50. ลมปราณไท้เก๊กเบื้องต้น

50. ลมปราณไท้เก๊กเบื้องต้น




ลมปราณไท้เก๊กเบื้องต้น
 


มวยไท้เก๊กเป็นชี่กงประเภทหนึ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับการเป็นพื้นฐานในการฝึกศาสตร์ชั้นสูงทั้งปวงของลัทธิเต๋าการฝึกหายใจหรือการฝึกลมปราณของมวยไท้เก๊กเบื้องต้นนั้นจะเป็นการหายใจแบบก่อนกำเนิดหรือที่เรียกกันว่าการหายใจด้วยท้องแบบปฏิภาควิธีหายใจแบบนี้ขณะหายใจเข้าท้องจะหดขณะหายใจออกท้องจะป่องตามทฤษฎีโบราณของเต๋าพลังลมปราณของคนเรามี 2 ประเภทคือ


a) พลังลมปราณก่อนกำเนิดอันเป็นพลังชีวิตที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด
กับ
b) พลังลมปราณหลังกำเนิดอันเป็นพลังชีวิตที่เกิดจากการที่เราพูด


อากาศหายใจในแต่ละวันและจากอาหารน้ำดื่มที่เรารับประทานเข้าไปพลังลมปราณก่อนกำเนิดถือเป็นฝ่ายหยังส่วนพลังลมปราณหลังกำเนิดถือเป็นฝ่ายหยินโดยมีกระบังลมเป็นแผ่นคั่นกลางระหว่างลมปราณทั้ง 2 แบบนี้ดังรูปที่ 1
 


 
รูปที่ 1 ลมปราณหลังกำเนิด และจุดศูนย์ตันเถียน




           ลมปราณก่อนกำเนิด
และจุดศูนย์ตันเถียน


ในการหายใจด้วยท้องแบบปฏิภาคนี้เวลาหายใจเข้าพลังชั้นบนหรือพลังหลังกำเนิดจะถูกจมูกสูดเข้าไปในขณะที่พลังชั้นล่างหรือพลังก่อนกำเนิดจะถูกบีบให้ขึ้นมาจากจุดศูนย์ตันเถียนดังรูปที่ 2







รูปที่ 2 การหายใจเข้าด้วยวิธีหายใจด้วยท้องแบบปฏิภาค




ส่วนเวลาหายใจออกพลังชั้นบนจะออกมาจากจมูกในขณะที่พลังชั้นล่างจะกลับเคลื่อนจมลงสู่จุดศูนย์ตันเถียนดังรูปที่ 3




 

รูปที่ 3 การหายใจออกของวิธีหายใจด้วยท้องแบบปฏิภาค




การหายใจเข้าจึงเป็นการรวมส่วนการหายใจออกเป็นการแยกมีแต่การหายใจด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่จะเกิดพลังผ่านรวม” (ชี่กง) อันเป็นการผสมผสานพลังก่อนกำเนิดกับพลังหลังกำเนิดให้เป็นหนึ่งเดียวแต่ถ้าเราหายใจด้วยวิธีอื่นเช่นการหายใจแบบหลังกำเนิดหรือหายใจด้วยท้อง (ที่พอหายใจเข้าท้องน้อยจะป่องและพอหายใจออกท้องน้อยจะหด) จะไม่เกิดการผสมผสานระหว่างพลัง 2 ชนิดนี้


 
ในการฝึกชี่กงของมวยไท้เก๊กนอกจากจะฝึกหายใจด้วยท้องแบบปฏิภาคแล้วผู้ฝึกจะต้องรู้จักใช้จิตสำนึกเข้ามาช่วยในการหายใจเพื่อให้เกิดการเดินพลังลมปราณด้วยคือผู้ฝึกจะต้องรู้จักใช้จินตนาการและสติชักนำลมปราณให้ไหลจากจมูกลงสู่ลำคอเข้าสู่ช่องท้องให้ลงไปจมอยู่ในจุดศูนย์ตันเถียนจนเป็นความเคยชินให้ได้เสียก่อน


การฝึกหายใจแบบปฏิภาคและการเดินพลังลมปราณด้วยการใช้จิตสตินำความคิดและนำพลังปราณไปสะสมไว้ที่จุดศูนย์ตันเถียนหรือขับเคลื่อนพลังปราณให้หมุนเวียนไปทั่วร่างกายนั้นจะฝึกได้ง่ายที่สุดจากท่ายืนอยู่กับที่หรือท่าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆซึ่งในมวยไท้เก๊กเรียกว่าการฝึกยืนเซน(ฝึกเซนในท่ายืน) ในขั้นต่อมาที่ยากขึ้นไปอีกคือการฝึกหายใจแบบปฏิภาคและเดินพลังลมปราณนี้ในการรำเดี่ยวช้าๆตามชุดมวยไท้เก๊กเหตุที่จำเป็นต้องรำช้าๆหรือเคลื่อนไหวช้าๆก็เพื่อฝึกหัดการเคลื่อนพลังลมปราณภายในร่างกายและให้สติความคิดชักนำพลังลมปราณกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกายได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง


การจะฝึกชี่กงให้ก้าวหน้าเคล็ดเกี่ยวกับท่าทางมีความสำคัญมากสมควรที่ผู้ฝึกจะต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวดเพื่อจัดโครงสร้างของกายให้เอื้ออำนวยที่สุดต่อการฝึกลมปราณเคล็ดเกี่ยวกับท่าทางในการฝึกชี่กงไม่ว่าจะประเภทไหนหรือสายไหนล้วนเหมือนกันคือ


1. คอและศีรษะต้องตั้งตรง
2. ต้องเก็บก้นกบไม่ให้โผล่ยื่นออกมา
3. ลำตัวต้องตั้งตรง
4. หว่างขาต้องโค้งมน
5. ผ่อนคลายหน้าอกห่อไหล่อย่าแอ่นอกอย่ายกไหล่
6. ไหล่ต้องตก
7. ศอกก็ต้องตก
8. นัยน์ตาทั้งคู่ต้องอยู่ในระดับเดียวกันเป็นเส้นขนานกับพื้นเสมอ
9. ลิ้นแตะเพดานฟันบนตลอดเวลาที่ฝึก
10. ผ่อนคลายเอวผ่อนคลายทั่วทั้งร่างโดยจิตยังมีสติเป็นสมาธิอยู่                             


เคล็ดเกี่ยวกับท่าทางทั้ง 10 ประการข้างต้นนี้มีไว้ให้ลมปราณไหลเวียนไปทั่วร่างของผู้ฝึกชี่กงได้อย่างสะดวกปลอดโปร่งไม่ติดขัด


เมื่อฝึกชี่กงในท่ายืนนิ่งๆไม่เคลื่อนไหวโดยปฏิบัติตามเคล็ดเกี่ยวกับท่าทาง 10 ประการข้างต้นอย่างเคร่งครัดได้ระยะหนึ่งประมาณสามเดือนถึงหกเดือนขึ้นไปจนผู้ฝึกเริ่มเคยชินกับการมีท่าทางที่ถูกต้องของชี่กงแล้วผู้ฝึกก็ควรเริ่มฝึกชี่กงในการเคลื่อนไหวช้าๆซึ่งก็มีเคล็ดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว 10 ประการที่ผู้ฝึกจะต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวดเช่นกันคือ


1. ปลายเท้าปลายจมูกและปลายมือของผู้ฝึกจะต้องสมมาตรตรงกันตลอดคือถ้าไม่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันก็ต้องเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
2. ตาจะต้องมองการเคลื่อนไหวหรือจดจ่อที่ปลายนิ้วเสมอ
3. ขณะเดียวกันตาจะต้องมองในมุมกว้างเกินกว่าครึ่งวงกลมเอาไว้เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้
4. การเคลื่อนไหวอย่าให้มีการขาดตอนต้องให้ไหลต่อเนื่องดุจสายน้ำ
5. ในกับนอกต้องประสานกันในหมายถึงจิง(แก่นสารของพลังชีวิต)ชี่(ปราณ) และเสิน (จิตวิญญาณ)นอกหมายถึงมือเท้าและลำตัว
6. ท่อนบนกับท่อนล่างของลำตัวต้องเคลื่อนไหวสอดคล้องกัน
7. แสวงหาความนิ่งในความเคลื่อนไหวและแสวงหาความเคลื่อนไหวในความนิ่งด้วยการใช้จิตสำนึก
8. ใช้จิตไม่ใช้กำลัง
9. แบ่งแยกการถ่ายเทน้ำหนักตัวบนขาและแขนให้ชัดเจนว่าเป็นแรงจริงหรือแรงลวง
10. วางน้ำหนักหรือจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายให้ถูกต้องจมแรงไปที่ส่วนล่างของร่างกายเคลื่อนไหวอย่างเบาและคล่องแคล่ว


ชี่กงที่คนธรรมดาทั่วไปฝึกกันมีเคล็ดและหลักการฝึกตามข้างต้นนี้ไม่ว่าจะฝึกชี่กงชื่ออะไรประเภทไหนที่มีจำนวนมากมายเป็นร้อยๆชนิดก็ตาม
 
 






Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้