3. ต้นไม้พันปี

3. ต้นไม้พันปี



3. ต้นไม้พันปี


 
 
ปลายปี ค.ศ.1993 ดร.สันติชาติอโศกาลัยเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาทางวิชาการเรื่องวัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อมระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมงานในเช้าวันหนึ่งเขาได้พบกับนักวิชาการชาวญี่ปุ่นผู้มาร่วมงานสัมมนาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่งทั้งสองได้สนทนากันอย่างถูกคอโดยเรื่องที่พูดคุยส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับความลึกล้ำที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมทั้งสิ้น


ถ้าถามผมว่า อะไรคือแก่นแท้ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผมก็เห็นจะต้องตอบว่าคือ วัฒนธรรมเกี่ยวกับต้นไม้ ซึ่งปรากฏเห็นได้ชัดในงานของช่างไม้ผู้ก่อสร้างวัดในญี่ปุ่นโดยเฉพาะวัดโฮริวยิแห่งเมืองนาราซึ่งมีอายุเก่าแก่เกินกว่าหนึ่งพันสามร้อยปีแล้วก็ยังดำรงอยู่โดยไม่บุบสลายคุณลองคิดดูซิว่าไม้ที่ช่างไม้เอามาใช้ในการสร้างวัดแห่งนี้จะมีอายุเท่าไหร่ในขณะนี้”นักวิชาการชาวญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในวัยกลางคนพูดขึ้นก่อน


สันติชาติครุ่นคิดสักพักคล้ายไม่เข้าใจว่าเพื่อนชาวญี่ปุ่นต้องการจะบอกอะไรจึงตอบออกไปอย่างคาดคะเนว่า “ก็ต้องพันปีขึ้นไปซิครับ”


หนุ่มใหญ่ชาวญี่ปุ่นพอได้ฟังก็หัวเราะเล็กน้อยพร้อมกับส่ายหัวแล้วกล่าวว่า


“ไม่ใช่อย่างนั้นครับโปรเฟสเซอร์สันติชาติอย่างน้อยก็ต้องสองพันปีขึ้นไปซิครับเพราะต้นไม้ฮิโนะคิที่ช่างไม้ใช้นำมาสร้างเป็นเสาวัดนั้นมันใหญ่มากขนาดหลายคนโอบซึ่งกว่าต้นไม้นั้นจะโตพอที่จะใช้งานได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าพันปีฉะนั้นเมื่อรวมเวลากว่าพันปีที่ผ่านพ้นไปต้นไม้ฮิโนะคิที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างวัดโฮริวยิจึงมีอายุเกินกว่าสองพันปีขึ้นไปแล้ว”


โปรเฟสเซอร์หนุ่มจากประเทศไทยถึงกับตกตะลึงเมื่อได้ฟังคำตอบเขาพลอยคิดย้อนวันเวลาตามไปด้วยพร้อมกล่าวว่า “เวลาสองพันปีนี่นานเหลือเกินนะครับต้นไม้เหล่านี้มีกำเนิดก่อนพระเยซูจะประสูติเสียอีกดีไม่ดีบางต้นอาจจะเกิดในช่วงเดียวกับพระพุทธเจ้าก็เป็นได้นะครับ”


“ถูกแล้วครับมันได้เฝ้าดูความเป็นไปของมนุษย์ตลอดช่วงเวลาสองพันกว่าปีมานี้ได้แลเห็นอวิชชาความโง่เขลาของมนุษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่ามานับครั้งไม่ถ้วนเลยทีเดียวมันแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าคนญี่ปุ่นยุคสมัยอะซุกะจะมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับเรื่องไม้ฮิโนะคิลึกซึ้งถึงขนาดนี้เพราะแม้ในปัจจุบันนี้คนเราก็ยังหาวัสดุที่ทนทานต่อกาลเวลาที่นานขนาดนี้ไม่ได้เลยแม้แต่เหล็กกล้าก็ยังสู้ไม่ได้อย่างชนิดเทียบกันไม่ติดช่างเหลือเชื่อจริงๆ” นักวิชาการชาวญี่ปุ่นผู้นั้นกล่าว


 
ในความเป็นจริงแล้วไม้ฮิโนะคิไม่ได้ตายเมื่อถูกตัดเพื่อนำมาสร้างเป็นวัดมันเป็นหน้าที่ของช่างไม้ที่จะต้องให้ชีวิตที่สองแก่มันเพื่อให้อยู่นานนับพันปีนี่คือปรัชญาของช่างไม้ที่กลายเป็นธรรมชาติทัศน์ของชาวญี่ปุ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปโดยไม่รู้ตัว


เมื่อคิดถึงความเอาใจใส่ที่คนญี่ปุ่นมีต่อต้นไม้ของเขาแล้วสันติชาติก็อดที่จะสะท้านใจต่อชะตากรรมของ “ต้นไม้” ในประเทศไทยไม่ได้ป่าไม้ในเมืองไทยจะไม่มีทางรักษาเอาไว้ได้เลยหากคนไทยส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงคุณค่าทางจิตวิญ- ญาณและทางวัฒนธรรมที่ต้นไม้มีต่อเมืองไทยมีใครสักกี่คนในบ้านนี้เมืองนี้ที่พูดถึงชีวิตของต้นไม้ด้วยหน่วยของเวลาเป็นร้อยปีขึ้นไปชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่สนใจอยู่แค่ราคาของหุ้นวันต่อวันหรือเหตุการณ์ทางการเมืองรายวันเท่านั้น


ความลุ่มลึกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เราเคยภูมิใจหนักหนานั้นปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมที่จับต้องในสิ่งใดได้บ้างหากไม่อยากทุกข์ในเรื่องนี้จะให้เราปล่อยวางจากความเป็นไปของสังคมกระนั้นหรือจะให้เราเป็นคนที่ไร้สังกัดทางวัฒนธรรมอย่างนั้นหรือ


เมื่อสันติชาติได้รู้เรื่องราวของต้นฮิโนะคิที่มีอายุเป็นพันปีนี้แล้วทัศนะคติที่เขามองดูต้นไม้ได้เปลี่ยนไปจากเดิมไม่น้อยเขาเกิดความรู้สึกคุ้นเคยและผูกพันกับต้นไม้เหล่านี้ราวกับเป็นเพื่อนร่วมโลกเพื่อนร่วมทุกข์


 
วันรุ่งขึ้นคณะผู้จัดสัมมนาได้พาสันติชาติและกลุ่มนักวิชาการจากชาติต่างๆในเอเชียที่มาร่วมสัมมนาเดินทางไปชมวัดชื่อดังต่างๆในจังหวัดโออิตะเกาะคิวชิววัดฟุคุคิยิที่สันติชาติได้ไปชมเป็นวัดสายนิกายเทียนไต๋ที่ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.718 หรือหนึ่งพันสองร้อยกว่าปีก่อนซึ่งเก่าพอๆกับวัดโฮริวยิเลยทีเดียว


สิ่งที่สะดุดตาสันติชาติก็คือตัวโบสถ์ของวัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากต้นไม้คะยะเพียงต้นเดียวอีกทั้งยังมีเนื้อไม้เหลือพอมาใช้สร้างพระประธานประจำโบสถ์ที่มีชื่อเรียกว่า “อมิตตถาคต” อีกด้วย


นี่ก็ย่อมแสดงว่าต้นไม้ต้นนี้จะต้องสูงใหญ่มากเป็นร้อยๆฟุตเลยทีเดียวมีคำร่ำลือสืบต่อกันมาว่าเงาของต้นไม้คะยะต้นนี้แผ่คลุมไปไกลเป็นระยะหลายลี้ดังนั้นอายุของมันก็ต้องมากกว่าพันปีเช่นกัน


สันติชาติยืนอยู่เบื้องหน้าโบสถ์ไม้ชั้นเดียวมีระเบียงยกพื้นขึ้นมาราวๆสามฟุตคนวัยหนุ่มฉกรรจ์และเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งชีวิตอย่างเขายังต้องมองโบสถ์หลังนี้ด้วยความทึ่งและยำเกรงเลื่อมใส


ขณะนั้นเป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงใบไม้สีเหลืองปลิวตกลงมาเต็มพื้นกรวดหน้าโบสถ์เขาก้าวขึ้นไปในโบสถ์และนั่งขัดสมาธิต่อหน้าพระพุทธรูปอมิตตถาคตซึ่งสลักจากต้นไม้คะยะอายุพันปีต้นนั้นด้วยจิตคารวะทั้งต่อตัวไม้คะยะต่อตัวผู้สร้างและตัวพระพุทธรูปองค์นั้น


ถัดจากการไปเยือนวัดฟุคุคิยิคณะผู้จัดสัมมนาก็ได้พาสันติชาติและคนอื่นไปเยือนศาลเจ้าอุสะซึ่งเป็นศาลเจ้าของนิกายชินโตที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สองรองแค่ศาลเจ้าแห่งอิเซะเท่านั้นเนื่องจากในอดีตดินแดนแถบนี้เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐญี่ปุ่นพร้อมกับกำเนิดของศาสนาพุทธในญี่ปุ่นที่มาจากคาบสมุทรเกาหลีผนวกกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าดั้งเดิมที่ชาวญี่ปุ่นมีอยู่จึงไม่แปลกหรอกที่อาณาบริเวณของวิหารที่เป็นศาลเจ้าอุสะแห่งนี้ช่างใหญ่โตเหลือเกินเมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่อย่างจำกัดจำเขี่ยของคนญี่ปุ่นในเรื่องอื่นๆศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.725 จึงมีอายุพันสองร้อยกว่าปีเช่นกัน


“คุณชื่นชมกับต้นไม้ใหญ่เหล่านี้มากขนาดนี้เชียวหรือ” เพื่อนนักวิชาการชาวฟิลิปปินส์อีกคนถามสันติชาติเมื่อเห็นเขายืนมองต้นไม้ต้นใหญ่ในวิหารเป็นเวลาเนิ่นนาน


สันติชาติยังคงเหม่อมองต้นไม้ใหญ่ต้นนั้นอยู่แล้วกล่าวว่า


“ใช่ครับผมรู้สึกผูกพันกับมันครับและผมรู้สึกถึงพลังที่ผมได้รับจากมันครับ” เขาตอบออกไปโดยไม่เหลียวหน้ากลับมามองผู้พูดแม้แต่น้อยราวกับว่าโลกทั้งโลกนี้มีเพียงเขาและต้นไม้เท่านั้น


 
นักวิชาการหนุ่มชาวฟิลิปปินส์พอฟังคำตอบจากสันติชาติก็ร้องอ้อคล้ายกับนึกเรื่องราวใดขึ้นมาได้จึงกล่าวว่า


“คำพูดของคุณทำให้ผมนึกถึงบาทหลวงคนหนึ่งที่ชื่อฟิลิปบาทหลวงท่านนี้เพิ่งกลับมาจากการไปประจำที่โบสถ์ในประเทศเปรูเป็นเวลาถึงหกปีท่านก็พูดกับผมเหมือนกับที่คุณพูดกับผมเมื่อครู่ว่าต้นไม้ใหญ่มีพลังลึกลับที่เป็นพลังชีวิตที่สามารถถ่ายทอดให้กับเราได้ด้วยท่านยังได้บอกกับผมว่าท่านได้ลอบนำคำทำนายโบราณเก้าประการที่ถูกค้นพบที่เปรูเมื่อหกปีก่อนแต่ถูกทางการเซ็นเซอร์โดยถือว่าผิดกฎหมายกลับมาด้วย”


สันติชาติพลันสะท้านตื่นจากห้วงความคิดและเกิดความรู้สึกสนใจในตัวบาทหลวงผู้มีชื่อว่า “ฟิลิป” ท่านนี้ทันที


เขาถามเพื่อนนักวิชาการชาวฟิลิปปินส์ของเขาว่าจะสามารถติดต่อกับบาทหลวงผู้นี้ได้อย่างไรเมื่อได้รับที่อยู่ติดต่อของบาทหลวงท่านนี้แล้วเขาจึงจัดการติดต่อสายการบินไทยอินเตอร์ขอเปลี่ยนเส้นทางกลับมาเป็นแวะพักที่มะนิลาเพื่อไปพบบาทหลวงฟิลิปและเรียนถามท่านเกี่ยวกับคำทำนายเก้าประการที่ท่านลอบนำมาจากเปรู






 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้