย์รับรู้ได้ และในภพภูมิที่มนุษย์ธรรมดา ไม่อาจรับรู้ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นคงเห็นได้ชัดว่า การบำเพ็ญ "หยวน" โดยผ่านการฝึก ลมปราณหรือชี่กงเพื่อกระตุ้นหยวนชี่นั้น ชาวเต๋ามิได้มุ่งหวังแค่ให้ปลอดโรคหรือมี อายุวัฒนะเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังถึงความเป็นอมตะของจิตที่ชาวเต๋าเรียกว่า เซียน กัน เลยทีเดียว โดยที่ชาวเต๋าเชื่อกันว่า การบรรลุความเป็นเซียนหรือความเป็นอมตะแห่ง จิตนั้น ทำได้ด้วยการที่ทำให้ "มนุษย์กับฟ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน" หรือการยกระดับจิต สำนึกของผู้บำเพ็ญให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกับจิตสำนึกของฟ้าหรือของเต๋า โดยผ่านวิธี การที่ผู้บำเพ็ญทำการดูดซับ บ่มเพาะหยวนภายในตัวเองและทำการ "แปรธาตุ" จน กระทั่งเกิดการแปรเปลี่ยนตกผลึกภายในอย่างสมบูรณ์ และเข้าถึงความรู้แจ้งในแบบ ของชาวเต๋าในที่สุด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้