42. มหามายาแห่งพุทธอมตะ

42. มหามายาแห่งพุทธอมตะ



มหามายาแห่งพุทธอมตะ

 
 
โดเง็นบอกว่าโลกที่ตัวตนเก่าของตนแลเห็นคือสามโลก” (โลกทั้งหมด) และแม้หลังจากมีประสบการณ์ทางวิญญาณจนข้ามพ้นตัวตนหลุดร่วงทั้งกายและใจจากตัวตนเก่าแล้วโลกที่แลเห็นก็ยังเป็นสามโลกอยู่ดีแต่เป็นสามโลกแห่งพุทธะเพราะฉะนั้นถ้ามองด้วยสายตาของพุทธะการเอาตัวอยู่ในโลกนี้และการหลุดพ้นจากโลกนี้ก็ยังเป็นสามโลกซึ่งเป็นสามโลกของพุทธะอันเป็นโลกของพุทธอมตะ” (คุอ็องบุทสึ)


โลกของพุทธอมตะเป็นโลกที่แท้ (สามโลกที่แท้) ที่ข้ามพ้นการอยู่ในโลกนี้และการหลุดพ้นจากโลกนี้ตามความเข้าใจของปุถุชนมันเป็นการอยู่เหนือโลกทั้งๆที่อยู่กับโลกหากคนผู้นั้นไม่มีประสบการณ์โดยตรงทางวิญญาณในเรื่องนี้การอยู่ในโลกนี้กับการหลุดพ้นจากโลกนี้ย่อมเป็นสองแนวคิดที่ขัดแย้งกันและไม่อาจบูรณาการกันได้


โดเง็นจึงบอกว่า การเห็นสามโลกที่แท้คือการทำให้สามโลกที่แท้นั้นปรากฏออกมาโดยทำให้สามโลกที่เปรียบประดุจบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้อยู่นั้นหันมาตื่นในโพธิจิตมุ่งปฏิบัติดำเนินอยู่บนวิถีของพุทธธรรมจนกระทั่งเข้าถึงพุทธธรรมได้หากทำได้สรรพสัตว์ในสามโลกก็จะกลายเป็นพุทธบุตร (โกะชิ) ของพุทธอมตะ (พระเจ้า)


การมองเห็นสามโลก (โลกนี้) เป็นแค่บ้านที่กำลังถูกไฟไหม้หรือเห็นเป็นโลกของพุทธอมตะด้วยจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางวิญญาณของแต่ละคนเป็นสำคัญโดเง็นจึงบอกว่าการหลุดพ้นจากสามโลก (บ้านที่กำลังลุกไหม้) ที่แท้คือการเข้าไปอยู่ในสามโลก (ที่เป็นโลกของพุทธอมตะ) พุทธะจึงไม่เพียงทำให้ตัวเองกลายเป็นตัวตนที่แท้จริงเท่านั้นแต่ยังทำให้สรรพสิ่งรอบตัวตนกลายเป็นโลกที่แท้จริง (โลกของพุทธะ) ไปพร้อมๆกันด้วย


สำหรับคนทั่วไปแล้วโดเง็นเป็นคุรุที่เข้าถึงได้ยากเพราะภาษาของเขาและโลกทางความคิดของเขาเป็นโลกของพุทธะที่อิสระเกินกว่าความคาดหมายหยั่งถึงได้ของบุคคลธรรมดาไม่ว่าสมัยใดคำสอนของโดเง็นจึงเป็นคำสอนของยอดคนเพื่อยอดคนโดยยอดคนหรือเป็นคำสอนของพุทธะเพื่อพุทธะโดยพุทธะเท่านั้น


คำสอนชนิดนี้จึงไม่ประนีประนอมกับผู้ฟัง (และผู้อ่าน) และไม่สนใจว่าจะมีจำนวนผู้ฟัง (หรือผู้อ่าน) มากน้อยแค่ไหนเช่นเดียวกับคำสอนของตั๊กม้อผู้ก่อตั้งเซนเนื่องจากคำสอนชนิดนี้ไม่เคยหวังผลตอบแทนใดๆจากการเผยแพร่คำสอนของตนนอกจากสำแดงให้ปรากฏและเป็นที่ประจักษ์ถึงโลกทัศน์แบบพุทธอมตะเท่านั้น


โลกของพุทธอมตะจักปรากฏขึ้นแก่ผู้ที่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้เห็นพุทธอมตะจนไม่เสียดายแม้แต่การเสียสละชีวิตของตนเองด้วยเหตุนี้โดเง็นจึงกล่าวว่าเมื่อความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเห็นพุทธอมตะบังเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดเมื่อนั้นพุทธอมตะก็มาประทับอยู่ในใจของผู้นั้นแล้ว


แต่การมาประทับอยู่ในใจของผู้คนของพุทธอมตะจะปรากฏหรือสำแดงออกมาโดยการทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นพุทธบุตรนั่นเองพุทธบุตรกับพุทธบิดาจึงเป็นหนึ่งเดียวกันโลกของพุทธบุตรไม่อาจแยกขาดจากโลกของพุทธบิดาผู้เป็นพุทธอมตะโลกของพุทธะบุตรจึงเป็นโลกที่หลุดพ้นจากสามโลกที่เป็นบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้ไปแล้วสามโลกที่แท้จึงเป็นใจของพุทธอมตะ (ซานงัยยุยชิน) และสรรพสัตว์ในสามโลกที่แท้นี้ย่อมเป็นพุทธบุตรทั้งหมดทั้งสิ้นชีวิตในแต่ละวันของพวกเขาผู้เป็นพุทธบุตรล้วนดำรงอยู่ในทะเลญาณและทะเลฌานของพุทธบิดาผู้เป็นพุทธอมตะในสามโลกที่แท้นี้


โดเง็นเป็นครูเซนประเภทที่ชอบใช้ภาษามาทำลายโครงสร้างภาษาอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างความคิดความเชื่อที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาจากสมัยก่อนจนฝังแน่นกลายเป็นวิธีคิดและโลกทัศน์ของลูกศิษย์ (และผู้อ่าน) เพราะฉะนั้นภาษาที่โดเง็นใช้จึงมักมีความหมายที่แตกต่างไปจากความเข้าใจของคนทั่วไปเสมออย่างในมุจูเซ็ทสุมุ” (บรรยายฝันในฝัน) อันเป็นบทที่ 27 ของโชโกเก็นโซโดเง็นได้แสดงการใช้ภาษาทำลายโครงสร้างภาษาเอาไว้อย่างชัดเจนทีเดียว


อย่างคำว่าบรรยายความฝันในความฝันนี้ถ้าเป็นคนทั่วไปก็ต้องเข้าใจว่ามันไม่จริงเพราะมันเป็นฝันในฝันซึ่งไม่จริงอยู่แล้วแต่โดเง็นกลับใช้คำนี้ในความหมายของความฝันของสิ่งนั้นหรือพุทธอมตะที่กำลังฝันอยู่และบรรยายความฝันนั้นออกมาเพราะเขาบอกว่าโลกทั้งหมดยิ่งปรากฏตัวออกมาชัดเจนเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นความฝันอันโอฬารหรือมหามายาของสิ่งนั้นหรือของพุทธอมตะ


แต่มหามายาของสิ่งนั้นมิใช่ความฝันยามราตรีของคนทั่วไปแต่เป็นโลกแห่งความเป็นจริงของพวกเขาต่างหากคนทั่วไปมักชอบคิดกันว่าชีวิตดุจความฝันแต่โดเง็นกลับบอกว่าไม่ใช่!ชีวิตไม่ใช่ดุจความฝันแต่คือตัวความฝันต่างหากเพียงแต่มันเป็นความฝันของสิ่งนั้นเท่านั้นเองสำหรับโดเง็นแล้วความฝันอันโอฬาร (ไดมุ) หรือมหามายาก็คือตัวพวกเราและโลกของพวกเราโดยที่ความรู้แจ้งหรือความตื่นก็มิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากการตระหนักรู้ได้ว่าโลกนี้ไม่มีสิ่งใดนอกจากความฝันเพราะฉะนั้นจงเข้าสู่มหามายานี้ด้วยความตื่นเถิด


พุทธะคือผู้ที่บรรยายฝันในฝันอันโอฬารของสิ่งนั้นโดยรู้ตื่นว่ามันเป็นความฝันและตัวพุทธะเองก็ปรากฏออกมาจากความฝันของสิ่งนั้นด้วยเหตุนี้ในโลกทัศน์ของโดเง็นความฝันจึงเท่ากับความตื่นในขณะที่ในโลกทัศน์ของคนอื่นที่ยังไม่ใช่พุทธะความตื่นคือการออกมาจากความฝันความฝันของโดเง็นจึงเป็นความฝันที่พุทธะกำลังเห็นอยู่ในปัจจุบันขณะและเป็นความฝันเดียวกับที่ พุทธะอมตะ (พระเจ้า) กำลังฝันอยู่ด้วยในเมื่อโลกเป็นจริงคือความฝันของพุทธอมตะมีสิ่งใดเล่าที่จะต้องไปยึดมั่นถือมั่น? พุทธะทุกท่านล้วนบรรยายฝันในฝันทั้งสิ้น....ฝันที่กลายมาเป็นชีวิตของพวกเราแต่ละคน
 




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้