23. บทเรียนสุดท้าย

23. บทเรียนสุดท้าย



บทเรียนบทสุดท้าย


 
 
ภายหลังจากที่สันติชาติได้ผ่านการฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจังด้วยความยากลำบากในที่สุดเขาก็ได้เรียนรู้การฟังเสียงพสุธาการฟังเสียงฟ้าการนั่งวิปัสสนาครุ่นคำนึงถึงความหมายของการที่มนุษย์เกิดมาในโลกนี้นอกเหนือไปจากคัมภีร์ต่างๆของนิกายรหัสนัยที่อาจารย์เมทัทสุได้ถ่ายทอดอธิบายให้เขาเป็นที่กระจ่างอีกต่างหาก


ในตอนนั้นเขายังมีเวลาเหลืออีกหลายวันที่จะฝึกอยู่กับท่านเมทัทสุเช้าวันหนึ่งอาจารย์เมทัทสุได้เรียกสันติชาติให้มาพบแต่เช้าตรู่เพื่อบอกกับเขาว่าท่านจะสอนบทเรียนบทสุดท้ายให้กับเขาถ้าเขาผ่านบทเรียนบทนี้ได้เขาก็จะกลายเป็น “ครูที่แท้จริงได้


ท่านเมทัทสุได้บอกกับสันติชาติว่า


ผู้ที่เป็นครูที่แท้จริงทุกคนจะต้องฝึกจนบรรลุสภาวะสภาวะหนึ่งอันเป็นสภาวะที่ศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ของใจกับกายแม้ครูผู้นั้นอาจจะยังไม่สามารถครองสภาวะนั้นได้ตลอดเวลาแต่ตราบใดที่คนผู้นั้นสามารถทำสภาวะเช่นนั้นให้เกิดขึ้นมาได้ไม่ว่าความคิดชั่วร้ายใดๆหรือสิ่งชั่วร้ายใดๆก็ไม่อาจเข้ามาทำร้ายเขาได้ซึ่งจะทำให้การฝึกฝนตนเองในชั้นสูงของครูผู้นั้นสามารถรุดหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ


“...?...”


“จงจำให้ดีนะสันติชาติสิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึกฝนตนเองนั้นผู้ฝึกจะต้องรู้ได้ด้วยตนเองจะต้องรู้แจ้งด้วยตนเองครูเป็นแค่ผู้ชี้ทางให้เท่านั้นสภาวะที่ว่านี้เพื่อบรรลุการกลายเป็นครูที่แท้จริงของวิชาวัชรเซนก็เช่นกันมันเป็นทั้งเคล็ดลับและเป็นทั้งปริศนาที่เธอจะต้องขบมันให้แตกด้วยตนเองเราเพียงจะบอกใบ้ให้แก่เธอเพียงเท่านี้ว่าสภาวะที่ว่านั้นถ้าจะให้บรรยายออกมาเป็นคำพูดก็คือสภาพที่เหมือนกับการที่ทำให้ร่างของเธอเป็นดุจน้ำที่ใส่ในเหยือกจนเต็มเปี่ยมนั่นเอง


“...?...”


“เราจะขยายความให้อีกนิดก็ได้ว่าในช่วงระหว่างลมหายใจเข้าออกนั้นถ้าเธอสามารถควบคุมลมหายใจของเธอในช่วงระหว่างนั้นให้เป็นดุจเหยือกที่บรรจุน้ำจนเต็มภาชนะได้อย่างเป็นจังหวะควบคู่ไปกับการหายใจได้เธอก็จะบรรลุสภาวะที่ว่านั้นได้”


 
ปริศนาธรรมที่ได้รับมาจากอาจารย์ต้องนำมาขบคิดเองและพยายามหาคำตอบให้ได้ด้วย “ญาณ” ที่ผุดวาดขึ้นมาจากการฝึกสมาธินี่คือกฎเหล็กข้อหนึ่งของวิชาวัชรเซนทั้งนี้เพราะว่าน้ำตาลนั้นมีรสหวานสิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คนส่วนใหญ่ก็รู้กันทั้งนั้นแต่สำหรับคนที่ไม่เคยลิ้มรสชาติของน้ำตาลมาก่อนเขาจะแทบไม่มีทางเข้าใจความหวานของน้ำตาลจากคำพูดหรือคำอธิบายได้เลย


เพราะการรับรู้ “ความหวาน” ของน้ำตาลเช่นนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์จากการปฏิบัติของแต่ละคนที่ไม่สามารถทดแทนให้กันได้แต่ละคนจะต้องลิ้มรสเอาเองเพราะภาษาคำพูดล้วนมีข้อจำกัดในตัวของมันเองในการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้


และถ้าหากในระหว่างคนที่ได้เคยลิ้มรส “ความหวาน” ของน้ำตาลมาแล้วเหมือนๆกันการณ์ก็ปรากฏว่าคำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับ “ความหวาน” ของน้ำตาลล้วนเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้วฉันใดก็ฉันนั้นสภาวะที่ว่านั้นอันเป็นปริศนาธรรมที่ท่านเมทัทสุให้แก่สันติชาติก็เป็นสิ่งที่เขาต้องนำมาขบคิดเองทำความเข้าใจด้วยตนเองสัมผัสมันด้วยตนเอง


สันติชาติกลับมานั่งสมาธิในลำธารที่มีน้ำเย็นเฉียบจนถึงระดับเอวอีกครั้งหนึ่งเขาคิดเอาเองว่าวิชาขั้นสูงจริงๆนั้นที่แท้ก็อยู่ในวิชาพื้นฐานขั้นต้นนั่นเองเหมือนอย่างเช่นการฝึกวิชาฝีมือต่อให้หัดกระบวนการท่าที่แปรเปลี่ยนมากมายขนาดไหนสุดท้ายท่าที่สำคัญที่สุดที่ผู้ฝึกวิชาฝีมือฝึกหัดมากที่สุดมิใช่ท่าปล่อยหมัดตรงๆเพียงหมัดเดียวดอกหรือ? เพราะฉะนั้นสันติชาติจึงกลับมาหัดในสิ่งที่ท่านเมทัทสุได้ถ่ายทอดให้เขาเป็นอย่างแรกอีกครั้งหนึ่ง


กระแสน้ำเย็นของลำธารที่ไหลเอื่อยๆผ่านร่างของสันติชาติที่นั่งแช่อยู่บนก้อนหินใต้น้ำครึ่งลำตัวความเย็นของน้ำทำให้กล้ามเนื้อท่อนล่างของเขาบีบกระชับรัดตัวแต่ใจของสันติชาติยังสงบนิ่งไม่หวั่นไหวเลยแม้แต่น้อยนิด


 
เมื่อเวลาผ่านไปชั่วครู่ใหญ่สันติชาติจึงได้ยินเสียงคนคนหนึ่งกำลังเดินอยู่ในลำธารช้าๆอยู่ทางเบื้องหลังของเขาและกำลังมุ่งตรงมาที่ที่เขากำลังนั่งสมาธิอยู่แม้หูของสันติชาติจะได้ยินฝีเท้าของอาจารย์ของเขาอย่างชัดเจนก็ตามแต่ใจเขาก็สักแต่เพียงแค่รับรู้เท่านั้นมิได้เกิดคลื่นไหวใดๆขึ้นภายในหัวใจของเขาแต่อย่างใด


“เธอนั่งได้นิ่งดีมากแล้วนะสันติชาติ” เสียงอาจารย์เมทัทสุแว่วมาจากทางด้านหลัง


นี่เป็นครั้งแรกที่ท่านเมทัทสุเอ่ยปากชมเขาออกมาตรงๆเท่าที่ผ่านมาท่านเพียงแต่เฝ้ามองสังเกตการฝึกฝนปฏิบัติของลูกศิษย์คนนี้ของท่านเป็นส่วนใหญ่เท่านั้นสันติชาติรู้สึกปลื้มใจที่ได้รับคำชมจากอาจารย์เขาคิดอยู่ในใจว่าสภาวะเช่นนั้นที่อาจารย์บอกเขาคงอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่แล้วครั้นพอสันติชาติได้ฝึกนั่งในลำธารจนครบตามกำหนดเวลาฝึกหัดและลุกขึ้นยืนเดินจากลำธารจะไปหาอาจารย์ของเขาทันใดท่านอาจารย์ก็ส่งเสียงดุเขาขึ้นมาทันทีว่า


“ใช้ไม่ได้เธอไม่ได้ทรงสภาวะเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว!”


สันติชาติรู้สึกงุนงนอย่างยิ่งก็เมื่อสักครู่นี้ตอนที่เขากำลังฝึกนั่งอยู่ในลำธารอาจารย์ก็เพิ่งชมเขาอยู่หยกๆว่าเขานั่งได้ดีมากแต่พอมาในตอนนี้อาจารย์กลับบอกว่าเขาใช้ไม่ได้แล้วไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ทั้งๆที่ตัวเขาเองก็ไม่คิดว่าตัวเองจะต่างไปจากสภาพที่อยู่ในลำธารเมื่อครู่สักเท่าใดนัก


วันต่อมาและก็วันต่อมาอีกท่านอาจารย์เมทัทสุก็เอ่ยปากชมสันติชาติทุกครั้งในตอนที่เขากำลังฝึกนั่งอยู่ในลำธารและท่านก็เอ่ยปากดุเขาทุกครั้งในตอนที่เขาลุกขึ้นยืนและเดินออกมาจากลำธารนี่ก็เหลือเวลาอีกเพียง 3 วันเท่านั้นที่สันติชาติจะต้องเดินทางกลับประเทศไทยแล้วอาจารย์เมทัทสุได้แต่ส่ายหน้าสายตาของท่านส่อแววผิดหวังอย่างที่สันติชาติแลเห็นได้อย่างชัดเจน


 
สันติชาติทุรนทุรายอย่างหนักเขาพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะตอบสนองความคาดหวังที่อาจารย์มีต่อตัวเขาอาจารย์ได้บอกกับเขาว่าใช้ไม่ได้ทุกครั้งที่เขาลุกขึ้นยืนและเดินออกจากลำธารและอาจารย์ก็เอ่ยปากชมเขาทุกครั้งในขณะที่เขากำลังนั่งอยู่ในลำธารเพราะฉะนั้นทำไมเราไม่ลองรักษาสภาพที่ใกล้เคียงกับท่านั่งให้มากที่สุดในขณะที่ลุกออกจากลำธารไปคารวะอาจารย์ของเราเล่า


เมื่อคิดได้เช่นนั้นสันติชาติจึงประคองใจและกายของเขาในขณะที่กำลังฝึกนั่งอยู่ในลำธารตรงเข้าไปหาอาจารย์ของเขาทันทีแล้วหมอบกราบแทบเท้าท่านด้วยจิตใจที่คารวะสูงสุด


“เก่งมากสันติชาติในที่สุดเธอก็สามารถบรรลุสภาวะเช่นนั้นได้แล้ว”


ท่านอาจารย์เมทัทสุกล่าวแล้วตรงเข้าไปสวมกอดสันติชาติด้วยความปลาบปลื้มนัยน์ตาของสันติชาติแดงก่ำด้วยความซาบซึ้งในพระคุณของอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้กับเขาโดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทน


อาจารย์เมทัทสุกล่าวด้วยความยินดีว่า


“เธอจำสภาวะที่เธอบรรลุเมื่อครู่ให้ดีนะสันติชาติเพราะสภาวะเช่นนั้นแหละที่จะทำให้ใจของเธอไม่หวั่นไหวได้”


สภาวะเช่นนั้นต่อมาสันติชาติได้อธิบายให้แก่ลูกศิษย์ของเขาฟังว่าคือสภาวะที่เมื่อตัวเรารู้สึกว่าได้รับแรงกระทบจิตใจจากภายนอกเราจะใช้การปิดจุดล่างสุดของลำตัวและการคุมลมปราณให้อยู่ที่จุดตันเถียนมาผนวกกับการผ่อนคลายหน้าอกและหัวไหล่


โดยทำควบคู่กันไปพร้อมๆกันทั้ง 3 อย่างนี้ในระหว่างการกลั้นลมหายใจชั่วครู่ระหว่างการหายใจเข้าและการหายใจออกเพื่อควบคุมกายและใจของเราให้อยู่ในสภาพที่เหมือนเหยือกที่บรรจุน้ำจนเต็มเปี่ยมภาชนะอันเป็นสภาวะของพระอจลนาถหรือจิตของพระผุ้ไม่หวั่นไหว (ฟุโดเมียวโอ) นั่นเอง


ก่อนที่จะอำลาจากกันอาจารย์เมทัทสุได้กล่าวกับสันติชาติว่า


ศิษย์รักภายหลังจากที่เธอได้บรรลุสภาวะเช่นนั้นด้วยตัวของเธอเองได้แล้วเธอย่อมสามารถบินเดี่ยวได้เธอย่อมพร้อมที่จะไปฝึกวิชาชั้นสูงของศาสตร์ทางตะวันออกใดๆได้อย่างไม่มีภัยอันตรายอีกต่อไปแล้วและต่อไปถ้าเธอเดือดร้อนหรือเจออุปสรรคใดๆในชีวิตข้างหน้าของเธอก็ขอให้เธอจงรู้ไว้ด้วยเถอะนะว่าตัวเธออีกคนหนึ่งภายในตัวเธอจะทำหน้าที่เข้าแก้ไขปัญหาทั้งหลายให้แก่ตัวเธอแทนอาจารย์ของเธอเพราะตัวเธออีกคนหนึ่งหรืออาตมันภายในตัวเธอจะเป็นเพื่อนที่ดีของเธอและเป็นครูที่ดีของเธอให้กับตัวของเธอเอง”


“ครับอาจารย์” สันติชาติรับคำเสียงของเขาสั่นเครือดวงตาทั้งสองข้างมีสายน้ำตาแห่งความปลื้มปิติไหลอาบใบหน้าเขารู้สึกว่าตนเองได้กลายเป็นสันติชาติคนใหม่ความคิดและมุมมองที่มีต่อโลกก็ล้วนแปรเปลี่ยนไปพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านอาจารย์เมทัทสุนี้เขาจะจดจำไว้ในความทรงจำของเขาไปชั่วชีวิต


อาจารย์เมทัทสุกล่าวอำลาเป็นประโยคสุดท้ายแก่ศิษย์รักผู้มาจากประเทศไทยคนนี้ว่า


“ณบัดนี้ตัวเราเมทัทสุ (ผู้บรรลุความสว่าง) ขอตั้งชื่อทางธรรมให้แก่ตัวเธอผู้กำเนิดขึ้นมาเป็นคนใหม่ว่า “โฮริว (มังกรธรรมหรือ “ฝ่าหลง” ในภาษาจีนกลาง) เธอไปได้แล้วละสันติชาติไปทำหน้าที่ของเธอให้ดีที่สุดและอาจารย์หวังว่าเธอจะใช้ความสามารถและศักยภาพที่เธอมีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อร่วมชาติของเธอเพื่อให้พวกเขาแลเห็นทางออกที่เป็นทางสว่างในการใช้ชีวิตท่ามกลางกลียุคที่กำลังจะมาเยือนอยู่นี้


และถ้าเป็นไปได้อาจารย์ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเธอจะสามารถบูรณาการหรือสังเคราะห์เหล่าวิชาทั้งหลายที่เธอได้ร่ำเรียนมาให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อใช้มันเป็นซอฟแวร์ในการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ด้วยตัวของเขาเองได้”


ประสบการณ์ที่สันติชาติได้รับจากท่านเมทัทสุในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปอีกครั้งหนึ่งซึ่งนำไปสู่วิถีทางแห่งการเป็น “ยอดคน

 




จบภาคยอดคนวิถีเซน
 







Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้