19. คัมภีร์วัชรเซน

19. คัมภีร์วัชรเซน




คัมภีร์วัชรเซน



 
 
1 ปีต่อมา เมืองเกียวโตประเทศญี่ปุ่น


ในที่สุดดร.สันติชาติอโศกาลัยก็เดินทางมาขอเรียนรู้และรับการถ่ายทอดเคล็ดลับแห่งวิชารหัสนัยหรือวัชรเซนจากท่านเมทัทสุดังที่ท่านได้เอ่ยปากเอื้อเฟื้อให้


ประสบการณ์ที่เขาได้พานพบในช่วงหลายปีมานี้นับตั้งแต่ช่วงพฤษภาทมิฬค.ศ.1992 เป็นต้นมาก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขาตระหนักถึงคำเตือนของท่านเมทัทสุที่บอกกับเขาเมื่อปีที่แล้วรวมไปถึงคำแนะนำของท่านอาจารย์เฉิงผู้ถ่ายทอดวิชาฝ่ามือมังกร 8 ทิศที่เคยบอกกับเขาว่า


ศิษย์รักบัดนี้ถึงเวลาแล้วนะที่เธอจะต้องหันมาฝึกฝนวิชาเพื่อช่วยคนเพื่อรักษาเยียวยาผู้คนมิใช่เพื่อต่อสู้ทำร้ายผู้คนอีกต่อไป


ข้อความต่อไปนี้คือบางส่วนของ “คำสอนเผยแจ้งในคัมภีร์วัชรเซนที่สันติชาติได้รับมาจากท่านเมทัทสุในวันนั้น


...เธอผู้อุตส่าห์เดินทางมาจากแดนไกลมาหาเราเพื่อขอเรียนรู้วิชาจากเราเรามีความมั่นใจว่าจะสามารถสนองความต้องการอันนี้ของเธอได้สิ่งที่เธอกำลังจะเรียนรู้จากเรานั้นเป็นสิ่งที่เหนือความคาดคิดของเธอเพราะโลกที่เธออาศัยอยู่นั้นมันได้อบรมบ่มเพาะเธอมันได้ปลูกฝังด้วยความคิดและวิธีคิดที่คับแคบด้านเดียวโดยที่เธอเองก็อาจจะไม่รู้ตัวก็เป็นได้เพราะฉะนั้นก่อนอื่นเธอจะต้องทำลายความคิดเก่าๆวิธีคิดเก่าๆของเธอให้ย่อยยับพังพินาศไปเสียก่อนเพื่อที่จะได้เรียนสิ่งใหม่จากวิชาของเราได้


จงเข้ามาซิกระโดดเข้ามาเลยศิษย์รักเพื่อร่ำเรียนสิ่งนี้จากตัวเราแน่นอนว่าในการร่ำเรียนสิ่งนี้คงมีหลายสิ่งที่เคยติดตัวเธอมาจะต้องสูญหายไปบ้างแต่สิ่งใหม่ที่เธอจะได้รับนั้นเรารับรองได้ว่ามันมีคุณค่ามากกว่าสิ่งที่เธอจะต้องเสียไปอย่างแน่นอนเพราะในขั้นท้ายสุดเธอจะต้องละทิ้งแม้แต่ตัวความคิดที่มุ่งแสวงธรรมด้วยเช่นกันเพื่อที่เธอจะได้มีจิตใจที่เป็นอิสระสมบูรณ์เต็มที่ได้อย่างแท้จริง


 
วิชาวัชรเซนที่เราจะถ่ายทอดให้แก่เธอนั้นเป็นวิชาซึ่งได้บูรณาการคำสอนของพุทธศาสนาสายต่างๆเข้าด้วยกันจนเป็นระบบการฝึกและเป็นวิถีที่เติบโตอย่างไม่รู้จบพ้นจากการฝึกสมาธิแบบแบ่งแยกและเถรตรงเพราะผนวกการศึกษาเรียนรู้จากชีวิตจริงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการฝึกด้วยเพราะฉะนั้นสำหรับพวกเราชีวิตจึงมิใช่ปัญหาที่จะต้องแก้อย่างไม่มีวันจบอีกต่อไปแล้วแต่ชีวิตจะกลายมาเป็นประสบการณ์ที่มีพลังสร้างสรรค์และอุดมสมบูรณ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีสิ่งใดที่จะต้องถูกปฏิเสธจนเราไม่สามารถเรียนรู้จากมันได้


ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงมาฝึกร่วมกับเราผู้เป็นครูของเธอด้วยการอธิษฐานจิตร่วมกันดังต่อไปนี้


 
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าฯจะควบคุมและกำหนดความนึกคิดทั้งมวลของข้าฯให้จงได้ในแต่ละวัน


ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าฯจะควบคุมจิตของข้าฯความปรารถนาของข้าฯให้ดำเนินไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ของดวงวิญญาณข้าฯให้จงได้ในแต่ละวัน


ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าฯจะควบคุมจินตภาพและความคิดของข้าฯให้ดำเนินไปในทางที่จะเกิดความสำเร็จในการฝึกฝนทางจิตของตัวข้าฯให้จงได้ในแต่ละวัน


 
การฝึกจิตในวิชาวัชรเซนของเราจะเริ่มจากการรำลึกถึงพระคุณของผู้เป็นครูของเธอก่อน “ครู” ในที่นี้นอกจากเราจะหมายถึงผู้ที่ถ่ายทอดวิชาให้เธอโดยตรงแล้วในขณะเดียวกันยังหมายถึงเหล่าดวงจิตของอริยบุคคลและเหล่าทวยเทพอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่คอยชี้นำสรรพสัตว์ในแต่ละวันบนพื้นพิภพนี้ในรูปของแรงบันดาลใจและญาณที่บังเกิดขึ้นภายในตัวเขา


การถ่ายทอดในวิชาวัชรเซนนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีวิธีแรกคือการถ่ายทอดโดยผ่านสัมผัสที่ 6 (Intuition) วิธีที่ 2 คือการถ่ายทอดโดยผ่านสัญลักษณ์ (Symbol) และวิธีที่ 3 คือการถ่ายทอดด้วยคำพูดภาษา


การถ่ายทอดโดยวิธีแรกเป็นการถ่ายทอดจากครูไปสู่ศิษย์โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน “ตัวกลาง” อย่างสัญลักษณ์หรือภาษาซึ่งเป็นการถ่ายทอดใจของ “ธรรมกายไปสู่ใจของผู้รับโดยตรง


ใจของธรรมกายในที่นี้เราหมายถึงใจแห่งความว่างที่ข้ามพ้นความคิดและวิธีคิดใดๆทั้งปวงในใจแห่งธรรมกายนี้แหละที่ “ข่าวสาร” แห่งการสร้างจักรวาลทั้งปวงจะถูกบรรจุอยู่ภายใน “ความว่าง” อันนี้แต่ดำรงอยู่ในรูปการที่ยังไม่เปิดเผยตัวเองออกมา


มันจึงยังไม่เป็นทั้งกาละ (Time) ไม่เป็นทั้งเทศะ (Space) ไม่เป็นทั้ง “รูป” และไม่เป็นทั้ง “นาม” มันจึงยังไม่มีความเคลื่อนไหวแม้แต่น้อยนิดมันจึงยังไม่มีลักษณะของ “ทวิภาวะ” ที่จำแนกผู้กระทำออกจากผู้ถูกกระทำจำแนกตัวเองออกจากโลกภายนอกมันจึงเป็นภาวะสงบเหลือที่จะสงบ


เมื่อธรรมกายเปล่งแสงของมันออกมาเมื่อนั้นแสงแห่งปัญญาหรือพลังแห่งปัญญาจะฉายแสงของมันออกไปสิ่งนั้นคือ “สัมโภคกายถ้าหากธรรมกายเปรียบได้ดุจกระจกเงาที่ได้รับการขัดมาอย่างดีสัมโภคกายก็คือแสงที่ฉายออกมาจากกระจกบานนั้นนั่นเอง


และเมื่อใดก็ตามที่พลังแห่งปัญญาของสัมโภคกายนี้ปรากฏออกมาเป็นรูปร่างที่มีตัวตนจริงเป็นผู้คนเมื่อนั้นมันจะกลายเป็น “นิรมานกายที่ผู้คนสามัญในโลกมนุษย์นี้สามารถสัมผัสได้ประจักษ์ได้


ส่วนการถ่ายทอดโดยวิธีที่ 2เป็นการถ่ายทอดจากครูไปสู่ศิษย์โดยผ่านสัญลักษณ์คำว่าสัญลักษณ์ในที่นี้หมายถึงรูปเสียงสีหรือแม้แต่ตัวอักษรที่อัดรวมเนื้อหาสาระของความคิดอันซับซ้อนเอาไว้ภายในตัว


ผู้ใดก็ตามที่มีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์มองโลกอย่างที่มันเป็นอยู่จริงตามธรรมชาติได้จะสามารถทำความเข้าใจ “สัญลักษณ์” ที่ครูถ่ายทอดให้แก่ตนจนทำให้ตนสามารถเข้าถึงความลึกล้ำที่เป็นแก่นแท้ของวิชาและความรู้แจ้งได้


ส่วนการถ่ายทอดโดยวิธีที่ 3นั้นใช้สำหรับการสั่งสอนบุคคลธรรมดาที่ยังไม่สามารถเข้าใจความลึกล้ำของวิชาวัชรเซนได้โดยอาศัยแค่สัมผัสที่ 6 หรือสัญ- ลักษณ์จึงจำเป็นที่จะต้องชี้แจงและอธิบายให้ฟังโดยละเอียด


คงเข้าใจแล้วซินะว่าแก่นแท้ของวิชาวัชรเซนนั้นจริงๆแล้วก็คือการถ่ายทอดใจที่เป็นธรรมกายจากครูไปให้แก่ศิษย์นั่นเองเพื่อทดแทนใจที่ยังมีอวิชชาและกิเลสอยู่ของศิษย์


เธอควรจะรู้ว่ามนุษย์เรานั้นมีชีวิตอยู่ด้วยการเสพพลังความคิดอารมณ์ความรู้สึกที่ผุดโผล่ขึ้นมาจากใจของเราตลอดเวลาดุจน้ำมันก๊าดที่เผาผลาญตัวเองเพื่อให้เกิดแสงไฟโดยที่ความคิดและอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอยู่ตลอดเวลา


การเกิดขึ้นและดับไปซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกเช่นนี้ของความคิดและอารมณ์คือรูปลักษณ์ต่างๆของใจเราเมื่อใดก็ตามที่รูปลักษณ์ต่างๆเหล่านี้ของใจได้ดับสูญไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อนั้นแหละที่ “ใจดั้งเดิมของเราจะปรากฏตัวเผยโฉมของมันออกมาสิ่งนั้นแหละที่เราเรียกว่า “ธรรมกาย
 


การเตรียมจิตเพื่อฝึกใจแห่งธรรมกายในวิชาวัชรเซนของเรานี้มีอยู่ด้วยกัน2 อย่างอย่างแรกคือการเตรียมจิตดุจพระโพธิสัตว์อย่างหลังคือการเตรียมจิตดุจวัชรเซนการเตรียมจิตดุจพระโพธิสัตว์คือการมีความเข้าใจและตระหนักในคำสอนของพุทธศาสนามหายานดังต่อไปนี้


พุทธศาสนาเชื่อว่า “ใจ” อันเป็นที่รับรู้ของพวกเรานั้นเป็นสิ่งสืบเนื่องที่ไม่เคยขาดตอนมาตั้งแต่อดีตกาลอันยาวนานจนไร้ขอบเขตจนแทบไม่ทราบถึงจุดเริ่มต้นของมันได้ความสืบเนื่องของใจนี้จะปรากฏขึ้นในโลกแห่งวัฏฏสงสารเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพียงแต่เปลี่ยนรูปร่างของชีวิตใหม่ไปสู่รูปลักษณ์อื่นเท่านั้น


ถ้าหากเธอยอมรับในความเชื่อเช่นนี้เธอก็จะตระหนักได้เองว่าไม่มีสรรพสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายใดๆเลยที่จะไม่เคยเป็นบิดาหรือมารดาของเธอในชาติปางก่อนๆมาก่อนเพราะทุกคนทุกผู้ทุกนามต่างล้วนเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนี้ทั้งสิ้นและทุกคนทุกผู้ทุกนามต่างล้วนปรารถนามีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุขทั้งสิ้น


แล้วสิ่งใดเล่าที่จะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริงให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง? ศาสนาพุทธสอนเราว่าสิ่งนั้นจะได้มาด้วยการกระทำที่เป็นมงคล 10 ประการคือ

1.     มีความรักในชีวิตทั้งหลายโดยไม่คิดประหารชีวิตใดๆ
2.     ให้ทานโดยไม่คิดลักขโมย
3.     มีสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามด้วยจิตใจที่ใสสะอาดไม่ประพฤติผิดในกาม
4.     พูดแต่ความจริงไม่พูดปด
5.     พูดด้วยภาษาสุภาพไม่หยาบคายกระด้าง
6.     มีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนไม่ทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งกับผู้คน
7.     พูดแต่สิ่งที่มีสาระไม่พูดจาเหลวไหล
8.     ไม่โลภไม่อิจฉาริษยาคนอื่น
9.     ไม่โกรธแค้นผู้อื่นมีแต่จิตใจที่คิดจะช่วยเหลือผู้อื่น
10.    มีสัมมาทิฏฐิละทิ้งความคิดที่ผิดพลาด


เรามุ่งหวังให้เธอจงปฏิบัติการกระทำที่เป็นมงคล 10 ประการนี้ด้วยหัวใจที่มีเมตตาอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงและขอให้เธอจงนึกอยู่เสมอว่า


การที่เราคร่ำเคร่งฝึกฝนตัวเองอยู่ในขณะนี้เรามิใช่ทำเพื่อตัวของเราเองเท่านั้นแต่เราทำเพื่อใช้อานิสสงส์ที่ตัวเราได้จากการปฏิบัติฝึกฝนนี้มาเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังหลงทางอยู่ในวัฏฏสงสารจะได้สามารถพ้นทุกข์ได้หลุดพ้นได้ในที่สุดเพราะพวกเขาก็มิใช่ใครอื่นแต่คือผู้ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในอดีตชาตินั่นเอง


ทำไมตัวเราถึงต้องย้ำการปลูกฝังจิตใจแบบพระโพธิสัตว์ที่มุ่งช่วยเหลือคนอื่นนี้ให้แก่ตัวเธอเป็นประการแรกก่อนที่เธอจะเริ่มฝึกวิชาของเรา? ก็เพราะว่าหากตัวเธอไม่มีจิตใจแบบพระโพธิสัตว์เช่นนี้ดำรงอยู่ในตัวของเธอก่อนแล้วคำสอนใดๆที่เธอจะได้รับก็ดีวิชาใดๆที่เธอจะได้ร่ำเรียนฝึกฝนจากเราก็ดีจะเป็นเพียงแค่การ “เลียนแบบ” ผู้ฝึกวิชาเท่านั้นยังหาเป็นการฝึกวิชาที่แท้จริงไม่ได้


เนื่องเพราะวิชาทั้งหลายของเราไม่อาจแยกการกระทำของเราออกจากจิตใจแห่งพระโพธิสัตว์นี้ได้วิชาของเราการกระทำของเราใจของเราล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งนี้เธอจงจำคำพูดอันนี้ของเราไว้ให้จงได้ในขณะที่เธอท่องมนตร์บทนี้ “โอมมณีปัทเมฮุม


โอมคำคำนี้คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งกายของพุทธะทั้งปวง

โอมคำคำนี้มีพลังศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยชำระล้างความสกปรกในจิตใจของเราจนสะอาดบริสุทธิ์ถึงระดับเทพยดาได้

โอมคือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถแม้แต่จะขจัดความเป็น “เทพ” ในตัวของเราให้หมดสิ้นไปเพื่อก้าวเข้าสู่การหลุดพ้นที่แท้จริงของจิตเราได้

โอมคือเสียงแรกสุดของสัจธรรมที่ไร้ซึ่งกาลเวลาคือเสียงแห่งการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่อดีตกาลที่ไร้การเริ่มต้นก้องกังวานอยู่ภายในตัวเราทั่วตัว

โอมคือเสียงล้ำลึกที่ไร้สิ่งกั้นขวางเสียงอันเกิดโดยกฎแห่งกำเนิดของสรรพสิ่งคือคลื่นการสั่นสะเทือนของมวลสรรพสิ่งที่เคลื่อนไหวตามกฎการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระสมบูรณ์ของเอกภพ

มณีคือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์สามารถขจัดความเป็น “อสูร” (ความอิจฉาริษยา) และความเป็น “สัตว์โลก” เช่นมนุษย์ปุถุชนให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

ปัทคือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็น “เดรัจฉาน” ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

เมคือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็น “เปรต” ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

ฮุมคือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็น “สัตว์นรกอเวจี” ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

ส่วนการเตรียมจิตดุจวัชรเซนนั้นเป็นเช่นใดหรือ?   


การเตรียมจิตดุจวัชรเซนในความหมายของเรานั้นก็คือการหมั่นฝึกฝนชำระความคิดของตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอนั่นเองการหมั่นฝึกฝนชำระความคิดของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ในทัศนะของพุทธศาสนาทั้งนี้ก็เพราะว่า


ความจริงของโลกนั้นที่แท้ก็คือสิ่งที่ใจของมนุษย์รับรู้ดังนั้นโลกจึงถูกคนเราสร้างขึ้นมาด้วยใจนั่นเองสิ่งที่มนุษย์เรียกกันว่า “ความจริง” นั้นแท้ที่จริงแล้วก็คือมายาที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยใจที่ถูกทำให้สกปรกด้วยความโลภโกรธหลงของมนุษย์ต่างหาก


และ “ความจริง” ก็หาได้มีแค่มิติเดียวหรือชั้นเดียวไม่แต่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างหลายมิติหรือหลายชั้นด้วย “ใจ” ประเภทต่างๆคือใจคนใจเดรัจฉานใจอสูรใจเปรตใจสัตว์นรกอเวจีใจเทพเพราะฉะนั้นแม้ว่าจะดูเหมือนเป็น “ความจริง” อันเดียวกันก็ตามแต่สำหรับผู้ที่ต่างใจต่างชนิดกันแล้วโลกนี้ย่อมสามารถเป็นได้ทั้งสวรรค์และนรกหรือแดนสุขาวดีได้ในเวลาเดียวกัน


ผู้ใดก็ตามที่ทราบความลับของใจหรือคุณสมบัติของใจเช่นข้างต้นนี้แล้วผู้นั้นย่อมสามารถค้นพบวิธีที่จะฝึกฝนใจของตัวเองให้เป็นอิสระสมบูรณ์อย่างวัชรเซนหรือที่เราเปรียบเปรยคนผู้นั้นเป็นดั่ง “มังกรวัชระได้


มังกรวัชระคือผู้ที่มุ่งเอาความเป็นพุทธะทั้งหลายตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน-อนาคตเข้ามาไว้ในตัวเอง


มังกรวัชระคือผู้ที่ใช้กายแสดงความเป็นที่ชุมนุมแห่งจิตของพุทธะใช้วาจาแสดงธรรมที่เป็นสัจจะของพระพุทธเจ้าและใช้ใจแสดงธาตุแท้แห่งความเป็นพุทธะที่เป็น ใจดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคนออกมา


สำหรับ มังกรวัชระกายของเขาจึงคือนิรมานกายวาจาของเขาจึงคือสัมโภคกายและใจของเขาจึงคือธรรมกาย


มังกรวัชระคือเส้นทางที่จะเชื่อมตัวเธอกับพุทธะเข้าด้วยกันโดยผ่านเส้นทางนี้ใจของพุทธะจะหลั่งไหลเข้าสู่ใจของเธอ


ไม่ใช่แค่นั้น “มังกรวัชระคือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของผู้ฝึกฝนปฏิบัติที่แท้จริงผู้มีตถาคตดำรงอยู่ในใจผู้ใช้ร่างกายที่เป็นสังขารมนุษย์อันหาได้ยากร่างนี้เป็นยานพาหนะเพื่อนำเข้าไปสู่การปลดปล่อยทางจิตวิญญาณโดยผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำตนเอง
 


ในโลกปัจจุบันนี้การได้พบครูที่แท้เป็นเรื่องที่ยากเหลือเกินเพราะในโลกที่เต็มไปด้วยความปลิ้นปล้อนหลอกลวงตลบแตลงเช่นปัจจุบันนี้ “ครูที่แท้” จำเป็นต้องปลีกตัวเร้นกายมุ่งหน้าฝึกฝนตัวเองเคี่ยวกรำตัวเองอย่างเดียวเท่านั้นเนื่องจากคุณค่าที่มีอยู่ในตัวครูเช่นนี้หาได้เป็นคุณค่าที่มี “มูลค่าตลาด” แต่ประการใดไม่


จริงอยู่หรอกที่ยังมีครูที่แท้อยู่เป็นจำนวนมากในโลกนี้แต่การได้พบพวกเขาและได้ร่ำเรียนวิชาจากพวกเขานับว่าเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญนัก


ในเมื่อตัวเธอดำรงอยู่ในยุคที่ยากจะพานพบ “ครูที่แท้” ได้โดยง่ายเช่นนี้แล้วตัวเธอสมควรจะทำประการใดดี?


ประการแรกเธอต้องเชื่อมั่นในตัวเธอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื่อมั่นใน “พุทธภาวะที่ดำรงอยู่อย่างแน่นอนภายในตัวของเธอ” เพราะเมื่อเธอมีความเชื่อมั่นเช่นนี้แล้วต่อให้คนอื่นหรือสังคมมองเธอในแง่ร้ายหรือในแง่ลบเพียงใดตัวเธอก็จะหามีความหวั่นไหวไม่


และเมื่อเธอได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองมาจนถึงระดับหนึ่งแล้วเธอก็จะพบว่า “ครูที่แท้หาได้ดำรงอยู่เฉพาะคนที่สอนเธอเท่านั้นไม่แต่ครูที่แท้นั้นก็คือตัวจักรวาลนั่นเองหรือคือทุกๆสิ่งในจักรวาลนั่นเองที่สามารถเป็นครูให้เธอได้


พระพุทธเจ้าในจินตนาการของเราก็ดีมโนธรรมภายในใจของเราซึ่งเป็น “พระเจ้า” ภายในตัวของเราก็ดีและโลกทั้งปวงที่อยู่ภายนอกตัวเราก็ดีความจริงแล้วล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่แยกขาดจากกันไม่ได้เมื่อใดก็ตามที่เธอตระหนักถึงความจริงในสิ่งนี้เมื่อนั้นเธอก็จะรู้ว่า “ครู” ของเธอนั้นได้แก่มโนธรรมของเธอพระเจ้าของเธอและจักรวาลของเธอนั่นเอง


ต้นไม้ย่อมสามารถเป็นครูของเราได้เพราะมันให้ “ร่มเงา” อันร่มเย็นแก่คนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าคนผู้นั้นจะตัดต้นไม้หรือปลูกต้นไม้ก็ตามมิหนำซ้ำต้นไม้ยังออกดอกออกผลให้แก่ผู้คนทั้งปวงด้วยต้นไม้จึงเป็นครูผู้สอนจิตใจที่เสมอภาคให้แก่เรา


ภูเขาย่อมสามารถเป็นครูของเราได้เพราะไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออกไม่ว่าร้อนหรือหนาวไม่ว่าลมจะพัดหรือไม่พัดภูเขาก็ยังคงมีความหนักแน่นมั่นคงไม่เสื่อมคลายภูเขาจึงเป็นครูผู้สอนเราว่าอย่าไปวิตกกังวลกับอุปสรรคใดๆจนเกินเหตุ


นกเป็นสัตว์ที่ไม่เคยกลัดกลุ้มเกี่ยวกับเรื่องราวของวันพรุ่งนี้มันดำรงชีวิตอยู่อย่างพอใจกับอาหารที่มันหาได้ในขณะนั้นนกจึงสามารถเป็นครูของเราได้เพราะมันสอนให้เราอย่าไปมัววิตกกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง


คนตายก็สามารถเป็นครูของเราได้เพราะคนตายสอนให้เราตระหนักถึงความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิตและความไม่ถาวรของความสุขสำราญ


 
จะเห็นได้ว่าธรรมชาติได้สอนพวกเราอยู่ตลอดเวลาให้ละทิ้งความคิดที่ยึดติดอยู่กับ “ตัวกู” “ของกู” นี้ไปเสียแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมละทิ้งความคิดที่แบ่งแยกตัวเองออกจากคนอื่นเช่นนี้และยังไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของ “พุทธภาวะ” ที่มีอยู่ในตัวของทุกผู้คน


ผู้ใดก็ตามที่สามารถเข้าถึง “ความจริงจากธรรมชาติในเรื่องนี้ได้ผู้นั้นจะสามารถค้นพบ “วัชรเซนหรือ “ครูที่แท้ได้ในทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจากหนังสือเพื่อนผู้คนหรือเหตุการณ์ต่างๆ...”






 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้