41. คำสอนเร้นลับของพุทธะ

41. คำสอนเร้นลับของพุทธะ



คำสอนเร้นลับของพุทธะ
 


ในมิทสุโงะ” (คำสอนเร้นลับ) ซึ่งเป็นบทที่ 45 ของโชโบเก็นโซโดเง็นกล่าวว่าคำสอนเร้นลับของเหล่าพุทธะที่มีแก่เหล่าพุทธะคือการยืนยันให้แก่กันและกันว่าตัวท่านก็เป็นสิ่งนั้นและตัวเราก็เป็นสิ่งนั้นเช่นกันด้วย” ....โลกนี้เต็มไปด้วยเสียงแห่งคำสอนเร้นลับอันนี้คำสอนที่ว่า ตัวท่านคือสิ่งนั้นและตัวเราก็คือสิ่งนั้นแต่ใครเล่าที่ได้ยิน? โดเง็นเป็นคนหนึ่งในจำนวนน้อยนิดที่ได้ยินเสียงอันเป็นคำสอนอันเร้นลับ (มิทสุโงะ) ของเหล่าพุทธะนี้และถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ของเขาในโชโบเก็นโซ


เสียงที่ให้คำยืนยันและรับรองให้กันและกันว่าเราท่านต่างก็เป็นสิ่งนั้นเป็นเสียงที่โดเง็นได้ยินแต่คนอื่นแม้แต่คนที่เป็นศิษย์ของเขากลับไม่ได้ยินทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?


นั่นเพราะเสียงที่ว่านี้เป็นเสียงแห่งความเงียบที่ไม่อาจฟังได้ด้วยหูแต่สัมผัสได้ด้วยใจมันเป็นเสียงแห่งความเงียบและแฝงเร้นดุจเสียงใบไม้ร่วงหล่นจากต้นยามราตรีด้วยเหตุนี้จึงมีความต่างอย่างมากเหลือเกินระหว่างผู้ที่ได้ยินเสียงอันเป็นคำสอนเร้นลับของพุทธะกับผู้ที่ไม่ได้ยิน


สำหรับโดเง็นแล้วคำสอนเร้นลับของพุทธะมันมิได้เร้นลับเลยจริงๆสำหรับพุทธะด้วยกันมันแจ่มแจ้งชัดเจนเหลือเกินสำหรับพุทธะแต่ว่ามันเร้นลับสำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พุทธะต่างหากคำสอนเร้นลับ (มิทสุโงะ) ที่ว่านี้มิได้ออกมาจากปากใครทั้งสิ้นแต่ว่ามันเป็นคำสอนที่ปรากฏออกมาจากกายใจของตัวพุทธะผู้นั้นเอง


ตัวพุทธะไม่ว่าจะเป็นองค์ใดก็คือคำสอนก็คือคัมภีร์พุทธที่มีชีวิตชีวาที่สุดไม่ว่าท่านจะปรากฏตัวในยุคสมัยไหนก็ตามคำว่าเร้นลับที่โดเง็นใช้ในที่นี้จึงมีความหมายเพียงว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของคนทุกคนแต่ต้องปฏิบัติพุทธธรรมก่อนเท่านั้นถึงจะเข้าใจและเข้าถึงได้เพราะฉะนั้นจะมีแต่คนที่สามารถค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนได้เท่านั้นถึงจะได้ยินคำสอนเร้นลับนี้และสามารถถ่ายทอดคำสอนเร้นลับนี้ออกมาได้


หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการกลายเป็นพุทธะของคนๆหนึ่งคือการที่คำสอนเร้นลับ” (มิทสุโงะ) และการปฏิบัติธรรมแบบเร้นลับ” (มิทสุเกียว) ได้ปรากฏเผยตัวออกมากจากคนๆนั้น


สำหรับโดเง็นแล้วพุทธะคือผู้ที่รู้ตัวตนที่แท้จริงของตนโลกของพุทธะคือโลกที่เต็มเปี่ยมได้ด้วยภาษาคำสอนอันเร้นลับและการปฏิบัติอันเร้นลับของตนที่ปรากฏออกมาเองแม้มิได้จงใจก็ตามเพราะเมื่อคนๆหนึ่งกลายมาเป็นพุทธะคำสอนเร้นลับและการปฏิบัติเร้นลับก็จะมาครอบคลุมตัวผู้นั้นเองอย่างมิดชิดจนกลายเป็นกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมของพุทธะทำให้การเจริญสติของพุทธะการอยู่กับปัจจุบันของพุทธะเป็นคนละปัจจุบันกับของปุถุชนเพราะปัจจุบันของพุทธะคือเวลาของสิ่งนั้นอันเป็นนิรันดร์ขณะที่ปัจจุบันของปุถุชนยังอยู่บนเส้นตรงของกาลเวลาอันมีอนาคตอยู่เบื้องหน้าและอดีตอยู่เบื้องหลัง


ในดะอุเตะ” (คำสอน) ซึ่งเป็นบทที่ 33 ของโชโบเก็นโซที่โดเง็นเขียนออกมาในปี..1242 โดเง็นได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พุทธะก็คือคำสอนเพราะฉะนั้นเวลาที่พุทธะตรวจสอบพุทธะด้วยกันจึงมักจะถามกันว่ากำลังสอน (แสดง) ธรรมะด้วยชีวิตด้วยจิตวิญญาณทั้งหมดของตนอยู่หรือไม่ในทุกขณะจิต?”


โดเง็นบอกว่าคำสอนหรือธรรมที่แสดงออกมานี้จะต้องไม่ใช่สิ่งที่จำตำราจำคำพูดของคนอื่นมาพูดแต่มันจะต้องเป็นคำสอนของพุทธะที่กลายมาเป็นคำสอนของตัวเราเองในท่ามกลางการแสวงหาความเป็นพุทธะของตัวเราอย่างเอาเป็นเอาตายอันเป็นประสบการณ์ทางวิญญาณล้วนๆเพราะเมื่อเราเอาตัวเองมาอยู่ในคำสอนของพุทธะทำการพิจารณาและวิปัสสนาคำสอนของพุทธะอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบปียี่สิบปีสามสิบปีในที่สุดตัวเราก็จะบรรลุคำสอนนั้นหรือคำสอนนั้นกลายมาเป็นตัวเรากล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าอำนาจของพุทธคุณหรืออำนาจแห่งคำสอนของพุทธะจะเปล่งพลังทำให้ตัวเรากลายเป็นคำสอนและคำสอนกลายเป็นตัวเราจนได้ในที่สุดเพราะถ้าหากไม่ใช่พลังของพุทธคุณแล้วพลังอะไรเล่าที่สามารถผลักดันให้คนๆหนึ่งเฝ้าคิดพิจารณาข้อธรรมได้อย่างต่อเนื่องยาวนานนับเป็นปีๆหรือหลายสิบปี?
 






Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้