ภาคผนวก 1 ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ภาคผนวก 1 ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร





ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

 
            ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือคัมภีร์แห่งจิตเพื่อบรรลุปัญญาบารมีเล่มนี้ฉบับนี้เป็นภาษาจีนซึ่งพระถังซำจั๋งท่านได้แปลมาจากภาษาสันสกฤตอีกทีหนึ่งนั้นเป็นคัมภีร์ที่สั้นมากคือมีเพียงแค่ 260 คำเท่านั้นเองแต่คัมภีร์เล่มนี้มีพลังอยู่ในตัวมากอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียวถ้าหากใครได้ฝึกแล้วก็จะรู้ได้ด้วยตนเองก่อนอื่นจะถอดใจความของคัมภีร์เล่มนี้จากภาษาจีนให้ฟังก่อน


(1) คัน ยิ ไซ โบ สัทสุ เกียว ยิน ฮัน เนียะ ฮา รา มิตตะ ยิ โช เกน โกะ อุน ไค คู โดะ อิสไซ คุ ยากุ
ถอดความ พระโพธิสัตว์กวนอิมผู้ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อท่านได้เข้าสู่การ บำเพ็ญปัญญาบารมีอันลึกซึ้ง เพื่อแสวงหาสัจธรรมที่จะช่วยมนุษย์ทั้งหลาย ในโลกนี้ให้พ้นทุกข์ได้นั้น ท่านได้รู้แจ้งว่า ขันธ์ 5 ทั้งปวง ซึ่งประกอบขึ้นเป็น สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นสุญญตาหรือความว่างทั้งสิ้น ท่านจึงถือ สัจธรรมอันนี้เป็นมรรคที่แท้จริงที่จะช่วยให้มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้สามารถ พ้นทุกข์ได้

ขยายความกล่าวกันว่าผู้ที่แต่งคัมภีร์เล่มนี้ออกมาน่าจะเป็นยอดอัจฉริยะผู้มีนามว่า “นาคารชุน (ราวๆค.ศ.150-250) ผู้บุกเบิกแนวคิด “สุญญตาในฐานะที่เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ


ตามประวัติหรือตำนานที่เล่าสืบต่อกันมานาคารชุนเป็นบุตรของขุนนางที่ร่ำรวยมากเขาเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมากตั้งแต่เด็กเพราะสามารถร่ำเรียนวิทยาการและศิลปะการต่อสู้จนเชี่ยวชาญจนบรรลุชั้นยอดฝีมือทั้งที่อายุเพิ่งย่างเข้าสู่รุ่นหนุ่ม


ด้วยความคะนองนาคารชุนได้ชักชวนเพื่อนสนิทของเขาอีก 2 คนเข้าไปในเขาลูกหนึ่งเพื่อร่ำเรียนวิชาล่องหนหายตัวจากฤาษีท่านหนึ่งโดยเสียดายไม่ยอมจ่ายค่าสมนาคุณที่ต้องมอบให้แก่ฤาษีท่านนั้น


เมื่อพวกเขาทั้ง 3 สำเร็จวิชาล่องหนหายตัวแล้วก็ใช้วิชานี้แอบเข้าไปในฮาเร็มของกษัตริย์องค์หนึ่งแล้วมีสัมพันธ์กับเหล่าสตรีในฮาเร็มแห่งนั้นอย่างสนุกสุดเหวี่ยงตามประสาชายหนุ่มจนกระทั่งความแตกเพราะนางสนมหลายคนเกิดตั้งท้องขึ้นมาพระราชารู้จึงกริ้วมากระดมที่ปรึกษาหาทางจับมนุษย์ล่องหนเหล่านี้โดยใช้ขี้เถ้าโรยไปทั่วรอบๆฮาเร็มจนสามารถจับตัวเพื่อนสองคนของนาคารชุนได้


ขณะที่นาคารชุนสามารถหลบหนีออกมาได้อย่างหวุดหวิดพระราชาได้สั่งประหารเพื่อนทั้ง 2 ของนาคารชุนและนำศพของพวกเขามาประจานที่กลางเมืองเมื่อนาคารชุนแลเห็นเข้าจึงเกิดความสังเวชแลเห็นถึงความไม่อนิจจังของชีวิตนี้เขาจึงทิ้งโลกเข้าบวชในพุทธศาสนาคร่ำเคร่งหมั่นเพียรฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างอุตสาหะวิริยะจนกลายเป็นอริยสงฆ์ที่รอบรู้ทั้งวิปัสสนาและวิชาอภิญญาชั้นสูง


นาคารชุนมีลักษณะเด่นอยู่ตรงที่เขาไม่เป็นเพียงนักทฤษฎีผู้เยือกเย็นสุขุมเฉียบแหลมจนสามารถพัฒนาธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทจนกลายเป็นหลักสุญญตาได้เท่านั้นแต่เขายังเป็นนักปฏิบัติที่ศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิมอย่างลึกซึ้งและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ให้พ้นทุกข์อีกด้วย


ลักษณะ 2 ด้านที่ดำรงอยู่ในตัวนาคารชุนนี้แหละคือกุญแจสำคัญที่จะไขความลึกลับของคัมภีร์เล่มนี้เพราะในคัมภีร์เล่มนี้นั้นจริงๆแล้วมีองค์ประธานอยู่ 2 องค์ด้วยกัน


องค์แรกคือพระโพธิสัตว์ปัญญาบารมีผู้บรรลุความรู้แจ้งได้ด้วยการบำเพ็ญสมาธิ-วิปัสสนา
องค์ที่สองคือพระโพธิสัตว์กวนอิมหรือพระอวโลกิเตศวรผู้บำเพ็ญภาวนาและตั้งปณิธานว่าจะช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์
องค์แรกคือสัญลักษณ์ของการมีหลักวิชาหรือทฤษฎีที่ถูกต้องในการหลุดพ้น
องค์หลังคือสัญลักษณ์ของการมุ่งปฏิบัติเพื่อช่วยผู้อื่นให้หลุดพ้นด้วย


 
เอกภาพระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติคือสภาพที่เป็นอุดมคติของศาสนาและของความเป็นคนด้วยเพราะหากผู้ใดเอาแต่ฝึกฝนสมาธิ-วิปัสสนาจนตระหนักถึง “ความว่างหรือความเป็นสุญญตาของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้แล้วหยุดอยู่แค่นั้นเขาก็จะกลายเป็นคนเบื่อโลกอยากทิ้งโลกไม่อยากทำสิ่งใดทั้งสิ้นหรืออาจหมดอาลัยในชีวิตนี้ด้วย


เพราะฉะนั้นผู้ที่ฝึกฝนสมาธิ-วิปัสสนาจนเข้าถึง “สุญญตาได้แล้วจะต้องรุดหน้าต่อไปโดยก้าวเข้าสู่ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วยจึงจะเป็น “ทางที่ถูกต้อง


เพราะฉะนั้นเคล็ดลับของการฝึกวิชาจากคัมภีร์เล่มนี้ก็คือผู้ฝึกจะต้องมุ่งมั่นเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมเสียก่อนจากนั้นจึงบำเพ็ญปัญญาบารมีเพื่อให้ได้ปัญญาดุจพระโพธิสัตว์ปัญญาบารมีเพราะคนธรรมดาสามัญยากนักที่จะได้ “ปัญญาบารมีจากคัมภีร์เล่มนี้


ยกเว้นแต่ว่าตัวผู้ฝึกมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมผู้มีปัญญาบารมีประกอบด้วยแล้วเท่านั้นถ้าไม่ศึกษาคัมภีร์เล่มนี้จากจุดยืนเช่นนี้ผู้ฝึกจะไม่มีวันเข้าถึงความล้ำลึกของคัมภีร์ซึ่งทรงพลานุภาพเล่มนี้ได้เลยสิ่งที่จะได้คือความรู้ที่เป็นแค่เปลือกนอกจากคัมภีร์เล่มนี้เท่านั้น


(2)         ฉะ ริ ชิ         ชิกิ ฟุ อิ คู
   คู ฟุ อิ ชิกิ      ชิกิ โซกุ เซะ คู
   คู โซกุ เซะ ชิกิ  จุ โซ เกียว ชิกิ
   ยากุ บุ เนียว เซะ

ถอดความ สารีบุตรเอ๋ย (ศิษย์เอ๋ย) สิ่งที่เราจะบอกเธอในที่นี้ก็คือว่า “รูป” นั้น ไม่ใช่รูป แต่มันเกิดรูปเกิดร่างขึ้นมาก็เพราะมันอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่น
รูปจึงไม่ต่างไปจาก “ความว่าง” และสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือเป็นความว่าง นั้น ก็มิได้หมายความว่า มันไม่มีอะไร เพราะจากความว่างก็สามารถอาศัยการ ร่วมกันกับสิ่งอื่นทำให้เกิด “รูป” ขึ้นมาได้เช่นกัน ดังนั้น “ความว่าง” จึงไม่ต่าง ไปจาก “รูป”
ยกตัวอย่างเช่น น้ำ เมื่อไปอาศัยอยู่กับความร้อน มันก็จะกลายเป็น ไอที่หลอมละลายไปกับท้องฟ้าที่ว่างเปล่าในอากาศ แต่เมื่อไอน้ำไปอาศัย อยู่กับความเย็น ก็จะกลายเป็นฝนตกลงมาอีก หรือถ้าเย็นจัดมากก็อาจกลาย เป็นน้ำแข็งก็ได้
แต่ไม่ว่าน้ำจะเป็นไอหรือน้ำแข็ง เพราะการอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่น ธาตุแท้ของน้ำก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนไปก็เพราะมีการอาศัย ร่วมกันกับสิ่งอื่นเท่านั้น
สรรพสิ่งหรือ “รูป” ทั้งหลายในโลกนี้ก็เป็นดุจน้ำนี้ เราจึงบอกว่า
รูป ก็คือ ความว่าง และความว่าง ก็คือ รูป
รูปเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 เพราะฉะนั้นขันธ์อื่นๆ ไม่ว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ก็เป็นความว่างเช่นกัน และความว่าง ก็เป็นขันธ์ต่างๆ เหล่านี้ด้วย
ขันธ์เหล่านี้เราเรียกว่า นามขันธ์ อันเป็นการทำงานของใจ ใจของคน เรานั้น บางครั้งก็ดีใจ บางครั้งก็เสียใจ แต่ความดีใจหรือความเสียใจเหล่านี้ หาได้เป็นคุณสมบัติที่ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงของใจไม่ แต่มันเกิดขึ้นเพราะ มันไปอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นต่างหาก เพราะใจแท้ๆ ของคนเรานั้น คือความ ว่างเท่านั้น


ขยายความ เพราะธาตุแท้ของรูปก็คือ “ความว่าง” รูปจึงดำรงความเป็นรูปอยู่ได้ตามหลักของปฏิจจสมุปบาทคัมภีร์นี้จึงกล่าวว่า “รูปก็คือความว่าง” ในขณะที่เมื่อคัมภีร์กล่าวว่า “ความว่างก็คือรูป” มันหมายความว่า “ความว่าง” มีคุณสมบัติและมีพลังที่จะทำให้เกิด “รูป” ขึ้นมาได้ความว่างจึงไม่ใช่ “ความไม่มีอะไร” อย่างที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดสับสนกัน


จะเห็นได้ว่าคำว่า “รูปก็คือความว่าง” กับคำว่า “ความว่างก็คือรูป” นั้นหรือ A เท่ากับ B กับ B เท่ากับ A นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันมากในคัมภีร์เล่มนี้


การทำความเข้าใจว่า “รูปก็คือความว่าง” นั้นยากอยู่แล้วสำหรับคนธรรมดาแต่การจะเข้าใจความหมายของ “ความว่างก็คือรูป” นั้นยิ่งยากเข้าไปอีกสำหรับคัมภีร์เล่มนี้ส่วนที่สำคัญที่สุดนั้นมิได้อยู่ที่ “รูปก็คือความว่าง” อย่างที่ความเข้าใจเช่นนั้นเป็นส่วนใหญ่แต่อยู่ที่ “ความว่างก็คือรูป” ต่างหาก


เพราะพวกเราควรจะตระหนักถึงความจริงในข้อนี้ให้ได้ว่าพวกเราทุกคนนั้นล้วนเป็นรูปที่เกิดมาจากความว่างทั้งสิ้นและพวกเราทุกคนต่างก็มี “ความว่าง” เป็นธาตุแท้อยู่ในตัวทั้งสิ้น


เพราะฉะนั้นแล้วพวกเราทุกคนย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนี้เพราะ “ความว่างก็คือรูปความว่างย่อมสามารถก่อให้เกิดรูปอะไรขึ้นมาก็ได้ด้วยเหตุนี้แหละถ้าหากคนเรามีความมานะบากบั่นอุตสาหะวิริยะพยายามเขาก็สามารถก้าวหน้าได้รุดหน้าได้เติบโตต่อไปได้และในทางตรงกันข้ามถ้าเขาละเลยการฝึกฝนตนเองเกียจคร้านไม่กระตือรือร้นเขาก็จะถดถอยเสื่อมโทรมถอยหลังไปเรื่อยๆ


คนเราแม้เกิดมาในโลกนี้โดยแยกชะตาชีวิตอันหนึ่งอามาด้วยก็ตามแต่ก็ใช่ว่าจะถูกชะตาชีวิตอันนั้นลิขิตโดยสิ้นเชิงก็หาไม่ทุกอย่างย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพราะ “ความว่างก็คือรูป” การที่เราเกิดมาจนก็ไม่มีเหตุใดที่เราจะต้องจนไปตลอดชีวิตใช่หรือไม่


รูปก็คือความว่างจึงเป็นโลกทัศน์ของพระโพธิสัตว์ปัญญาบารมีและ “ความว่างก็คือรูปจึงเป็นชีวทัศน์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม (พระอวโล- กิเตศวร) ถ้าเข้าใจใน 2 ประเด็นนี้อย่างแท้จริงได้แล้วถ้อยความอื่นหลังจากนั้นของคัมภีร์เล่มนี้ถือว่าเป็น “ของแถม” เท่านั้น


(3)         ฉะ ริ ชิ         เซะ โฉะ โฮ คู โซ
   ฟุ โช ฟุ เม็ทสุ   ฟุ คุ ฟุ โย
   ฟุ โซ ฟุ เง็น
ถอดความ ศิษย์เอ๋ย แก่นแท้ของสรรพสิ่งนั้นเป็นความว่าง แม้ในทาง ปรากฏการณ์จะดูเหมือนว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นานา อันเนื่องมาจาก การอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นก็ตาม แต่ตัวแก่นแท้ของสรพสิ่งนั้น หาได้เปลี่ยน แปลงด้วยไม่ ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งดับ ไม่มีสกปรก และก็ไม่มีสะอาด ไม่มีเพิ่ม ไม่มีลด


ขยายความ ลักษณะต่างๆของ “ความว่าง” นั้นได้ถูกบรรยายในคัมภีร์ส่วนนี้คือไม่มีทั้งเกิดไม่มีทั้งดับไม่มีสกปรกไม่มีสะอาดไม่มีเพิ่มไม่มีลดในที่นี้จะขอยกตัวอย่างของ “เงิน” มาให้พิจารณากันดู


เงินมีตัวตนจริงหรือไม่? สำหรับพวกนักเล่นหุ้นวันนี้มีหลายล้านบาทแต่ในวันข้างหน้าอาจเหลือแค่ไม่กี่แสนบาทหรืออาจเพิ่มมากกว่าเดิมอีกหลายสิบเท่าก็เป็นได้แต่ที่เพิ่มหรือลดลงนั้นคือปริมาณของเงินหาใช่ตัวตนของเงินไม่


เพราะตัวตนของเงินไม่เคยดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงให้ตัวเราครอบครองเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียวเมื่อมีเหตุอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นเงินถึงอยู่กับเราแต่เมื่อหมดอายุอาศัยอันนั้นเงินก็ไปจากเรา


สิ่งที่เราใช้จากเงินก็เป็นเพียงอำนาจซื้อที่มีอยู่ในขณะที่มันอยู่กับเราเท่านั้นแต่ตัวตนของมันไม่เคยดำรงอยู่เลยเงินไม่มีตัวตนมีแต่ปริมาณของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น


เพราะถ้าเงินมีตัวตนจริงมันจะต้องดำรงอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงด้วยเงื่อนไขหรือสาเหตุใดๆก็ตามแต่เงินก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในโลกที่เป็นมายาในโลกที่เป็นปรากฏการณ์อยู่ดีแต่เงินจะกลายเป็น “มายา” ที่ไร้ตัวตนในทันทีในโลกของสัจธรรมหรือในโลกของปรมัตถ์


โลกของปรมัตถ์จึงเป็นโลกของพระโพธิสัตว์ปัญญาบารมี
ส่วนโลกของปรากฏการณ์เป็นโลกของพระโพธิสัตว์กวนอิม


(4)         เซะ โคะ คู จู    มุ ชิกิ
   มุ จุ โซ เกียว ชิกิ
   มุ เง็น นิ บิ เซ็ทสุ ชิน อิ
   มุ ชิกิ โช โค มิ โซกุ โฮ
   มุ เง็น ไค
   ไน ชิ มุ อิ ชิกิ ไค
ถอดความ ด้วยเหตุนี้ ใน “ความว่าง” จึงไม่มีทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้ง สัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ และไม่มีทั้ง ตา หู จมูก กาย ใจ ซึ่งเป็นทวารรับรู้ และก็ไม่มีทั้งสิ่งที่ถูกรับรู้ ซึ่งได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด จึง ไม่มีทั้งโลกที่ตามองเห็น และไม่มีโลกทางความคิด


ขยายความ ถ้าหาก “ความว่าง” ในที่นี้คือหลักอันเดียวกับหลักปฏิจจ- สมุปบาทแล้วเราก็ย่อมกล่าวได้ว่าในหลักปฏิจจสมุปบาทจึงไม่มีทั้งรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเช่นกันไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจเช่นกันและไม่มีรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสความคิดเช่นกัน


เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็น “อนัตตา” คือไม่มีตัวตน “ความว่าง” “อนัตตา” และ “หลักปฏิจจสมุปบาท” จึงเป็นสิ่งเดียวกันและแยกจากกันไม่ได้เลยใน “ปัญญา” แบบพระพุทธเจ้า


(5)         มุ มุ เมียว       ยาคุ มุ มุ เมียว ยิน
   ไน ชิ มุ โร ชิ   ยาคุ มุ โร ชิ ยิน
   มุ คุ จู เม็ทสุ โด มุ จิ ยาคุ มุ โทคู
   อิ มุ โฉะ โทคุ โคะ
ถอดความ ด้วยเหตุนี้ ใน “ความว่าง” จึงไม่มีทั้งอวิชชา และก็ไม่มีการ สิ้นสุดของอวิชชา ไม่มีทั้งชรามรณะ และก็ไม่มีการสิ้นสุดของชรามรณะ ไม่มีอริยสัจ 4 คือ ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่มีทั้งโพธิปัญญา และก็ไม่มี การตรัสรู้ใดๆ เพราะโพธิปัญญา และการตรัสรู้แบบพระพุทธเจ้าอยู่เหนือ “ความว่าง” เหล่านี้ไปอีก


ขยายความ ในการบรรลุถึง “ความว่าง” จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ถึงเรื่องขันธ์ 5


หลักปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายธรรม 12 ประการคืออวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปทานภพชาติชรามรณะซึ่งเกิดขึ้นร่วมกันโดยอาศัยกันและกันเกิดและอริยะสัจ 4.. เมื่อเข้าถึง “ความว่าง” ได้จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็น “ไม่มี” ไปและตัว “ความว่าง” เองก็จะต้องถูกข้ามพ้นอีกทีด้วย


เพราะมีแต่ปัญญาในระดับมิติที่ข้ามพ้นจาก “ความมีอะไร” “ความไม่มีอะไร” และ “ความว่าง” ทั้งปวงได้แล้วเท่านั้นจึงจะเป็นปัญญาขั้นสุดยอดที่แท้จริงหรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่าตราบใดทั้งยังยึดติดกับ “ความว่าง” อยู่ตราบนั้นก็ยังไม่มีปัญญาขั้นสุดท้าย


คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเล่มนี้จึงเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความสูงส่งของ “ความว่าง” และก็เสนอให้บรรลุ “ความว่าง” ที่ข้ามพ้น “ความว่าง” อีกทีหนึ่งและนี่คือความล้ำลึกสุดหยั่งคาดของคัมภีร์เล่มนี้ที่ยากจะหาคัมภีร์เล่มอื่นที่ก็อธิบายเรื่อง “ความว่าง” เหมือนกันมาทัดเทียมได้


(6)         โบะ ได สัทสุ ตะ        เอะ ฮัน เนียะ ฮะ ระ มิต ตะ โคะ
   ชิน มุ เค เงะ    มุ เค เงะ โฃะ
   มุ อุ คุ ฟุ                ออน ริ อิสไซ เต็น โต มุ โซ
   คุ เคียว เนะ ฮัน  ซาน เซะ โฉะ บุทสุ
   เอะ ฮัน เนียะ ฮะ ระ มิต ตะ โคะ
   โทคุ อะ โนค ตะระ ซาน เมียคู ซาน โบะ ได
ถอดความ พระโพธิสัตว์ผู้แสวงธรรมทั้งหลาย ถ้าหากได้ปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุปัญญาบารมีแล้ว ใจของเขาก็จะไม่มีสิ่งยึดติด เมื่อไม่มีสิ่งยึดติด ก็จะไม่มีความกลัว สามารถหลีกเลี่ยงมายาที่กลับตาลปัตรทั้งปวง และ สามารถบรรลุนิพพานได้
เหล่าพระพุทธเจ้าใน 3 โลกก็เช่นกัน ต่างก็ฝึกฝนปัญญาบารมีจน กระทั่งสามารถบรรลุ “อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ” อันเป็นปัญญาสูงสุดได้


ขยายความสิ่งที่ทำให้ใจยึดติดคือสิ่งที่ครอบงำจิตใจจนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานที่แท้จริงของปัญญาในตัวเราแต่เมื่อปัญญาบารมีเกิดขึ้นสิ่งเหล่านี้ก็จะหายไปเองเหมือนเมื่อมีแสงสว่างเกิดขึ้นความมืดก็จะหายไปในบัดดล


เมื่อใจไม่มีสิ่งยึดติดก็ย่อมไม่เกิดความกลัวเพราะความกลัวเกิดจากการไปยึดติดอยู่กับ “อัตตา” ของใจเมื่อใจก็ไม่มีอะไรยึดติดและยังมีความวิริยะพากเพียรในการฝึกฝนตนเองตามวิถีพุทธธรรมด้วยแล้วในใต้ฟ้านี้จะมีสิ่งใดทำให้เราหวาดหวั่นได้? เพราะฉะนั้น “มายา” ที่ทำให้เรามองโลกกลับตาลปัตรจึงไม่อาจรังควานเราต่อไปอีกได้


แต่แปลกเหลือเกินที่คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ก็ยังชอบอยู่ในโลกที่กลับตาลปัตรอยู่ดี! เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบในสิ่งที่นำความทุกข์มาให้แก่ตนและรังเกียจสิ่งที่นำความสงบความสุขมาให้แก่ตน


การพนันสุรายาเสพติดการสำส่อนทางเพศความจริงเป็นสิ่งที่นำความหายนะมาให้แก่ตนเองและสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างแต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่แลเห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือความสุขสุดยอดในชีวิตอย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่ากลับตาลปัตรแล้วจะให้เรียกว่าอะไร?


นี่เพราะไม่มี “ปัญญาที่แท้จริงจึงทำให้มนุษย์จำนวนมากยังต้องจมปลักอยู่กับความทุกข์ต่างๆนานาท่ามกลางสิ่งกลับตาลปัตรเหล่านี้


(7)         โคะ จิ ฮัน เนียะ ฮะ ระ มิต ตะ
   เซะ ได ยิน ยุ    เซะ ได เมียว ยุ
   เซะ มุ โย ยุ     เซะ มุ โต โต ยุ
โน โยะ อิสไซ คุ    ชิน ยิทสุ ฟุ โคะ โคะ
ถอดความ เพราะฉะนั้นจึงควรรู้ไว้ว่า “ปัญญาบารมี” เป็นมนตราอัน ยิ่งใหญ่ เป็นมนตราแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ เป็นมนตราสูงสุด และเป็นมนตรา ที่ไร้เทียมทาน ซึ่งสามารถช่วยให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มนตรานี้เป็นของจริงแท้ มิใช่ของหลอกลวง


ขยายความคัมภีร์เล่มเล็กเล่มนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงพระสูตรธรรมดาเท่านั้นแต่ยังเป็นมนตรา (Mantra) ที่มีความขลังและมีพลังอันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วยตรงนี้แหละที่ก็เป็นความลึกล้ำอีกประการหนึ่งของคัมภีร์เล็กๆเล่มนี้


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าสิ่งที่เรียกกันว่า “มนตราและ “ธารณี (Dharani) หรือคาถาอาคมนั้นพลังของมันมิได้อยู่ที่ความหมายของมันแต่อยู่ที่ “เสียง” ของมันต่างหากถ้ากล่าวตามหลักวิทยาศาสตร์วิชา Cymatics อันเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่คลื่นเสียงหรือ “คลื่น” (Vibration) มีต่อมวลสารวัตถุก็จะค้นพบว่า “คลื่น” สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดระเบียบของมวลสารวัตถุได้


การทดลองที่พิสูจน์ถึงความจริงในข้อนี้คือการเอาแผ่นโลหะบางๆมาติดบนไวโอลินแล้วโรยทรายบนแผ่นโลหะบางๆนั้นเมื่อทำการดีดสายไวโอลินทรายที่อยู่บนแผ่นโลหะก็จะเรียงตัวใหม่เป็นรูปลักษณ์ต่างๆนานาตามขนาดความสั่นของคลื่นเสียงที่ดีดไป


ถ้าประยุกต์หลักวิชาอันนี้มาใช้กับการฝึกมนตราก็จะอธิบายได้ว่าการฝึกท่องมนตราบทใดบทหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้เกิดความสั่นไปยังตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งภายในสมองอันเป็นที่ตั้งของจักรอาชญะกับจักรสหัสรารก็น่าที่จะสามารถปลุกจักรทั้ง 2 นี้ให้ทำงานและเกิดพลังอำนาจพิเศษเหนือคนธรรมดาได้


(8)    เซ็ทสุฮันเนียะฮะระมิตตะจุโชคุเซ็ทสุชุวะสุ
   เกียะ เท เกียะ เท ฮะ ระ เกียะ เท
   ฮะ ระ โซ เกียะเท        โบ ยิ โสะ วะ คะ
   ฮัน เนียะ ฮะ ระ มิต ตะ ชิน เกียว
ถอดความ ขอถ่ายทอดมนตราแห่ง “ปัญญาบารมี” ไว้ที่นี้ดังนี้
“กะเต กะเต พารากะเต พาราสังกะเต โพธิสวาหะ”
Gate Gate Paragate Parasamgate Bodhi Svaha”
จบคัมภีร์ “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร”


ขยายความมนตราท้ายคัมภีร์เล่มนี้เป็นภาษาสันสกฤตที่มีใจความดังต่อไปนี้

ผู้ไปแล้ว (Gate) ผู้ไปแล้ว (Gate)
ผู้ไปฝั่งนั้นแล้ว (Paragate)
ผู้ไปฝั่งนั้นหมดแล้ว (Parasamgate)
ผู้ตรัสรู้แล้ว (Bodhi)
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด (Svaha)”


ผู้แสวงหาความหลุดพ้นทั้งหลายพวกท่านจะต้องรู้ถึงสัจธรรมแห่งปัญญาบารมีนี้ให้จงได้เพราะสัจธรรมอันนี้เป็นยอดของยอดแห่งปัญญาที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงพลังของมันมีมากเกินกว่าหยั่งคาดมันเป็นสัจธรรมท่ามกลางสัจธรรมทั้งหลายและเพราะมันเป็นสัจธรรมมันจึงไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอยู่ในโลกใดในยุคใด


ผู้แสวงธรรมทั้งหลายเอ๋ยจงจำคำพูดประโยคต่อไปนี้ให้ดีและจงท่องให้ขึ้นใจว่า


ข้าจะนำสัจธรรมแห่ง สุญญตาติดตัวข้าไปตลอดการเดินบน ทางของข้าข้าจะมุ่งเดินต่อไปเดินต่อไปภายในพระเมตตาของพระโพธิสัตว์กวนอิม (พระอวโลกิเตศวร) จนกว่าข้าจะไปถึงฝั่งหากนั้นในวันใดวันหนึ่ง
 




 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้