วิถีที่เดินมา

วิถีที่เดินมา




"วิถีที่เดินมา"



บรรยายธรรมครั้งที่ 1 (19 ธันวาคม 2544)

 


1. ถ้ากล่าวตามโมเดล "การวิวัฒนาการทางจิต" ของเคน วิลเบอร์ ผู้เป็น "ไอน์สไตน์ทางจิต" คนเราอายุ 12-18 ปี โดยโครงสร้างของจิต เฉลี่ยของมนุษย์ทั่วไปจะเริ่มคิดแบบเชิงนามธรรมได้ พออายุประมาณ 21-22 ปี คือเริ่มเรียนจบระดับมหาวิทยาลัย จะเริ่มใช้ชีวิตแบบมีเหตุผลขั้นสูง (higher mental)ได้ ดังนั้นคนที่ปฏิบัติธรรมทางจิตจะก้าวหน้าทางจิตได้จึงควรต้องพัฒนา higher mental ก่อน พัฒนาทางด้านจิตใจและการใช้ตรรกะเหตุผลก่อน ไม่อย่างนั้นแล้วจะถูกความงมงายครอบงำยาวนานเลย ครั้นพออายุ 28 ปี จะจบปริญญาเอกหาก เรียนต่อเนื่องโดยตลอด คนผู้นั้นจะไม่เพียงสามารถเข้าใจความคิดคนอื่นได้เท่านั้นเขายังสามารถผสมผสานความคิดได้ คิดในเชิง paradigmได้ คือสามารถศึกษาแนวคิดต่างๆได้ ไม่ใช่เชื่อเลยคือเขาจะสามารถศึกษาอย่างเป็นระบบได้ และใช้อันนี้มาสะท้อน (retrospective) มาวิปัสสนามาเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิต เรียกได้ว่าคนผู้นั้นสามารถพัฒนาจิตเข้าสู่ภาวะ vision-logic หรือมาสู่ภาวะที่เรียกว่า centaur ที่ " จิตรวมกาย " เขาจะรู้สึกว่าชีวิตเป็นของตัวเองทั้งใจและกายคุณเป็นนายมัน ผมไม่รู้จะบอกคุณอย่างไร การหัดมวยจีนมันเป็นอุบายอย่างหนึ่งเพื่อเข้าถึงภาวะ centaur นี้ เขาจะรู้สึกว่าชีวิตของเขา คือกายเขาและ ใจเขา




 

แต่ถ้าเป็นเด็กเกิดมาครั้งแรกพอบอกว่าชีวิตของตัวเขาคือ ปากเขา ปากกินนมแม่ ผมเปรียบเทียบให้ฟังแต่ละคนเวลาพูดคำว่าตัวเขาตัวตนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน พออยู่ในภาวะแบบนี้หากพัฒนาจิตต่อไปประมาณอายุ 35 ปี ถึงจะเข้าสู่สภาวะที่เรียก transpersonal ได้ transpersonal ขั้นแรกคือ psychic (ผู้บำเพ็ญ) บางคนบอกว่าจะเกิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ paranormal แต่จริงๆแล้วมันเป็นแบบหยาบๆ คนจะเริ่มสัมผัสตัวเอง รู้สึกว่าเริ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ขั้นต่อมาเขาใจสัมผัสได้ในสิ่งที่เป็นทิพย์ ที่เรียกว่า subtle (โลกทิพย์) แต่ทิพย์เป็นภาวะการณ์ของการมีรูปต้องเข้าใจนะ คือคนบางคนชีวิตหนึ่งอาจจะเกิดมาแต่ละคนมีบุญบารมีต่างกัน คนบางคนอาจจะเกิดและมีชีวิตจนตายไปอยู่ในระดับก่อนถึงอันนี้ คุณสมบัติโดยเฉลี่ยของผู้คนในทางตะวันตกแล้ว หากเขาพัฒนาฝึกฝนตัวเองอย่างหนักเขาจะไล่มาถึงประมาณขนาดนี้ได้ ปัญหาคือตั้งแต่ อายุ35 ปีเป็นต้นไปเขาจะสามารถวิวัฒนาจิตของตัวเองจาก psychic ไปเป็น subtle ไปเป็น causal ได้อย่างไร

causal เป็นระดับ higher soul
subtle เป็นระดับ lower soul

คนที่ฝึกฝนทางจิตแล้วมักบอกว่าตัวเองคือวิญญาณ เขาจะรู้สึกแบบนั้นจริงๆว่าตัวเองไม่ใช่กายนี้และตัวเองไม่ถูกครอบงำด้วยจิตสำนึกทางกายแล้ว เขาค่อนข้างเข้าถึง soul แล้ว แต่ถ้าตัวเองยังนับถือแบบนั่งสมาธิยังเห็นเทวดา นี่เป็นขั้น subtle แต่ถ้าเห็นเป็นแสงเรืองๆโดยที่ไม่ต้องมีรูปอะไรเป็นหนึ่งเดียวกับแสงนี่เป็นแบบ causal ที่ไร้รูป หลังจากขั้น causal แล้ว ยังมีขั้นสุดท้ายอีกขั้นหนึ่งที่เขาเรียก อทวิภาวะ (non-dual) จะเป็นขั้นของ spirit spiritในความหมายเมื่อคุณตระหนักรู้ถึง spiritแล้ว ตัวคุณก็เป็น spirit ด้วยก็บรรลุนะ spiritนี่ในความหมายหนึ่งจะหมายถึงพระเจ้าก็ได้ เต๋าก็ได้ พุทธะก็ได้ อะไรก็ได้ที่เรียกว่าสูงสุด หากคุณพัฒนาไปขั้นสูงสุดทางจิต โดยตระหนักว่าไม่มีขั้นไหนที่ spirit หรือพุทธะภาวะหรือความเป็นพระเจ้าไม่ดำรงอยู่ พอเข้าใจถึงขั้นนั้นแล้วเรียกว่าขั้นอทวิภาวะเป็นขั้นที่ว่าไม่ต้องแสวงหาธรรม ไม่ต้องเพ่งบำเพ็ญ ปฏิบัติธรรมเพราะไม่มีขั้นตอนไหนเลยที่เราห่างจาก spirit ซึ่งเขาเรียก always already present เพราะฉะนั้นในขั้นระดับนี้แหละจะเป็นแบบที่เรียกว่า


สูงสุดคืนสู่สามัญ ปราชญ์คุรุคือเป็นสายปัญญา วางได้แม้แต่รูป แต่ถ้าหากยังมีการแบ่งแยกว่าตัวเองว่าเป็น soul ที่กำลังแสวงหา ultimate คือหาพระเจ้า หรือพุทธะภาวะเป็นช่องว่างแบ่งอันนี้อยู่ ก็ยังอยู่อย่างมากแค่ขั้น causal


แล้วพอหยาบลงมาอีกขั้นหนึ่ง คือเป็นขั้นที่ว่าตัวเองนับถือบูชาเทพเจ้า ร้องขอ บางท่านอาจจะเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้า แต่ที่หยาบกว่านั้นจะเป็นแค่ระดับโลกทิพย์ ในโลกทิพย์นี่จิตมนุษย์จะสร้างสวรรค์ขึ้นมาหลังความตายมคือมันไม่หลุดพ้น ต่อให้เป็นขั้นพรหมก็ไม่หลุดพ้น แต่มันใกล้มากแล้ว ลงมาจากนี้หน่อยเป็นโยคีวิถีของผู้บำเพ็ญ ขั้นpsychic ขั้นรองลงมาเป็น centaur อันเป็นขั้นสูงสุดของปุถุชนที่เข้าถึงความพอใจสูงสุดของชีวิตในระดับโลกียะ ในแง่คุณ happy คุณมี positive thinking คุณเข้าใจว่าคุณสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ คุณสามารถจะเป็นที่อิจฉาตาร้อนของคนอื่นได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณตัดสินใจเดินบนมรรคแล้วไม่มากก็น้อยคุณจะอยู่ในขั้นโยคี โยคีคือผู้บำเพ็ญแล้วคุณต้องไต่ขั้นตอนนี้ขึ้นไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ช้าก็เร็วเท่านั้นเอง



2. พอเอาอันนี้แล้ว มาเทียบกับงานเขียนของตัวเองในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ผมคิดว่ามันไล่ไปตามนี้นะคือ ตอนแรกๆงานเขียนของผมเป็นงานทางเศรษฐศาสตร์ ต่อมาเริ่มมาเขียนในงานแบบ centaur คือ "มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า" มันเป็น centaur ที่จะเป็น psychic แล้วนะงานนี้ผมเขียนเมื่อปี 1990 ผ่านมา 11 ปีเต็มแล้ว หลังจากนั้นไล่มาพอเป็น "ความรักกับจอมยุทธ" ถ้าอ่านแล้วจะเห็นความจำเป็นในการปฏิบัติฝึกทางจิตเพื่อให้ได้ฌาน ผมสนใจการฝึกแบบเต๋านะเพราะ เต๋าเป็นการฝึกแบบ methodical หมายความว่าใช้วิธีเพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของความเป็นเต๋า วิธีนี้ส่วนใหญ่แล้วใช้วิธีหัดมวยไท้เก้ก ซึ่งเป็นวิธีฝึกเต๋าแบบติดดินที่สุดไม่ใช่แค่อ่านหนังสือเต๋าเต๋อจิงเฉยๆ ตอนหลังเป็นงานแบบ "มูซาชิ" แต่จุดที่เราเข้าสู่สภาวะ psychic มากที่สุด ก็คือ งานเขียนชุด "มังกรจักรวาล" ในมังกรจักรวาลเราพูดถึงจิตหลายระดับ เหมือนกับว่าเราก็ผ่านการศึกษาทางนี้มา แต่เรายังไม่บัญญัติ แต่ว่าโดยความใฝ่ใจของตนเอง เราชอบคัมภีร์โยคะสูตรของปตัญชลี เราสนใจเรื่องจักระ เราสนใจเรื่องกุณฑลีนีโยคะ เราเขียนเรื่องเหล่านี้ชัดเจนครั้งแรกอยู่ใน "วิถีมังกร" อันเป็นจุดทำให้เราตั้งสำนักยุทธธรรม ศิษย์สำนักยุทธธรรมมาหลายทาง บางคนมาทางมวยจีน ทางด้านจิตเขาจะไม่สูงนักเพราะว่าเขาสนใจอยากเก่งมากกว่าอยากดี เขาอยากเข้าถึง centaur แต่ยังเข้าถึงไม่ได้ เด็กที่มาหาผมส่วนใหญ่ผมจะไล่ไปผมไม่ค่อยอยากจะรับเด็กเท่าไรเพราะเด็กยังไม่พร้อม รุ่นแรกที่ผมรับเวทิน เขาอายุ 27 ปี พอมารับกิตติศักดิ์เขาอายุ 23-24 ปีกำลังดี คือขั้นแบบว่า หัดปุ๊บจะได้ขั้นcentaurเลย ที่ผ่านมาผมไม่ค่อยอยากรับ เด็กๆเป็นศิษย์ เพราะเราอยากจะสอนคนตั้งแต่ขั้น centaur ขึ้นไป


ต่อไปเงื่อนไขของสำนักวัชรเซนก็จะเป็นแบบนี้เช่นกันไม่อย่างนั้นต้องปั้นอีกนานเลย คือต้องปั้นแบบ home school โดยปั้นจนกระทั่งได้ขั้น centaur ก่อนเพราะเด็กวัยรุ่นนั้นขั้น centaur ก็ยังไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาชีวิตจะไม่ได้ขั้น centaur ถ้าได้ขั้น centaur เขาจะเป็นนักกีฬาเขาจะควบคุมตัวเองได้ มีภูมิชีวิตเพราะขั้น centaur มีภูมิชีวิตแล้วนะอย่างที่บัญญัติไว้ตามนี้ จากนั้นผมเขียนหนังสือ "คัมภีร์มังกรวัชระ" ซึ่งเป็นภาคต่อของความรักกับจอมยุทธ์ อันนี้เหมือนจะบอกเป็นนัยๆ เพราะปกติตนเองจะเป็นอะไรต่อไปมักจะเขียนหนังสือนำก่อนเสมอ เพราะหนังสือก็เป็นเหมือนกับลาง เหมือนกับญาณพิเศษที่บอกว่าเราจะเป็นแบบนี้นะ แล้วเราค่อยฟอร์มสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเหมือนเป็นแม่พิมพ์ งานชุดมังกรจักรวาลส่วนใหญ่เป็นแบบนี้นะ แล้วไล่มาทุกระดับ แต่ระดับที่มังกรจักรวาลใส่ใจมากที่สุดที่คิดว่ามันมี impact กับตัวเองมากที่สุดคือ


1. เจอไสบาบา
2. เจอวิชาฝ่าหลุนกง
3. ไปหาครู ราชาโยคะ

สามเหตุการณ์นี้ มีimpact จริงๆ ต่อวิวัฒนาการจิตของตัวเองในตอนนี้ผมจะ comment ให้ดู


3. ราชาโยคะเป็นขั้นที่สูงมากผมยืนยันได้ คือเข้าถึงระดับ causal ได้ เพราะว่าเขาจะน้อมจิตไปที่จุดแห่งแสงตรงหน้าผากตลอดเวลา ตอนที่ไปเราก็ประทับใจ แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ในความหมายนี้อธิบายแบบนี้ เขาบอกว่าบาบาหรือพระศิวะ คือจุดแห่งแสงดำรงอยู่ในพรหมโลก แต่ถ้าอยู่ในพรหมโลกก็แสดงว่าบาบาไม่ใช่ ultimate คือถ้าหากบอกว่าตัวเองอยู่ที่พรหมโลกก็แสดงว่าต้องมีที่ไม่ใช่พรหมโลก แล้วจะเป็น ultimate ได้อย่างไร เพราะถ้าเป็นultimate ต้องดำรงอยู่ในทุกสิ่ง ไม่มีที่ไหนที่อยู่นอกเหนือจาก ultimateเข้าใจใช่ไหม เพราะฉะนั้นการบอกว่าบาบาที่เป็นพระศิวะเป็นพระเจ้าใช่ไหม ผมก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะพระเจ้าต้อง omnipresent คือดำรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดำรงอยู่เหนือกาลเวลา พอบอกว่าอยู่พรหมโลกมันก็มีที่ๆไม่ใช่พรหมโลกอยากให้เข้าใจประเด็นนี้นะ นั่นคือตอนนั้นเรารู้ว่าราชาโยคะเขาเป็นแค่พรหมแต่เราต้องการไปไกลกว่านี้ แต่ในอีกความหมายหนึ่งคือพวกเขามีจิตที่ละเอียดและบริสุทธิ์มาก ไปดูข้อบัญญัติของเขาเหมาะสำหรับผู้หญิง เพราะว่าผู้หญิงเป็นใหญ่ที่นั่น ข้อบังคับเขายิ่งกว่าพระเสียอีกโอกาสอื้อฉาวแบบพระไทยไม่มีดอก เพราะว่าเขาทุ่มเทให้พระเจ้าเป็นภักดีโยคะ และมีการใช้ชีวิตร่วมกันแบบรวมหมู่ด้วยนะ พวกฝรั่งชอบมาก แต่บทบาทในเมืองไทยมีน้อยเพราะว่าทิฐิมานะฝ่ายพุทธเรารุนแรงเกินไป ทิฐิมานะแห่งอัตตาที่กลายเป็นอหังการ เป็นdouble standard คือมองว่าพุทธเหนือกว่าสายพระเจ้า ทำให้โอกาสสัมผัสสิ่งที่ดีงามหายไปแยะเลย


สหจะโยคะกลุ่มนี้ก็ดี กลุ่มที่ผมชอบจะไม่พาณิชย์เลย กลุ่มนี้ก็มีระดับสูงมาก สหจะโยคะก็ดีแต่ติดกับองค์แม่เกินไป โดยวิชาใช้วิธีเพ่งรูปองค์แม่ ถ้าหากว่าวิชาหนึ่งยังขึ้นอยู่กับการดำรงอยู่ของตัวคุรุองค์นั้น มันpermanent ไหม มันย่อมไม่permanent จริงไหม แล้วมันมีคุณค่าควรแก่การทุ่มเทให้ไหม อยากให้ get ประเด็นนี้นะ วิชานี้จึงยังมีรูป หากมีรูปพ้นความเป็นคู่ไหม ย่อมไม่พ้นเพราะมีภาวะของนิรรูปอยู่ นึกภาพออกไหม วิชาของท่านศรีมาตาจี ถ้าเทียบตามหลักแล้วจึงต่ำกว่าราชาโยคะ พาเราไปได้ถึงขั้น subtle การเปิดจักรแต่ละอันจะบอกชื่อมนต์เป็นชื่อของเทพเจ้า แต่คนชอบก็มีผมมีศิษย์หญิงคนหนึ่ง ตอนนี้อยู่นครสวรรค์ เธอเจอปุ๊บชอบวิชานี้เลย


ต่อมาตัวเองได้มีโอกาสเรียนฝ่าหลุนกงอย่างที่ทราบถ้าไปอ่านใน "คุรุมังกร" พวกเราขึ้นไปหัดที่ภูผาฟ้าน้ำ นั่นเป็นครั้งแรกที่จักรที่ฝ่ามือหมุน เราก็เลยสนใจวิชานี้ พอหัดมาเรารู้เลยว่านี่เป็นลมปราณขั้นสูงในแง่ของการบัญญัติวิชาฝึก แต่คำอธิบายของหลีหงจื้อคิดว่าในที่สุดแล้วฝ่าหลุนกงติดอยู่ในขั้นไหน ในสิ่งที่เขาเน้นสูงสุดก็คือขั้น subtle ยังเป็นขั้นที่มีรูป แต่ว่าทั่วไปคนที่หัดในสวนลุมอยู่ในขั้น psychic เป็นผู้บำเพ็ญ ผมแนะนำวิชานี้มากถ้าใครโทรมาหาผม ผมมักแนะนำวิชานี้เสมอ ข้อดีของระบบฝ่าหลุนกงคือ หัดทุกวัน หลายคนไม่รู้จะมีวินัยหัดแบบนี้หรือเปล่า ถ้าใครอยากจะเปลี่ยนชีวิตตนเองต้องหัดทุกวันก่อนผมยืนยัน หัดอาทิตย์ละครั้งมันไม่พอ ไม่พอในความหมายที่ว่าวันหนึ่งคุณไปเรียนหนังสือ เรียนอาทิตย์ละวันได้ไหมครับ ได้อย่างมากเอาประกาศนียบัตร หรือแบบโรงเรียนผู้ใหญ่ ถ้าเรียนแบบเอาปริญญา เรียนไม่ได้ดอก กระบวนทางจิตเหมือนกันก็เหมือนกับทำงานบ้านแน่ะ กินข้าวอาทิตย์ละครั้งพอไหม มันต้องกินทุกวัน ฉันใดก็ฉันนั้น เหมือนกับทางจิตเหมือนกันมันต้องหล่อเลี้ยงทุกวัน แล้วเรื่องปราณยิ่งชัดเจน 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมงหากไม่ฝึกต่อมันก็จะหายไปการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มติดขัด ฝ่าหลุนกงเขาชัดเจนในการ design system มาหัดทุกวัน หัดไปเรื่อยๆ เน้นที่ปรับคุณภาพทางจิต ชำระจิตให้สะอาด เป็นกระบวนการที่ดีมาก มี balance ระหว่างนั่งกับยืน จิ้งกงกับต้งกง นิ่งกับเคลื่อนไหว คือในแง่นี้ผมโอเคเลย เพียงแต่ว่าเป็นสายปัญญาหรือเปล่า ผมตั้งคำถาม


4. จำไว้นะผมบอกแล้วนะถ้าคนฝึกวิชาหรือคนฝึกธรรมมันช้า ช้าอย่างที่ตำนานในพระไตรปิฎกเขียนเลยไม่รู้กี่กัป ต้องให้วิชาฝึกคนหรือธรรมะฝึกคน ธรรมฝึกคนคืออะไร? ลิ้นแตะเพดานฟันบนตลอดยกเว้นเวลาพูด ฝึกได้หรือเปล่า เปิดกลไกอันนี้เรียกว่าเปิดสวิทซ์ด้านบน อันที่สองเปิดสวิทซ์ด้านล่างเก็บก้นตลอดไปไม่ว่ายืนหรือทุกอริยบท อันที่สามเปิดกลไกตันเถียนบน ราชาโยคะเน้นอันนี้คือนึกถึงบาบาตลอดเป็นการเปิดกลไกอันนี้ คือในที่สุดคนที่ก้าวหน้าทางจิตจะต้องเปิดกลไกวิชาฝึกคนหรือธรรมฝึกคนทั้งสิ้น ไม่อย่างนั้นหัดไปถึงขั้นหนึ่งก็จะติดขัด บางทีก็เบื่อพอเจออุปสรรคมากก็จะย่อหย่อน ท้อแท้คือ ยังไม่ใช่คนแท้ เข้าใจไหม ถ้าไม่มีธรรมะฝึกคนจะไม่ใช่คนแท้จะเป็นกึ่งสุกกึ่งดิบเพียงแต่ใฝ่ดีเท่านั้นเอง จากนั้นผมก็ได้เจอท่านไส บาบา ท่าน ไส บาบาเป็นคุรุคนเดียวในบรรดาที่ผมเจอ ที่ผมเชื่อว่าเป็นอวตารจริง คือเชื่อว่าเป็นแบบ spirit ที่ลงมาในร่างมนุษย์เพื่อให้คนที่ได้สัมผัส มีความก้าวหน้าอย่างแท้จริงเพราะท่านไม่ได้ฝึกฝนตนเองเลย ก็อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วว่าคนที่ยังฝึกอยู่ยังเป็นมนุษย์อยู่ คือต้องมาฝึกเพื่อมาเป็นคุรุโดยเป็นมนุษย์อยู่ แต่ถ้าเป็นอวตารในความหมายมหาอวตาร พระเจ้าจะลงมาเล่นบทบาทเอง ไม่ใช่อยู่แค่หลังฉาก ลงมาเล่นเองเป็นมนุษย์เอง มาเกิดเป็นพระกฤษณะ เป็นพระพุทธเจ้า พระเยซู อันนี้ก็เป็นแบบนี้แหละอันนี้ค่อนข้างมี impact มากต่อตัวเอง


ในยุคเก่าก่อนที่คนเราพัฒนาทางจิตไปได้แค่ขั้น subtle ผมคงเคยผูกพันกับเรื่องเทพเจ้า พระนารายณ์ ต้องเข้าใจแบบนี้นะ อยู่ในมนุษย์ยุคหินระดับทางจิตสูงสุดที่มนุษย์ไปได้นั้นแค่ขั้น psychic เรียกว่าเป็นชามาน หมอผี แต่พอพัฒนามาถึงยุคเพาะปลูก การพัฒนาทางจิตระดับสูงจะไปได้ถึงระดับ subtle ประมาณสัก 5000 ปี ถึง 7000 ปีมาแล้ว ดูการสร้างพีระมิดสิ มีเทพเจ้าเป็นตำนานมากมาย เป็นอะไรมา พอหลังจาก 5000 ปีมานี้มนุษย์ไปได้ถึง non-dual ฉะนั้นอย่าแปลกใจนะอยู่ดีๆคนที่ก้าวหน้าทางจิตหรือก้าวหน้าที่สุดของมนุษย์ชาติในสมัยยุคหินกลับเป็นชามาน เป็นหมอผี เป็นโยคี เป็นฤาษี แต่ประมาณ 5000 ปี ก่อนนับตั้งแต่ภควัทคีตาออกมา อุปนิษัทออกมา มนุษย์ไปได้ถึง non-dual ในแง่โครงสร้างทางจิตที่เผยตัวเองออกมา แต่ระดับทางจิตเฉลี่ยของมนุษย์ตอนนี้คือระดับ ego ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงโดยคนที่อ่านคัมภีร์พุทธศาสนา แล้วคิดว่า ego เป็นสิ่งชั่วร้าย พวกเราจำไว้นะ ego ไม่ใช่สิ่งชั่วร้าย ego คือความก้าวหน้าสูงสุดที่มนุษย์ชาติมาถึงขั้นนี้ได้ ego คือจุดกึ่งกลางระหว่างสัตว์กับเทพเจ้า


ถ้ามนุษย์วิ่งมาราธอน และหากการวิ่งมาราธอนคือวิวัฒนาการทางจิต มนุษย์มาได้ครึ่งทางแล้วนะ จากการที่มนุษย์วิวัฒนาการจากสัตว์เลื้อยคลานมาเป็นมนุษย์ และมนุษย์มาเป็นเทพเจ้า อันไหนยาวอันไหนสั้นกว่ากัน ระยะเวลาในการวิวัฒนาการ ความลำบากในการวิวัฒนาการ จากสัตว์หรือลิงกลายเป็นมนุษย์ กับมนุษย์กลายเป็นเทพเจ้า มนุษย์เป็นเทพเจ้าเข้าถึงเป็นแบบพระเยซู อันไหนยาวนานกว่ากัน ผมว่าจากสัตว์เลื้อยคลานมาเป็นมนุษย์ยาวนานกว่าแยะ เป็นล้านๆปี เป็นแสนๆปี สมองมนุษย์เกิดขึ้นมาเมื่อ 6 ล้านปีมันไม่นานดอก ถ้าพระพุทธเจ้าบอกยุคพระศรีอานจะมาอีก 5000 ปีข้างหน้ามันก็ไม่นานดอก คนชอบไปบอกให้ย่อหย่อนต่อการปฏิบัติกัน ข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดในหมู่คนไทยในการเข้าใจธรรมะ คือดันไปเข้าใจผิดคิดว่า ego เป็นสิ่งเลวร้าย ไม่ใช่ ปุถุชนจะเข้าถึงสุดยอดของปุถุชนได้จะต้องมี ego แล้วต้องเป็น healty egoด้วย เพียงทุกขั้นตอนของการพัฒนาทางจิตมีภาวะของการถดถอย มีภาวะการป่วยที่เรียกว่า Pathology egoที่น่ากลัวที่มีปัญหาคือ ego ที่มันป่วยเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่ตัว ego โดยตรงเพราะถ้าไม่มี ego มนุษย์สร้างอารยธรรมขนาดนี้ไม่ได้ดอก อัตตาตัวตนขนาดนี้ ถ้าใช้ในทางสิ่งดีงาม มันเป็นสิทธิเสรีภาพ มาเพิ่มบทบาทคุณค่าสตรี ช่วยเหลือแรงงานเด็ก ego เป็นตัวขัดขวางธรรมไหม ด้านหนึ่งใช่ เพราะ ego มันตื่นแบบไม่สมบูรณ์


ธรรมชาติ เป็น perfect unconscious
มนุษย์เป็น imperfect consciousness
พระเจ้าเป็น perfect consciousness


มนุษย์ถ้าเป็น ego คือกึ่งหลับ กึ่งตื่น ในความหมายหนึ่งหรือตื่นก็ตื่นแบบไม่สมบูรณ์แต่ไม่เลวร้ายดอก แต่ถ้าเลวร้ายแสดงว่ายุคก่อนหน้านี้ เป็นยุคของ eden ยุคของสวรรค์บนดินเป็นสิ่งดีงามซึ่งอันนี้เป็นข้อผิดพลาดร้ายแรงของกลุ่มโลกทัศน์แบบหนึ่งที่บอกว่าสังคมไทยยุคก่อนหน้าดีกว่ายุคสมัยนี้ ซึ่งพูดราวกับว่าเด็กสมัยนี้แย่ลงเสื่อมลง แย่ลง ซึ่งไม่จริงดอก เด็กรุ่นหลังๆนี่ ถ้าหลุดได้นะพวกเขาจะเติบโตกว่ารุ่นผู้ใหญ่ที่ถูกความเชื่อแบบเก่าครอบงำ คุณต้องเข้าใจประเด็นนี้ ถ้าเข้าใจแบบนี้แล้วจะเห็นว่ามนุษย์มันไม่ได้เลวร้ายลงดอก แต่ว่ามันป่วย และขบวนการวิวัฒนาการของ spirit มันไม่ได้ถอยหลังในความหมายนี้


5. ถ้าหากคุณมองโลกด้วยสายตาแบบ " วิหารที่ว่างเปล่า " ของพี่เสกเอาหน่วยวัดเป็นหมื่นๆ เป็นพันปีมาเข้าใจวิวัฒนาการทางจิตหรือพัฒนาการทางจิตยาวได้ขนาดนี้ ถ้าคุณเข้าใจแบบนี้ได้จะเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือการเดินทางของพระเจ้า หรือของ spirit ในการเปิดเผยตัวตนเพราะว่าพระเจ้าไม่รู้จักตนเอง เหมือนที่ผมเขียนไว้ใน "เทพพจนา" ทำไมไม่รู้จักตนเองเพราะว่าท่านเป็นทุกสิ่ง คนที่เป็นทุกสิ่งจะรู้จักตัวเองได้อย่างไร ไม่ได้ดอก อยากรู้จักตนเองต้องทอนย่อยลงมาให้มันเล็กกว่านั้น เพื่อให้มีบางส่วนที่ตัวเองไม่รู้เกิดขึ้นมาได้ ขบวนการของผู้ปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นเพราะอันนี้เอง คือการที่ spirit หรือพระเจ้าอยากรู้จักตนเอง หรือพุทธะอยากรู้จักความเป็นพุทธะของตัวเองไม่มีเหตุผลใดๆอื่นนอกไปจากนี้ ไม่อย่างนั้นคุณจะอธิบายไม่ได้ ทำไมเมล็ดพันธ์พืชเมล็ดหนึ่ง เมื่อปลูกลงไปในดินถึงงอกงามเป็นต้นไม้ต้นใหม่ได้ ทำไมเด็กคนหนึ่งออกมามันถึงมีแรงผลักดันให้เกิดวิวัฒนาการ ทำไมมนุษย์ทุกคนจึงโหยหาความดีงาม โหยหาสิ่งสูงสุด แสดงออกถึงพลังแห่งวิวัฒนาการอันนี้ และพลังอันนี้จะไม่ยอมสิ้นสุด มันจะผลักดันจนกระทั่งสิ้นสุดประวัติศาสตร์แห่งการวิวัฒนาการของจักรวาลเลยทีเดียว คนที่ฝึกฝนทางจิตแล้วไม่เข้าใจเรื่องนี้ในที่สุดจะถึงทางตัน ที่ว่าตันในความหมายที่ว่าตัวเขาจะตกอยู่ในกับดักของกาลเวลา


ถ้ายังเข้าใจว่าเวลาเหมือนกับลูกธนูที่ถูกยิงออกไปรอเวลาที่จะตกลง ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้นยังไม่พ้นกับดักของเวลา ยังไม่เข้าถึงภาวะที่ไร้เวลา ยังต้องหนีเวลาอยู่เลย หลวงปู่เองก็ยังบอกว่าเวลาเหมือนมือมาร แต่ถ้าหากเราเข้าใจแบบ non - dual จะบอกว่าไม่ใช่ วิธีที่เข้าถึงจริงคือเข้าถึงภาวะไร้เวลา ความเป็นอมตะที่แท้จริงคือภาวะไร้เวลาไม่ใช่เพราะว่าอยู่ได้อย่างเป็นนิรันดร์ เพราะว่าถ้าอยู่ได้เป็นนิรันดร์ต้องมีจุดเริ่มต้น หากยังมีจุดเริ่มต้นโอกาสที่จะถาวรจริงมันไม่มี คนที่ให้วิญญาณพุทธะแก่ผมคือหลวงปู่พุทธอิสระ ทำไมเรากราบท่านละ ท่านเป็นครูเราเพราะท่านให้วิญญาณพุทธะไม่ใช่สอนธรรมะเฉยๆ ธรรมะผมเรียนมาจากท่านพุทธทาส ผมอ่านตั้งแยะ ทั้งเซนและอื่นๆ พออ่านอันนั้นเราเข้าถึงขั้น centaur ได้ แต่พอในขั้นหนึ่งเรารู้ว่าพุทธะเป็นเรื่องของการถ่ายทอดโดยตรง (direct transmission) เราต้องทำลายอวิชาทั้งหมดที่ว่า ธรรมะอ่านได้จากหนังสือ แต่ไม่ใช่หรอก


ในหนังสือ " วัชรเซน "เขียนไว้ชัดเจนธรรมะคือการถ่ายทอดโดยตรงจากพุทธะ คำว่าสดับที่ใช้ในความหมายนี้ ไม่ใช่การฟังธรรมจากผู้ที่ไม่ใช่พุทธะ สดับคือการฟังธรรมจากพุทธะ แต่ไม่ใช่พระนะต้องฟังผมดีๆนะ คุณฟังพระเทศน์อาจไม่ใช่สดับ สดับผมใช้ในความหมายนี้คือฟังธรรมจากพุทธะหรือคุรุ หรือคนที่จิตสูงระดับคุรุเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นการถ่ายทอดโดยตรงพอเจออันนั้นแล้ว จากหลวงปู่ผมก็ยังแสวงหาต่อไป มาเจอสนใจเรื่องธาตุ วิชาฤาษี ผมชื่นชมฤาษีมากเพราะฤาษีเป็นคนที่รักในการฝึกฝนทางจิต และเป็นผู้มีพลังจิต ฝึกอะไรมา รู้ว่าธรรมคืออะไร พอหลังจากนั้นมาส่วนที่คิดว่าตัวเองภูมิใจในชีวิตนะคือการไปร่วมนั่งเพ่งพีระมิด เหมือนกับว่านี่เป็นครั้งหนึ่งที่เราได้เข้ามาช่วยโลกโดยตรง


6. มรรคมีองค์ 8 ของผม หรือองค์ 8 ของผม เป็นแบบนี้คือ กาย ปราณ ใจ สติ สมาธิ ฌาน ญาณ และ ซาโตริ การฝึก กาย ปราณ ใจ ยังเป็นโลกียะอยู่ ต้องฝึกสติ สมาธิต่อ ในสายที่ตัวเองบัญญัตินั้นต้องฝึกสติก่อน หลวงปู่พุทธอิสระท่านก็ยืนยัน ถ้าเป็นสายพุทธต้องฝึกสติก่อนโดยเฉพาะ ฝึกสติจับโครงกระดูก ซึ่งต่อไปพออยู่ในสำนักวัชรเซนก็ต้องหัดอันนี้ พอจับโครงกระดูกได้ก็ต้องโยงเข้ากับวิชาลมปราณให้กลายเป็นวิชาลมปราณล้างไขกระดูก กายจิตมาจับที่โครงกระดูกรวมกับปราณ เมื่อสติมาจะได้สมาธิ สมาธิที่ได้มาจากสติเป็นสมาธิพุทธ เพราะว่าการเอาสมาธิโดยไม่เอาสติก่อนจะกลายเป็นสมถะ จะหยุดอยู่ตรงนั้น พอได้สมาธิต้องได้ฌาน แล้วก็ญาณ ปัญหาคือตัวเชื่อมโยงสติกับสมาธิถ้าไม่เข้าใจอันนี้ระบบการฝึกทางจิตมันล่มเลย ไปผิดทาง พอสติไม่มีแล้วไปหัดสมาธิก่อนเกิดอะไรขึ้น เกิดสมาธิดิ้น สมาธิเคลื่อนไหว ร้องไห้ หัวเราะ เจ้าเข้า พอออกมาคิดว่าตัวเองมีองค์ การ สะกดจิตก็อยู่ในนี้ ถ้าหากไม่มีสติอยู่ คุณสะกดจิตไปครอบงำเขา เป็นไสยศาสตร์สายดำเข้าอันนี้ ต้องได้สติก่อน เพื่อจะได้ผ่านอันนี้สู่สายขาว พอได้ฌานมา ต่อไปก็คือคือญาณ พอผ่านมา 7 ขั้นแล้ว ปลายทางที่ผมเรียกว่า ซาโตริหรือ การตระหนักรู้อันยิ่ง อันนี้มันเป็นแบบ non - dual นึกภาพออกไหม


causal ก็คือการได้ญาณ
subtle การได้ฌาน
psychic การได้สมาธิ นึกภาพออกไหม


จากสติไล่ลงมาเรียกว่าระดับ centaur พอจากสติอันนี้ พอผ่านสมาธิ ผ่านฌาน ผ่านญาณปั๊บมันจะกลาย
เป็นมหาสติ และอันนี้เป็นสติของพุทธะ สติที่คนธรรมดาหัดเป็นคือสติแบบปุถุชน ในระดับ centaur เห็นภาพความต่อเนื่องไหมครับว่าขบวนการจริงๆในการหัดแบบนี้ ถ้าหัดแบบนี้ปั๊บมันไม่มีแบ่งแยกพุทธ พระเจ้าแล้ว มันเป็นสายเดียวกันหมดสุดท้ายต้องเป็นแบบนั้น ปัญหาคือระบบใครสมบูรณ์กว่ากันเท่านั้น คิดว่าการฝึกตัวเองพัฒนามาตามขั้นนี้นะ ที่จริงการพัฒนาทางจิตแล้วจะเป็นแบบนั้น นี่คือส่วนที่ผมไปเรียนรู้ หยั่งได้


7. ทำไมถึงเป็นวัชรเซน ในความหมายที่ว่าหนึ่งพอเทียบจากมุมมองของ เคน วิลเบอร์ ที่สืบค้นมาคนที่ได้เป็นอัจฉริยะทางจิต ไอสไตน์ทางจิตนะสืบค้นมาทั่วโลก เขาบอกว่าภาวะ non - dual มันสูงที่สุดแล้ว และสุดยอดในวิชานี้ สายพุทธคือเซน กับวัชรยาน แต่ตอนแรก เคน วิลเบอร์เขาฝึกเซนก่อน ภายหลังจึงเข้ามาเรียนวัชรยาน มีแค่สองอันเองนะ เพราะว่า เคน วิลเบอร์เขาจัดสายเถรวาทอยู่แค่ระดับ causal เองนะ
คือวิปัสสนายังต่ำกว่าเซน ในแง่หลักธรรมนะ พูดอย่างนี้อย่าไปโกรธ เคน วิลเบอร์ เขาจัดอย่างนั้นจริงๆไปดูหนังสือเขาได้ สายฮินดูสุดยอดคือเวทานตะ และอีกอันคือเต๋า เขาจะจัดแบบนี้ ที่เคน บิลเบอร์ เน้นมากที่สุดคือพุทธสายเซน กับวัชรยาน ฮินดูและเต๋า พออย่างนั้นแล้วในแง่ผมจะ design หลักการปฏิบัติของสำนักวัชรเซนจึงถือหลักดังนี้


การ design ควรจะสูงลงมาต่ำ อุปมาดังผมตอกเสาเข็ม หากตอกเสาเข็มตื้นๆผมสร้างได้แค่ทาวเฮ้าส์ ถ้าเราจะไปสูงที่สุดเราต้องตอกลงไปลึกที่สุด เข้าใจประเด็นใช่ไหม ถ้าจะบัญญัติวิชามาเพื่ออันนั้นจึงควรจะเริ่มจากวิชาที่สูงที่สุดก่อนจะไปได้ไม่ได้มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ควรจะบัญญัติไว้ในแง่นั้น และการหัดในแง่นั้นเราต้องเคลียร์ทุกเรื่องคือ ตาม 8 ขั้นที่กล่าวไปแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือคำว่าการตระหนักรู้ หรือ มหาสติ เพราะว่ามีปัญหาหนึ่ง ถ้าหากการนั่งสมาธิยังต้องเข้าสมาธิมันเป็นสมาธิจริงหรือไม่ คำตอบคือไม่จริงเพราะว่าถ้ามีเข้าก็ต้องมีการถอน การเปลี่ยนสภาวะจิตจากสภาพจิตหนึ่งไปยังสภาวะจิตหนึ่งไม่ใช่ภาวะของ ultimate เพราะถ้าคุณถามว่าอะไรคือ ultimate of consciousness ภาวะสุดยอดของจิต


ถ้าอ่านพระไตรปิฎกแบบเถรวาท เขาจะบอกว่าต้องได้ฌานก่อน อรูปฌานแล้วจะเป็น สัญญานิโรท คือดับความจำได้ ข้อมูลของ สุตตันปิฎก มันมีอยู่แค่นี้ แต่ถ้าหากพูดเป็นแบบสายอื่น ต้องมาถกคำว่าภาวะของนิพพาน และ ภาวะของพุทธะว่าคืออะไร ซึ่งก็เป็นภาวะที่มันถาวร ถ้าหากเข้าใจอย่างนั้นแล้วก็จะรู้ว่าการเข้าใจว่าภาวะสุดยอดเป็นภาวะที่ต้องเข้าไปนั้นแสดงว่ามันไม่สุดยอดจริง เพราะว่ามันมีออกจากสภาวะนั้นอีกมันมีภาวะที่ไม่ใช่ แต่ ultimate ต้อง everything เพราะไม่มีอะไรที่อยู่นอกเหนือนั้น เพราะถ้าพูดแบบนี้แล้วก็จะบอกว่าไม่มีนิพพานให้ไปบรรลุ ไม่มีอะไรให้ attainment เพราะถ้าหากว่ามีอะไรที่ attainment ต้องมีภาวะที่ไม่ใช่ attainment แสดงว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริงการเข้าถึงมัน ย่อมไม่ใช่ ultimate จริง นี่คือ paradox ของภาวะ ultimate


paradox คือปฏิบทของสิ่งที่เรียก ultimate อันเป็นภาษาที่พูดไม่ได้ เราเข้าถึงได้แต่ความรู้เรื่อง ultimate แต่เข้าถึงตัว ultimate ไม่ได้ เพราะไม่มีภาวะไหนที่เราไม่ได้เป็นอยู่แล้ว ฟังรู้เรื่องไหม คือถ้าหากว่าเราต้องเข้า ultimateแล้ว มันไม่ใช่ ultimate จริง เพราะมันมีภาวะไม่ใช่ดำรงอยู่ แล้วมันไม่มีอะไรที่เราต้องไปบรรลุเพราะว่าถ้าเราต้องไปบรรลุ แสดงว่ามีภาวะที่เรายังไม่บรรลุ แต่ในความเป็นจริงคือ ultimate มันดำรงอยู่กับเราตลอดเวลาเพียงแต่เราไม่ตระหนักรู้เท่านั้นเอง สิ่งที่เราบรรลุได้คือฌาน หรือญาณ (knowledge) ญาณของ ultimate นั้นของสิ่งสุดยอดนั้น คุณมีความรู้ได้ คุณมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งสูงสุดได้ แต่คุณบรรลุสิ่งสูงสุดไม่ได้หรอก เพราะว่าคุณจะบรรลุดวงตาของคุณได้อย่างไร ก็คุณเป็นดวงตาของคุณเองอยู่แล้วจะบรรลุดวงตาของตัวเองได้อย่างไร ดวงตาอยากเห็นดวงตาของตัวเองได้อย่างไร เห็นในกระจกก็เห็นผ่านกระจก ไม่ได้เห็นตัวดวงตาคุณเองโดยตรง เราจะไปบรรลุในสิ่งที่เราเป็นอยู่แล้วได้ไง เข้าใจประเด็นนี้ใช่ไหม


ถ้าหากพูดแบบนี้คือไม่มีช่วงขณะไหนที่เราไม่ได้เป็นสิ่งนั้นเลย สิ่งสูงสุดเลย ไม่มีช่วงขณะไหนที่เราไม่ได้เป็นพุทธะเลย เราเป็นอยู่แล้วเหมือนกับที่ผมชอบอุปมาเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ของต้นโพธิ์ เพราะว่ามันเป็นเมล็ดพันธุ์ยังไม่ใช่ต้นโพธิ์ไม่ใช่มันไม่มีคุณสมบัติของความเป็นต้นโพธิ์ใช่มั๊ย เราเป็นมนุษย์หากเป็นแค่อสุจิ ยังไม่ผสมพันธุ์กับไข่ เราขาดคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ไหม ไม่ขาดหรอกเราอาจจะเกิดมาพิการได้ แต่เราไม่ขาดดอก เราอาจเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ เกิดเป็นคนโง่ คนฉลาดหรือแม้แต่คนเลวก็ได้ ขาดความเป็นมนุษย์ไหม ไม่ขาดดอกฉันใดก็ฉันนั้น ทุกสรรพสิ่งดำรงอยู่ทุกสภาวะ สรรพสิ่งเป็นอณูของพระเจ้ามีช่วงตอนไหนบ้างที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งขาดความเป็นสิ่งนั้นไม่ได้ดอก แต่ขาดอะไรขาดญาณ ใช่


เหมือนนิทานเล่าเรื่องหนึ่งที่เคยเขียนไว้ใน "HEART AND SOUL" มีกษัตริย์องค์หนึ่งรักลูกตัวเองมาก รู้ว่าลูกตัวเองถ้าเลี้ยงไปจะเสียคนแน่นอน จึงส่งลูกตัวเองไปให้องครักษ์เลี้ยง ส่งไปให้อยู่ไกลๆที่บ้านนอก พอโตขึ้นมาเด็กคิดว่าตัวเองเป็นเด็กบ้านนอก เสียคนเมาเหล้าเมายา ชีวิตเหลวแหลกชีวิตมันก็แค่นี้ไหนๆก็ยากจน อย่างมากก็ถูกเป็นทหารเกณฑ์ วันหนึ่งพี่เลี้ยงมาบอกว่าไม่ใช่นะ ท่านไม่ใช่ลูกขี้ข้าของข้านะ แต่ท่านเป็นลูกกษัตริย์ที่ออกมา แล้วจะพาไปหาบิดา พอรู้แค่นั้นช็อค เข้าไปอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนเป็นคนละคน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันคนนี้ต้องพยายามไหม ลูกที่เข้าใจว่าตนเองเป็นวณิพก เป็นลูกบ้านนอก ต้องพยายามไหมในการที่จะเป็นลูกกษัตริย์ ไม่เลย เพียงแต่เขารู้หรือจำได้ หรือมีคนมาบอกเขา แล้วมีคนมารับรองเขาว่าเรื่องจริง จิตเป็นเรื่องอย่างนี้จริงๆ เข้าใจใช่ไหม



8. ความจริงที่ผมตั้งสำนักวัชรเซนสาเหตุหนึ่งเพราะเหตุนี้คือไม่ใช่เพื่อ train คน หรือเพื่อมีลูกศิษย์มากที่สุด หรือเพื่อให้ใครบูชาที่สุด แต่เพื่อเผยแพร่ความจริงอันที่สุดนี้ ให้คนรู้มากที่สุดเท่านั้นเอง ก็เขียนลงในเวบไซท์ของตัวเองอย่างนี้ จะเชื่อก็เชื่อ ไม่มีเงื่อนไขอะไรทั้งสิ้น แต่ต้องบอกความจริงอันนี้ เพราะว่าอะไรการเปลี่ยนแปลงภายในมันเกิดขึ้นฉับพลันไม่ใช่ว่าต้องบริจาคเงินป็นล้านๆเพื่อขึ้นสวรรค์ นี่คือความจริงสูงสุดที่จะบอกตัวเองหรือไม่ใช่ ผมหดหู่มาก ฆราวาสที่ใฝ่ธรรมแต่ไม่บวชสู้พระบวชไม่ได้เหมือนกับบอกว่ามีแต่เศรษฐีเท่านั้นที่เป็นคน ยาจกไม่ใช่คน


ในสำนักวัชรเซนหนังสือที่ใช้อ้างอิงและประกาศเป็นทางการแล้วคือ "วัชรเซน" และ "เทพพจนา" ส่วนงานเขียนก่อนหน้านั้นของผมเป็นเอกสารอ้างอิงไม่ใช่หนังสือบังคับ แต่ว่าถ้าอ่านสองเล่มนี้จะเข้าใจผมว่าทำไมมาเขียนอันนี้ เพื่ออะไร ผมคงจะไม่ต่างจากโดเง็นที่เขียนเรื่องโชโบเก็นโซดอก แต่ผมก็จะเขียนแนวอื่นด้วย


9. วัชรเซนคืออะไร วัชรเซนนี้ในด้านหนึ่งแล้วก็คือเซนของเทพเจ้า เมื่อใดก็ตามที่เหล่าเทพเจ้าปฏิบัติธรรมและเข้าถึงธรรมนั้น พอเป็นภาษามนุษย์ผมเรียกมันว่า "วัชรเซน" วัชรเซนคือเซนที่สอนโดยพระนารายณ์ในความหมายหนึ่ง เพราะว่าวัชระเป็นชื่อหนึ่งของพระนารายณ์ ถ้าบอกว่าผมผูกพันธ์กับพระนารายณ์ใช่ไหม ก็ต้องบอกว่าใช่ ไม่อย่างนั้นผมคงไม่ผูกพันธ์กับท่านไส บาบา พระนารายณ์ พระวิษณุ ซึ่งเป็นพระเจ้าในบริบทของฮินดู



วัชรเซนในอีกด้านหนึ่งจะบัญญัติถึงหลักการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่าอทวิภาวะคือขั้นสูงสุดเพราะว่าคนที่ศึกษาทางปรัชญาทางศาสนาบอกว่า "หลังจากพระพุทธเจ้าของเรา หลวงปู่โพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อสูงสุด เป็น " THE GREASTEST MASTER "



กล่าวในความหมายนี้วัชรเซนคือวิถีปฏิบัติ หรือมรรคปฏิบัติของปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงมีชื่อว่าเซน และชื่อนี้แหละพอเป็นภาษาจีนมาจากคำว่าจินกังฉาน จินกังแปลตามตัวแปลว่าวัชระ แปลว่าเพชรนะ เพราะฉะนั้นคำว่าวัชรเซนคือ เซนแบบเพชร นึกภาพออกไหม และอีกอันหนึ่งเป็น เซนแบบสายฟ้า สายฟ้าจะหมายถึงพระนารายณ์ เซนแบบเพชร หมายถึงพุทธะ จะมีสองนัยอยู่ด้วยกัน นอกจากนี้วัชรเซนยังหมายถึงเซนหรือแนวทางปฏิบัติที่ผนวกแก่นของเต๋ากับพุทธเข้าด้วยกัน คือต้องเข้าใจว่าเวลาผมบัญญัติวัชรเซน ผมจะบัญญัติมันให้มีหลายมิติมาก สำนักวัชรเซนจึงเป็นของขวัญและมรดกที่ผมมอบให้แก่สังคมนี้....."มังกรจักรวาล" ตายไปสองปีแล้ว ขณะนี้มีแต่ "ฝ่าหลง" ผู้สืบทอดวิถีวัชรเซนมาจากท่านอาจารย์ "ฝ่าเต๋อ" และเหล่าคุรุ เหล่าเทพเจ้า เหล่าโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง (จบ)


 
 

"DZOGCHEN" (Great Perfection)
(คำสอนแบบอทวิภาวะของธิเบต)



บรรยายธรรมครั้งที่2 ( 20 มกราคม 2545 )

1. Dzogchen (Great Perfection)

จะจำแนกว่าในโลกนี้มีการเข้าสู่การฝึกจิต อยู่ 3 วิธี ด้วยกันคือ

1.1 Path of Renunciation = Sutra (เน้นพระวินัย)
สายนี้ต้องสละโลกโดยการบวช ยึดพระสูตรเป็นหลัก ปฏิบัติตามพระวินัย และข้อธรรมต่างๆ หาที่พึ่งจากภายนอก ตัวอย่างของสายนี้คือ เถรวาท ,Exoteric คำสอนแบบเผยแจ้ง Key words คือ ต้องกดกำราบกิเลส, ความทุกข์ อาศัยการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก เป็นผลพวงจากการเน้นรูปแบบของสายพุทธ

1.2 Path of Transformation (เกี่ยวกับพลัง การฝึก ตันตระ หรือโยคะ)
สายที่ 2 เป็นกระแสหลักของโลก ศาสตร์เร้นลับ (Esoteric) ทั้งหมดอยู่ในสายนี้ รวมถึงการฝึกพลังต่างๆ การฝึกแบบนี้เรียกว่า " ตันตระ" ทั้งสิ้น หรือเรียกว่า "โยคะ"ก็ได้ โยคะทางธิเบตจะเรียกว่าตันตระ แต่ในเมืองไทยความหมายของตันตระจะหมายถึงเรื่องของเซ็กส์ซึ่งจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่จริงๆแล้วตันตระจะเป็นการรวมพลังของ หยินและ หยางซึ่งเป็นโยคะแน่นอน การฝึกของสายนี้ใช้เคล็ดวิชาเป็นหลัก คนศึกษาสายนี้เป็นของจริงแต่ก็ยังช้าและอาจจะไม่ใช่สายปัญญา

1.3 Path of Self-Perfection =Knowledge (ญาณ), dzogchen = great awareness
เป็นสายของญาณ สายปัญญา สายของ Dzogchen นี้จะเรียกว่า "เซน" ก็ได้ในความหมายที่ว่า Dzogchen หมายถึง great awareness วิธีที่ใช้ คือการเข้าถึงมหาสติ มีผู้นำแบบไม่มีพิธีกรรม ผู้นำแบบไกด์ที่มีพลังแห่งการถ่ายทอด (Power of Transmission) เป็นเรื่องของการถ่ายทอดโดยตรงจากจิตสู่จิต วิญญาณสู่วิญญาณ

1.3.1 ถ่ายทอดจากครูที่มีตัวตนอยู่สายนี้ไม่มีครูไม่ได้

1.3.2 มีครูอีกมิติหนึ่งช่วยถ่ายทอดไปพร้อมๆกัน โดยผ่านครูที่มีตัวตนอยู่ เข้ามากระทำพร้อมกัน สำนักวัชรเซนจะเน้น 2 อันนี้ ต้องมีพื้นฐาน ทั้ง 2 ข้อ ถึงจะเข้าถึงวัชรเซนได้

1.3.3 ก้าวข้าม Transformationและจะหลอมรวม transformationเป็นที่มาของปัญญาของพุทธะ



2. หลักปฏิบัติ มรรค 8 ของวัชรเซน คือ
กาย - ปราณ - ใจ(จิต) - สติ - สมาธิ - ฌาน - ญาณ - ซาโตริ(มหาสติ)


3. The six vajra verse คำสอน 6 ประโยค ( 6 วรรควัชรเซน)

3.1 The nature of phenomena is non-dual ,but each one,in its own state,
Is beyond the limits of mind.

ขยายความ: ธาตุแท้ของปรากฏการณ์ทั้งปวง คืออทวิภาวะ แต่ในแต่ละอัน ในภาวะของตัวมันเองคือ ภาวะของปรากฏการณ์ต่างๆที่เราอยู่นั้นเองมันอยู่ข้ามพ้นความเข้าใจของจิต หรือข้อจำกัดของจิต ความนึกคิด เพราะว่าในทางจิตปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเราจะไปรับรู้มัน ไม่มีปรากฏการณ์อันไหนที่เราไม่ไปรับรู้ ถ้าเราไม่รับรู้มัน ไม่เป็นปรากฏการณ์สำหรับเรา แต่พอเรารับรู้แล้วแก่นแท้จริงเป็นอทวิภาวะ ในแต่ละขั้นตอนของมันเหนือความเข้าใจของจิต เพราะจิตโดยทั่วไปไม่ถึงขั้นอทวิภาวะจะหลงติดกับปรากฏการณ์ทั้งปวงที่มาปรุงแต่งสังขาร

3.2 There is no concept that can define. The condition of "what is" but vision nevertheless manifest ; all is good.

ขยายความ: ไม่มีมโนทัศน์อันไหน สามารถนิยามเงื่อนไข ของที่ว่านี่คืออะไร ปรากฏการณ์นี้คืออะไร ไม่มีนิยามอันไหน แม้แต่คำสอนในพระไตรปิฎก ก็นิยามไม่ได้ แบบเดียวกับเต๋า "เต๋าที่นิยามได้ไม่ใช่เต๋า" แต่นิมิตที่เผยให้เราตระหนักรับรู้ได้ บอกเพียงว่าทุกอย่างมันมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปจัดการกับมัน ทุกอย่างมันสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว

3.3 Everything has already been accomplished and so having overcome the sickness of efforts, one find oneself in the self-perfected state this is contemplation.

ขยายความ: หากผู้นั้นสามารถเอาชนะความป่วยอันเนื่องมาจากความขยันหมั่นเพียรหรือวิริยะบารมีอุตสาหะของตัวเองได้ เขาจะพบว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่สมบูรณ์พร้อม นี่แหละคือสมาธิที่แท้จริง สมาธิที่แท้จริงเพราะว่าตัวเองมีภาวะ self- perfect อยู่แล้ว ทำอย่างนี้ต้องเอาชนะโรคขยัน โรคอยากบรรลุ โรคกลัวว่าจะไม่บรรลุธรรม คนเราติดตรงนี้ คนที่สนใจทางจิตมันป่วย ป่วยทั้งสิ้น ป่วยด้วยโรคขยัน ปุถุชนป่วยด้วยโรคขี้เกียจ


4. จันทร์ในบ่อน้ำ

"ทุกสรรพสิ่งเพียบพร้อมสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง ดุจจักรวาลในบ่อน้ำ.........
บ่อน้ำนี้คือความเพียบพร้อมสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง"

ขยายความ: Dzogchenเปรียบเทียบว่า ภาวะของ Dzogchen คือภาวะของกระจกกระจกที่สะท้อนอย่างเดียว เป็นเงื่อนไขของกระจก ตัวกระจกแต่ว่ารับทุกสรรพสิ่งได้ บางคนยกตัวอย่าง ของคริสตัล(crystal) ให้ดู คือเพชร Dzogchenก็คือวัชรเซนนั่นเอง เราอยู่ในภาวะนี้ตลอดอยู่แล้ว แต่ใจเราเองต่างหากที่มีอวิชชาหรือมีอะไรทำใจเราให้ขุ่นมัว ถ้ายังรู้ว่าตัวเองยังต้องฝึกฝนอยู่ คือฝึกฝนทักษะไม่ใช่ฝึกฝนธรรมชาติของจิต( nature ) Dzogchen หรือเซนจึงไม่เคยสอนให้ฝึกฝน nature ตัวเอง เพราะ nature มันดีอยู่แล้ว เราไม่ใช่ฝึกฝนเพื่อเป็นพุทธะแต่ ฝึกฝนทักษะเพื่อจะอยู่รอดในโลกที่ยังไม่ตระหนักความเป็นพุทธะนี้ โลกที่เป็นมายานี้ ถ้าเข้าใจในเต๋าจะรู้ว่าเรียนเต๋าเพื่อเรียนทักษะ ถึงคนเราเป็นพุทธะแต่คนเราก็ต้องปฏิบัติธรรมอยู่เพื่อไต่บันไดเข้าไปสู่จุดสูงสุดของจิตที่มันเผยตัวออกมาแค่ครึ่งเดียวโดยที่ตระหนักรู้อยู่ตลอดเวลาว่าคนเราไม่มีอะไรต้องฝึกฝนเพื่อเป็นพุทธะอีกแล้วแต่ ฝึกเพิ่มทักษะเพื่ออยู่ในโลกของปรากฏการณ์

5. เราเดินบนมรรคแห่งเต๋าแต่ในขณะเดียวกัน ตัวเราก็เป็นมรรคแห่งเต๋าด้วย

 

สรุป

การที่เรามานัดชุมนุมกันในที่นี้ในแต่ละเดือนก็เพื่อเป็นการยืนยันแสดงออกถึงภาวะพุทธะของเรา การนั่งสมาธิรวมหมู่ไม่ใช่การฝึกพุทธะ ต้องเข้าใจนะแต่เพื่อเผยมันออกมาเท่านั้นเอง เพราะว่าในเวลาปัจจุบันอยู่ดีๆคุณเดินไปตามถนนแล้วบอกว่าคุณเป็นพุทธะ เขาจะหาว่าคุณบ้า คือในโลกแห่งมายา หรือปรากฏการณ์ คุณไม่มีที่จะเผยตัวความเป็นพุทธะออกมา แล้วสำนักวัชรเซนเป็นที่ๆให้แต่ละคนได้เผยพุทธภาวะของตัวเองออกมา ตอนที่คุณบำเพ็ญหรือหัดที่บ้านเป็นการเผยหรือ confirm ตัวเองเท่านั้นเอง แต่ถ้าจะมาหัดเพื่อรักษาโรค แก้เครียดหรือเพื่อสุขภาพใช้ไม่ได้ อย่าเข้าสู่วงการทางจิตไปหัดดนตรีหรือเล่นกีฬาเสียจะดีกว่า เพราะการฝึกตนเองเพื่อตระหนักเป็นพุทธะยากน้อยกว่าการฝึกดนตรีเสียอีก คนเราถ้าฝึกเพื่อตระหนักถึงความเป็นพุทธะไม่เกิน 12 ปีก็สำเร็จ แต่ถ้าหัดศิลปะจะใช้เวลามากกว่านี้อีก ความหมายของชีวิตไม่ใช่การตระหนักเป็นพุทธะ ความหมายของชีวิตอยู่ที่เราได้รังสรรค์อะไรบางอย่างเพื่อแสดงความเป็นพุทธะของเราออกมา ตระหนักรู้มันง่ายแต่สำแดงตนเป็นพุทธะมันยาก ใช้เวลาทั้งชีวิตไม่รู้ว่าจะพิสูจน์ได้หรือเปล่า Live on it มีชีวิตอย่างเป็นพุทธะมันยากเพราะคุณต้องปล่อยวางตัวเองเป็นผู้ให้ ใช้ชีวิตแบบผู้ให้ Live on it เพื่อการนี้เราถึงต้องหัดวิถีแห่ง transformation เพื่อให้คุณมีพลังที่คุณจะ Live on it คนที่จะผ่านอันนี้ได้จะต้องผ่าน death of ego ของตัวเองก่อน



สิ่งที่ได้จากการฝึกวัชรเซน

สำนักนี้สัญญากับคุณได้ 3 เรื่อง ไม่มีความมั่งคั่งหรือชื่อเสียงรวมถึงเกียรติภูมิ แต่สิ่งที่สำนักนี้ให้แก่พวกเราได้คือ

1. สุขภาพแข็งแรงชั่วชีวิต
2. วิถีให้คุณเดินท่ามกลางโลกมายาอันสับสนของโลกใบนี้ และHappyที่จะเดินตามทางสายนี้
3. ไม่กลัวความตาย

 
 

" TAOIST WAY "


บรรยายธรรมครั้งที่ 3 ( 17 กุมภาพันธ ์2545 )

1.Taoist หรือชาวเต๋ากับ 3 โลก
ในความเข้าใจของชาวเต๋า โลกมีอยู่ 3 โลก ที่จะต้องข้ามผ่านไปให้ได้


1.1 โลกแรกคือ โลกของเรื่องราว เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ เพื่อการนี้ชาวเต๋าได้คิดค้นศาสตร์ต่างๆมากมายเพื่อให้สามารถเอาชนะได้ ยามเจอเหตุการณ์ เจอเรื่องราว เจอปรากฎการณ์ ศาสตร์เพื่อการนี้ได้แก่ การแพทย์ ,หมอดู ,ฮวงจุ้ย ,ตำราศาสตร์นรลักษณ์ ฯลฯ ที่เต๋าเอามาใช้อันนี้เป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้นเอง โลกที่ว่าด้วยเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ เป็นเต๋าเบื้องต้นเท่านั้น คนศึกษาวิชาเต๋าแล้วสับสนคือไม่รู้ว่านี่ โลกต้น โลกกลาง โลกสูง ถ้าศึกษาเรื่องนอกกายศึกษาได้ด้านหมอดู ทำนายทายทัก เพื่อเพิ่มทักษะในการมีชีวิต


1.2 โลกที่ 2
เมื่อ master อันนี้ได้แล้วหรือมีความมั่นใจแล้วจะมาสนใจในมรรค พยายามเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ตัวเองสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างไร ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว อันนี้ในความหมายหนึ่ง คือต้องฝึกพลัง เหมือนกับการเล่นแร่แปรธาตุ ประกอบด้วย ธาตุภายในและธาตุภายนอก คนที่เป็นชาวเต๋าในระดับสองนี้เป็นระดับกลาง (intermediate)ถือว่าใช้ได้ เขาเริ่มฝึกพลังเพื่อเป็นผู้บำเพ็ญ คนที่ฝึกขั้นที่ 1 ยังไม่บำเพ็ญคือใช้ประโยชน์จากเต๋าเป็นโลกียะล้วนๆ แบบที่ 2 จะฝึกผสมธาตุ คือเล่นกับธาตุภายนอก สนใจวิชาธาตุ เล่นกับธาตุข้างนอกหรือธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) มีอำนาจเหนือธาตุ พูดง่ายๆเหมือนวิชาฤาษี วิชาเซียน เรียกลม เรียกไฟ เป็นธาตุภายนอก ธาตุภายในกายก็บ่มเพาะตันเถียน เป้าหมายของโลกที่ 2 คือบรรลุความเป็นเซียน ใครสนใจเต๋าก็ต้องถามว่าสนใจแบบไหนสนใจในฐานะที่เป็นโลกปรากฏการณ์ เรื่องราวหรือสนใจเป็นเซียน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ


1.3 โลกที่ 3 โลกของการเหนือกาลเวลา
ตรงนี้จะเหลื่อมกันหน่อยหนึ่งในเรื่องของเวลา และ เรื่องของSubject และ Object แม้แต่เต๋าเองก็มีคนน้อยมากที่ไปถึงขั้นนี้อันเป็นโลกขั้นสูงเป็นโลกซึ่งพวกเซียนที่หัดมาขั้นหนึ่งแล้วจนเป็นอมตะ (immortal) แต่อมตะอย่างไรก็อมตะไม่จริงเพราะว่าตอนฝึกเป็นอมตะตกอยู่ในกับดักของกาลเวลา เพราะฉะนั้นโลกที่ 3 เป็นโลกสูงสุดที่ชาวเต๋าต้องข้ามไป ข้ามเวลาเรียกว่า Transtemperal เป็นโลกที่ข้ามเวลาได้ถ้าต้องการข้ามเวลาให้ได้หากเข้าใจโลกแบบ 2 ถ้าอยากเป็นแค่เซียนยังไม่ได้ โลกที่ 3 จึงเป็นโลกของ ปราชญ์-คุรุ ผู้มีปัญญา เวลาที่ข้ามหมายถึง timelessness เข้าสู่โลกที่ไร้เวลาข้ามโลกที่ 3 ให้ได้ คล้ายพุทธะของชาวพุทธแล้วนะอย่างนั้นแล้วจะเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า โลกที่ 2 เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติคือเป็นหนึ่งเดียวกับ cosmos เล็ก แต่โลกที่ 3 นี่ถ้าข้ามเวลาได้จะเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋าใหญ่ หรือ Kosmos ใหญ่ ทำได้อย่างนั้นแล้ว Subject กับ Object จะหายไปสลายเอกลักษณ์ของตัวเองได้ ทิ้งไว้แม้แต่ความเป็นเซียนของตัวเอง ทำอย่างนั้นได้ต้องเอาชนะเวลา ชนะPrimary dualism (ปฐมทวิภาวะ) ระหว่างตัวตนเขากับโลกภายนอก แบ่งเป็นสำนักมากมายแล้วแต่สติปัญญาของคุรุ แต่สำนักที่ masterนี้ได้ที่เห็นมาคือสายหัวซาน เต๋าที่เราเจอส่วนมากจะเป็นโลกที่ 2 โลกที่ 3 จะข้ามยากมาก


2.คนเหนือดวงกับชาวเต๋า (Taoist)
คนเราสนใจเรื่องดวงแต่อยู่ใต้ดวงเท่านั้น "คนเหนือดวง"เป็นข้อเขียนของ อ. บูรพา ในข่าวอาทิตย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 1207 วันที่ 7-14 ก.พ. 2545 วิธีอยู่เหนือดวงคืออะไร คือการออกบำเพ็ญจิตอย่างเดียว ซึ่งทางฝ่าหลุนกงเรียกว่า "ธรรมชาติของจิต" ทางเซนเรียกว่าเข้าถึงธรรมะที่แท้จริงของจิตหรือบ่มเพาะหรือพัฒนา คุณสมบัติของจิตตัวเอง ถ้าทำอย่างนั้นแล้วจะกลายเป็นคนเหนือดวง คือคนที่ข้ามโลกที่ 1 ได้ ซึ่งต้องบำเพ็ญชำระจิตให้เป็นอริยะจิต แล้วไม่ต้องมาสนใจเรื่องฤกษ์ยามว่ามันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ปัญหาคือจะเป็นคนเหนือดวงได้อย่างไร หรือคุณจะบำเพ็ญจิตตัวเองได้อย่างไรหรือคุณจะเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเองได้อย่างไร


3. พลังบริสุทธิ์ (Pure Power)กับ ชาวเต๋า (Taoist)
อะไรคือ Pure Power? Pure Powerมาจากไหน? Pure Power มาจากการเลือก เป็นพลังของการเลือก การเลือกที่มาจากความจริงใจ การเลือกที่กล้าตัดสินใจแบบจริงใจล้วนๆ ในการเลือกทุกๆเรื่องที่คุณเผชิญกับเหตุการณ์คุณตัดสินใจอย่างไร ถ้าพูดแบบศาสตร์ในเทพพจนาคือคุณต้องนิยามว่าตัวเองเป็นใครคุณต้องแสดงความเป็นพุทธะของตัวเองออกมาในทุกสถานการณ์ที่คุณต้องเลือกหรือตัดสินใจเมื่อนั้นคุณจะเกิด Pure Power หรือพลังบริสุทธิ์ อันเป็นพลังที่มาจากการเลือกว่าคุณจะเป็นคนๆนี้แหละ ประกาศว่าคุณเป็นใคร ประกาศให้โลกรู้ได้ในทุกเหตุการณ์แต่ละวันในชีวิตประจำวัน เราเลือกที่จะเป็นแบบนี้ เราเลือกที่จะรับใช้คนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เราเลือกที่จะให้มากกว่าที่จะรับ ทุกอย่างเป็นแบบนี้คุณต้องนิยามตัวเอง แล้วจะเกิดเป็น Pure Power ซึ่งอันนี้จะเป็นคนเหนือดวงได้ และจะเป็นทิศทางที่จะข้าม 3 โลกได้


4. บทโศลก

Tao is the road up your spine .
เต๋าคือมรรค หรือเส้นทางที่ไต่ขึ้นไปตามกระดูกสันหลังของคุณหรือกระตุ้นจักรทั้ง 7 นั่นเอง เป็นเต๋าภายในกาย (Tao in body) จัดอยู่ในระดับปฏิบัติ

Tao is the road of your life .
เต๋าในชีวิต (Tao in life) เต๋าคือวิถีของชีวิตคุณ เส้นทางการดำเนินของชีวิตของคุณพูดง่ายๆคือ นิยามเต๋าในแง่ของปรัชญา (Philosophy Level)

Tao is the road to the Kosmos .
เต๋าเป็นเส้นทางไปสู่มรรคหรืออภิมรรคของ Kosmos จักรวาลใหญ่ ซึ่งไม่ใช่กายภาพนะ และเป็นการนิยามในระดับอภิปรัชญา (Metaphysics Level) คำว่าเต๋า เป็นเส้นทาง เป็นวิถีของ Kosmos เป็นวิถีของจักรวาลแบบองค์รวมทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการจะเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋าได้คนเราต้องเข้าใจถึงวิวัฒนาการและการเคลื่อนไหวของเอกภพหรือการเคลื่อนไหวของ Spirit นั่นเอง

Tao is the road of the Spirit .
เต๋าคือ Spirit in action คือธรรมลีลา ถ้าอยากเข้าใจวิถีของเต๋างานของเคน วิลเบอร์ จะช่วยมากเลยในการเข้าใจวิวัฒนาการของจิตใหญ่ (Spirit) และการเคลื่อนไหวของเอกภพ


สรุป ข้อแรกของการจะเป็นคนเหนือโลก หลังจากเหนือดวงแล้วก็จะเป็นคนเหนือโลกได้จะต้อง

1. จะต้องบำเพ็ญพลัง หัวใจการฝึกคือลมปราณ
2. ให้แนบแน่นเห็นทั้งความสมบูรณ์พร้อมของจันทร์ในบ่อน้ำกับธรรมชาติได้ทุกเมื่อ
3. ใช้ปัญญาในการทะลวงโลกที่ 3 ที่ต้องใช้ Awareness ล้วนๆ

เป็นภาวะของ timelessness ทันที โลกที่ 2 กับ โลกที่ 3 ไม่ห่างกันดอก ถ้าใครได้โลกที่ 2 แล้วมีปัญญานะก็จะได้โลกที่ 3 โดยเป็นเรื่องของการตระหนักรู้


5. Spirituality is not a transaction with the universe. It is an endeavor that we take up because it is our mode of being.

จิตวิญญาณไม่ใช่การเจรจาแบบการแลกเปลี่ยนกับเอกภพ นี่คือข้อผิดพลาดของนักปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อให้เกิดฤทธิ์ ปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น มีความปรารถนามากมายล้วนแต่มีข้อแลกเปลี่ยนกับเอกภพกับจักรวาลหรือกับเต๋าทั้งสิ้น ซึ่งเป็นอวิชชาอย่างหนึ่ง คือต้องแลกเปลี่ยนถ้าไม่ให้ก็จะไม่มีศรัทธาต่อจิตวิญญาณ ความเป็นจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการบำเพ็ญที่เรากระทำเพราะว่าเป็น our mode of being เพราะแสดงถึงตัวตนของเรา ความดำรงอยู่ของเรา แล้วการฝึกนั่งวัชรเซนนี่ไม่ใช่เพื่อเป็นพุทธะนะ แต่แสดงว่าขณะนี้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ หรือเราเผยความเป็นพุทธะออกมา เพราะฉะนั้นคำนี้จึงไม่ใช่ effort เพราะ effort จะหมายถึงโรคของความป่วย โรคของความขยัน กลัวจะไม่ได้เป็นพุทธะ กลัวจะไม่สำเร็จ กลัวจะไม่หลุดพ้น กลัวจะตาย กลัวจะไม่หายจากโรค ความพยายามหรือการบำเพ็ญที่เรากระทำเพื่อบอกว่าฉันมี mode of being เป็นอย่างไรนี้เราทำมันเพราะมันเป็น mode of being ของเรา แสดงความเป็นตัวเองออกมา เราทำอะไร เราพยายามอะไร (endeavor) ก็พยายามแบบผ่อนคลาย


6. The central concept of Tao is breath.
When the entire energy field of our body , so intimately tied to breathing, is integrated with our mind. We have the power of Spirituality connected to this energy field is a universe mind. Do you want to know how Spirituality works. Breathe !

หัวใจหลักของเต๋าและวัชรเซน คือลมหายใจหรือการหายใจ ศูนย์กลางทั้งหมดคือการหายใจ ทั้งเซน เต๋า dzogchen อันเดียวกันหมดในความเข้าใจของตัวเอง เมื่อสนามพลังงานของปราณทั้งหมดในร่างกายของเรา ซึ่งมันเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับการหายใจ มันถูกบูรณาเข้ากับใจของเราได้ เมื่อนั้นเราจะเกิดพลังแห่งจิตวิญญาณขึ้นมาทันที พลังของจิตวิญญาณเกิดขึ้นจาก ปราณ กาย ใจ รวมเป็นหนึ่งเดียว หรือผ่านการหายใจ แล้วสิ่งที่ connect จากศูนย์พลังปราณที่เชื่อมกันระหว่าง กาย ปราณ จิต เป็นหนึ่งเดียวขณะนี้คือ ใจของฟ้า (universe mind) ใจของเต๋า ใจของพระเจ้า ใจของเอกภพ ถ้าเธออยากจะรู้ว่าอะไรคือจิตวิญญาณ Do you want to know how Spirituality works. และถ้า เธออยากจะรู้ว่าจิตวิญญาณมันทำงานอย่างไร จงฝึกหายใจเถิด นี่คือคำสอนของชาวเต๋า ของคุรุของสายเต๋า


 

บ้านโยคี
 

"บ้านโยคี" เป็นร้านอาหารมังสวิรัติตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลา ติดถนนตะนาวศรี สี่แยกคอกวัว นับเป็นร้านอาหารที่โดดเด่น ท่ามกลางร้านอาหารจำนวนนับไม่ถ้วนที่เปิดให้บริการ ย่านที่มีเก้สเฮ้าจำนวนมาก บ้านโยคีกลายเป็น "สปริตชวลเฮ้าส์" (Spiritual House) ให้ผู้คนที่สนใจมาเสวนายามค่ำคืน สำหรับเย็นวันอังคารที่ผ่านมาช่วงปลายเดือนมีนาที่ผ่านมา บรรดาขาประจำและสมาชิกบ้านโยคีที่ต้องรีบฝ่าการจราจรเพื่อให้ทัน 5 โมงเย็นเพื่อมาฟังการบรรยายหัวข้อ


"วัชรเซน วิชาสำหรับยอดคน วิทยากรโดย ดร. สุวินัย ภรณวลัย"

ทันทีที่ประตูเปิด "บ้านโยคี" ภายในร้านจัดร้านเรียบง่ายมีกลิ่นอายของอินเดียอย่างเห็นได้ชัด เสียงเพลงสำหรับสมาธิดังคลอเคลียลูกค้าเริ่มทยอยมาขึ้นและขึ้นไปที่ชั้น 2 ของร้าน

บนชั้น 2 งานสัมมนาจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย ทุกคนนั่งกับพื้น ดร. สุวินัย ภรณวลัย รอเวลาให้ทุกคนใช้เวลาในการปรับตัวเล็กน้อย ทุกคนที่มาร่วมฟังในครั้งนี้ต่าง สนในเรื่องการพัฒนาทางจิตใจ มีทั้งคนไทย ญี่ปุ่นและฝรั่ง ซึ่งล้วนมุ่งหวังจะได้คำตอบว่า "วัชรเซนคืออะไร"

การสนทนาอย่างเป็นกันเองเริ่มขึ้น เมื่อวิทยากรถามผู้สนทนาว่า "อะไรคืออุปสรรคของสมาธิ อะไรคืออุปสรรคของการพัฒนาจิต ก่อนที่จะเริ่มต้นเราจะต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ก่อนซึ่งคำตอบที่ออกมานั้นไม่มีถูกผิด ผมอยากให้พวกเราลองตอบกันดู"

โยคะแห่งการฝึกจิต

การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทำให้ทุกคนเป็นกันเองมากขึ้น ดร. สุวินัย จึงเริ่มการพูดคุยถึงปัญหาของการฝึกจิตว่า "อุปสรรคของจิตก็คือใจ คำว่าโยคะคือการเรียกรวมๆ ของการฝึกจิต ถ้าเป็นพุทธเรียกว่าโยคะพุทธ ถ้าเป็นเต๋าเรียกว่า โยคะแปลตามตัวว่าชื่อหรือสิ่งที่ผูกรัด หรือก็คือมัด โยคะคือวิถีที่ทำให้เราเป็นหนึ่ง แต่เป็นหนึ่งกับอะไร ทางอินเดียเรียกว่าการรวมสิ่งสูงสุดชีวเข้ากับปรมาตมัน ทางพุทธเข้าเป็นอันเดียวกับพุทธภาวะในตัวเอง"

คุณอู๊ดหนึ่งในสมาชิกบ้านโยคีที่เข้ารวมสัมมนาได้อธิบายตามความคิดเห็นว่า "ใจสำหรับผมทุกวันนี้ที่เราดำเนินชีวิตก็คือเรื่องของใจและจิต ใจคือดวงประทีปที่นำพาชีวิต ใจสำคัญที่สุดตรงที่เราคิดอะไรมันจะเป็นอย่างนั้น ใจมันเป็นทุกอย่างที่เป็น ผมเคยเดินทางไปพบกับผู้เรียกตนเองว่าเป็นคุรุหลายคน แต่ก็ยังไม่เห็นมีสักคนที่หลุดพ้น ในการปฏิบัติของผม ผมดูตนเองเป็นหลัก ผมไม่จำเป็นต้องวิ่งไปหาประสบการณ์จากโลกข้างนอก เพียงแค่ดูโลกภายในตนเองก็มากมายหลากหลาย"

เข้าถึงภาวะพ้นความคิด

ต่อจากนั้น ดร. สุวินัย ได้อธิบายต่อถึงประสบการณ์ของใจแม้การเฝ้าดูใจ โลกภายในก็ยังไม่พ้นอยู่ดี "เพราะมันเป็นทุกอย่างที่มันเป็นจึงไม่สมบูรณ์ เราตามมัน มันยังไม่เป็นความคิด มันมีอำนาจ แต่ตัวตนที่แท้จริงของมันคืออะไร ในคำสอนแบบนี้ยังมีคำสอนอีกแบบหนึ่งคือก่อนที่จะคิด ถ้าอยู่ในภาวะอย่างนั้นได้มันมีช่องทางที่จะหลุดพ้นมันเป็นคำสอนที่ทางธิเบตเรียกว่าซอคเซน (Dzogchen) หรือ self-perfect จะไม่ใช่ฌานซึ่งเรียกว่าอทวิภาวะคือข้ามพ้นความเป็นคู่

คนเราถ้าศึกษาจิต คนเราถ้าเริ่มคิดก็ตกอยู่ในโลกของความคิด พอเติบโตมากกว่านี้ก็อยู่ในภาวะฌานก็ถือว่าเหนือมนุษย์ธรรมดา เหนือกว่านั้นอีกจิตเขาจะเสรี ไม่มีอะไรที่กักขังเขาได้ แต่ยังยึดติดกับฟรีดอมเพียงเท่านี้คนทั่งไปก็มองเขาเป็นผู้วิเศษ ขั้นที่สูงกว่าก็คือความเป็นเช่นนั้นเองไม่มีอะไรที่จะต้องเรียนรู้ แต่ว่าเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว เขาจะต้องคิดใหม่ คำตอบเขาจะต้องคิดใหม่ เขาอยู่ในโลกความว่าง เขาไม่ปฏิเสธภาษา แก่นแท้ของวิวัฒนาการคือก้าวข้ามและหลอมรวม"

กายคืออุปสรรคของจิต

ขั้นต่อมาของผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่มักจะติดที่กาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ "กายคืออุปสรรคของจิต ใจไม่ใช่ธรรมชาติดั้งเดิมของจิต อุปมาดั่งก่อนที่จะมีการเริ่มต้น มันมีแต่จิตไม่มีอะไรเลย เมื่อใดก็ตามที่จิตเริ่มมีความปรารถนาแม้เพียงเล็กน้อยเมื่อนั้นเกิดใจ เพราะฉะนั้นใจคือรูปลักษณ์ของจิต จากความว่างไม่มีอะไรนำไปสู่ความมีอะไร จากความว่างนำไปสู่สรรพสิ่ง การฝึกจิตคือการย้อนกระบวนการดำเนินของการละวางทั้งหมดทั้งสิ้น แล้วนำเข้าหาภายในก็คือความไม่มีอะไร ซึ่งเป็นธาตุแท้ของจิต

จิตแท้ก่อนที่จะกลายมาเป็นใจ มันจะสร้างปราการขึ้นมา 4 ชั้น มนุษย์ปุถุชนจะมี 4 ชั้น ชั้นแรกก็คือ เงากับหน้ากาก หน้ากากก็คือนิยามเกี่ยวกับตนเองในเชิงสังคมที่เรายอมรับ หน้ากากชื่อนั้น สามี ภรรยา คนที่ค่อนข้างมีปัญหาทางการอาการจิตเวชก็จะมีเงา

เงาคือนิยามที่เกี่ยวกับตนเอง แล้วตนเองไม่ยอมรับพยายามเขี่ยมันออกไปจากชีวิต พอไม่ยอมรับก็เป็นที่มาของจิตเวช พอต้องเผชิญกับปัญหาก็จะยอมรับไม่ได้และจะไม่สามารถทนทานกับอุปสรรคที่เข้ามารายล้อมได้ไม่ยอมรับความด้อยของตนเอง มนุษย์ต่ำสุดแค่นี้ คนที่ทำลายกำแพงด่านแรกไปได้ นี่ก็ถือว่าโตมาขั้นหนึ่งแล้ว คนนั้นจะเรียกว่าคนที่มีอัตตา คือภาวะที่หน้ากากกับเงารวมกัน กลายเป็นคนที่มีใจ แต่ใจนี้จะเป็นใจที่ติดกับกายอาจจะแยกออกจากกันได้ เพราะในการที่เราแก้ปัญหาเรื่องปมด้อยที่ซ้อนทับในตัวเราได้ยังอาจจะแก้ปัญหาเรื่องจิตกับกายแยกจากกันไม่ได้ ปุถุชนคนทั่วไป คนที่ทุกข์คือคนที่ทั่วไปคือคนที่จิตกับกายแยกจากกัน หมายความว่า เราอยู่ตรงนี้แต่ใจล่องลอยไปไหนแล้วไม่รู้ คนที่รู้สึกว่าตนเองเกียจคร้าน คนที่รู้สึกว่าตอนนี้ตนเองไม่มั่นใจ คนที่ตนเองแบกโลกไว้ทั้งโลกคือคนที่ใจแยกออกจากกาย ใจเขาไม่อยู่ที่ตรงนี้ปัจจุบันนี้ใจเขาอยู่ทั่วยกเว้นร่างนี้

ปราการด่านที่ 2 ก่อนที่จะเข้าไปหาจิตเดิมก็คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้กายกับจิตรวมกัน โยคะเป็นความพยายามที่จะพูดถึงตรงนี้ โยคะหรือความฝึกจิตที่สำคัญคือ การฝึกให้จิตรวมกับกาย ในบางวิชาที่นั่งมาแล้วบอกว่า จิตไปแดนนิพพานก็คือความล้มเหลวของกระบวนการตั้งแต่แรกแล้ว เพราะจิตแยกกับกาย พอหนักเข้าก็บอกว่า ตนเองมีองค์ใน ก็เข้าใจว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ ถ้าถามผมว่าเป้นความหลงผิด เป็นอวิชชา

การฝึกที่จะพาเราไปตลอดรอดฝั่งถึงเป้าหมายได้คือ การฝึกจิตที่ให้จิตรวมกับกาย แต่ยังต้องผ่านด่านที่ 3 คือชีวิตกับความตาย บางคนมาฝึกจิตเพราะว่ากลัวตาย ฝึกไว้ชาติหน้าจะได้ขึ้นสวรรค์ เพราะเขายังรู้สึกว่าชีวิตกับความตายคือคนละส่วนกัน ชีวิตจึงอยู่ด้วยความกลัว สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือความตาย ถ้าสมมุติว่าผ่านด่านนี้ได้คนๆ นั้นจะชนะเวลา

ด่านสุดท้าย ระหว่างประธานกับกรรม ตัวเราเองกับสิ่งแวดล้อม เขามีความรู้สึกว่าตังเองกับสิ่งแวดล้อมเป็นคนละสิ่งกัน ถ้าผ่านด่านนี้ได้คนๆ นั้นจะชนะพื้นที่ และช่องว่างได้ ด่านนี้ด่านยากที่สุด เพราะด่านนี้มันรักษาความเป็นตัวตนของคนๆ นั้น เพราะผ่านด่านนี้ได้คนๆ นั้นจะไม่มีตัวตน"

นั่งสมาธิจำเป็นหรือไม่
หลังจากที่ทุกคนได้รวมฟังการอธิบายก็ได้ถามวิทยากรว่า "การนั่งสมาธิที่แล้วมาตามธรรมเนียมปฏิบัติจำเป็นหรือไม่สำหรับการฝึกจิต เพราะการนั่งสมาธิแล้วทำให้รู้สึกจิตสงบ สบาย"

ดร. สุวินัยได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่า "เพื่อเข้าถึงอันนี้จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งหลับตา หากถึงขั้นนี้แล้วมันจะอยู่ในทุกอิริยาบถ แต่ว่าการฝึกนั่งสมาธิจำเป็นโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ เพื่อที่จะไร้รูปแบบในขั้นสูง สำหนับมือใหม่จะต้องทำจนชำนาญทั้งๆ ที่มันอยู่กับเราตลอดเวลาคนเราแตกต่างระหว่างมนุษย์เพราะความคิด พอเริ่มคิดก็เริ่มวินิจฉัย เริ่มให้คุณค่า ก่อนที่จะเริ่มคิดคนเราไม่แตกต่างกันหรอก แถมไม่แตกแยกกับสิ่งแวดล้อมด้วยซ้ำไป เพื่อเข้าถึงภาวะนี้มันมีคำแนะนำหลายๆ ประการ

1. อย่าเอาจิตไปอยู่กับอดีต เพราะสิ่งที่ทำลายมนุษย์ได้คืออดีตและอนาคต อดีตทำร้ายเราได้ด้วยความทรงจำ อนาคตทำล้ายเราได้ด้วยความคาดหวัง สมมติว่า คุณถูกตีหัว คุณก็เจ็บตอนนั้น หลังจากนั้นคุณก็ไม่เจ็บอีกแล้วแต่พอคิดทีไรเจ็บแค้นทุกทีแต่ถ้านึกตลอดเวลาคุณจะนึกทุกที่ ที่มันทุกข์เพราะเป็นความทรงจำที่นึกตลอดเวลา

2. ความคาดหวัง ความปรารถนา ตรงนี้ทำให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงความสงบทุกข์ในปัจจุบัน

3. หัดอยู่ในภาวะที่ไม่พยายามคิดอะไร เป็นภาวะที่ผ่อนคลายอย่างถึงที่สุด ไม่ใช่เกิดทางอารมณ์ เมื่อเข้าถึงจะพบว่าความจริงของสรรพสิ่งคืออะไร มันเป็นภาวะที่สมบูรณ์เหนือสรรพสิ่ง เหนือกาลเวลา เมื่อถึงแล้วคนๆ นั้นก็จะพบสิ่งที่ตนเองแสวงหาตนเองสมบูรณ์อยู่แล้วสิ่งที่ตนเองแสงหาคือความสูญเปล่า เป็นแนวทางที่จะได้เข้าใจ"

 


 

ร่วม "ปรุงอาหารทางจิตวิญญาณ"
ด้วย "สมาธิวัชรเซน"


ประตูห้องถูกปิดลงเบาๆ ภายหลังจากผู้มาเยือนคนสุดท้ายมาถึง แสงเทียนทอประกายสล้างสลัว กลิ่นธูปลอยคว้างอ้อยอิ่ง ภายนอกนั้นยังสับสนขวักไขว่ไปด้วยรถราซึ่งยังเต็มท้องถนน แต่ภายในห้องเล็กๆ บนชั้นสองของ "บ้านโยคี" กลับสงัด...เงียบ...พร้อมสำหรับการเข้าสู่ความสงบนิ่งแห่งจิตใจอย่างแท้จริง...

นับเป็นครั้งที่ ๘ แล้ว สำหรับการอบรม "สมาธิวัชรเซน" หรือที่เรียกตามแบบธิเบตว่า "อติโยคะ" ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอังคารที่ ๓ ของทุกเดือน ณ ร้านอาหารมังสวิรัติ "บ้านโยคี" บนถนนตะนาวแห่งนี้ โดยการนำของ อ.สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วิถีการปรุงอาหารทางจิตวิญญาณ

"โอกาสจะเกิดเป็นคนนี่ยากมาก คนเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่สามารถจะพัฒนาได้ สัตว์เดรัจฉานนี่เกิดยังไงก็ตายอย่างนั้น อย่างเก่งมันก็เห่าบ๊อกๆ ยืน ๒ ขา พัฒนาได้แค่นั้น แต่ถ้าเกิดเป็นคนเรามีโอกาสที่จะพัฒนาได้ จะเป็นอะไรก็ได้ แล้วแต่เราจะเลือก คือโอกาสที่จะพัฒนาได้นี่หายากมาก พอเกิดเป็นคนแล้วก็อย่าให้เสียชาติเกิด ควรจะได้ในสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้"


พงษ์ศักดิ์ เพียรพานิชย์
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้าร่วมอบรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ กล่าวแสดงความรู้สึกต่อการเข้าอบรม ทั้งยังกล่าวต่อไปว่าโอกาสที่ยากยิ่งไปกว่าการเกิดเป็นคนก็คือโอกาสที่พบครูแท้ หรือพบกัลยาณมิตร โอกาสที่จะหาบรรยากาศที่จะได้ฝึกตัวเองนั้นยาก และมันมีเงื่อนไขอยู่ตลอดเวลา กว่าจะมีโอกาสได้อยู่กับบรรยากาศที่เอื้ออำนวยก็นับว่ายากอีก ซึ่งโดยส่วนตัวเขาเองนั้นรู้จักกับ อ.สุวินัยจากการอ่านหนังสือจึงคิดว่าตอนนี้พบทั้งคุรุและบรรยากาศการฝึก จึงคิดว่าโอกาสเช่นนี้ไม่ควรจะพลาด


"คำสอนแบบวัชรเซนนี่ ในแง่หนึ่งคือมันเป็นการสอนแบบเต๋า ก็คือแบบขั้นสูงสุด เป็นสายปัญญาของเต๋า ถ้าเป็นเซนวัชรเซนก็คือเป็นเซนของตั๊กม้อ ก็คือ กายวัชระ จิตวัชระ และธรรมวัชระ แต่ถ้าเป็นโยคะแล้ว จะเรียกว่า อติโยคะ"

อ.สุวินัยเล่าถึงการทำสมาธิแบบที่ตนสอน พร้อมกับอธิบายต่อไปว่า คำสอนแบบนี้ไม่ใช่เป็นการฝึกสมาธิ แต่เป็นการฝึกการตระหนักรู้ และสิ่งที่ตนได้สอนนี้ก็คือเป็นการสอนให้กับคนที่มาได้สัมผัสเท่านั้น ส่วนคนคนนั้นจะได้หรือไม่ได้อย่างไรก็แล้วแต่ตัวของเขาเอง ถิอว่าเป็นเสมือนการ "ปรุงอาหารทางจิตวิญญาณ" ให้คนที่มานั้นได้นั่งสมาธิร่วมกันเดือนละครั้งเท่านั้น ถ้าใครมาแล้วรู้สึกว่า "ถูกจริต" ก็มาอีกบ่อยๆ แต่ถ้าใครที่มาแล้วไม่ชอบนั่นก็เป็นสิทธิ์ของเขาที่จะมาหรือไม่มาอีกก็ได้


ปัญญา...ความเข้าใจ : วิถีสู่การเรียนรู้

ความสามารถในการเข้าถึงสิ่งต่างๆ ของคนมีไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบถึงบัว ๔ เหล่า ที่โอกาสที่จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเบ่งบานรับแสงอรุณก็ย่อมแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ "คุรุทางธรรม" จึงต้องหาอุบายในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายที่สุด

อ.สุวินัย ได้กล่าวถึงวิธีการสอนในแบบของตนว่าการเรียนแบบนี้ต้องพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียนจึงจะสำเร็จ "การสอบแบบโบราณมันต้องดูคน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับเราด้วย ต้องรู้ว่าคุณจะสอนอะไร ก็เหมือนกับการทำกับข้าว จริงๆ แล้วที่เราสอนมาอาจจะมีสัก ๖-๗ อย่าง เพียงแต่ว่าวันนี้เราจะสอนอะไรเท่านั้นเอง เพราะว่าคนอาจจะไม่ชินกัน แต่มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ถ้าไม่มีความเข้าใจการสอนแบบนี้มันก็ประโยชน์อาจจะได้ไม่มาก เพราะบางคนเขาไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร บางคนอาจจะคิดแค่ว่าทำไปเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มันไม่ใช่แค่นั้น เราพยายามฝึกลมปราณก็ได้ มันขึ้นอยู่กับปัญญาในการเข้าใจ เหมือนคอมพิวเตอร์นั่นแหละ คุณใช้แค่เล่นเกมก็ได้ ใช้แค่พิมพ์หนังสือก็ได้"

อ.สุวินัยยอมรับว่า "อติโยคะ" ที่ตนกำลังพยายามสอนอยู่นี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก สอนแบบธรรมดาๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยบรรยากาศเข้ามาช่วยด้วย และการถ่ายทอดก็ต้องเป็นเดือนละครั้งเพราะถือเป็นธรรมะขั้นสูง และคนในภาวะธรรมดาก็ทำไม่ได้ จะต้องอยู่ในภาวะที่เป็นสมาธิเพื่อให้จิตใจเปิดกว้างเสียก่อน อีกทั้งไม่มีวิธีหรือเทคนิคใดๆ ที่จะเข้าถึงได้โดยง่ายอีกด้วย

"ก็สอนวิธีปฏิบัตินะ แต่ต้องยอมรับ คือมันไม่มีเทคนิคอันไหน ไม่มีโยคะอันไหนที่สอนความรู้แจ้งได้โดยตรงหรอก สอนแต่ความรู้ได้ แต่สอนความรู้แจ้งโดยตรงไม่ได้ ก็เหมือนกับอาหาร น้ำชานี่รสชาติเป็นยังไงคุณต้องกินมัน แต่ประวัติของชาเป็นยังไง ทำชาทำยังไงนี่บอกได้ การที่มาฝึกร่วมกันนี่เขาเรียกว่าให้ความรู้โดยตรง เพราะฉะนั้นวัชรเซนที่สอนก็คือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความรู้แจ้งเท่านั้นอย่างอื่นถือว่าเป็นเปลือกกระพี้ แก่นธรรมก็มีอยู่แค่นี้แหละ มันต้องเข้าใจ" ยากแค่ไหนไม่รู้ได้ แต่จากคำบอกเล่าของ อ.สุวินัย ก็คือคำสอนแบบ "อติโยคะ" นี้ "ล้านคนจะรู้สัก ๑๐ คน"


ปล่อยเมื่อไหร่ ได้เมื่อนั้น

อ.สุวินัยใช้เวลาก่อนที่จะเข้าสู่การ "รับประทานอาหารร่วมกันทางจิตวิญญาณ" เล่าให้ฟังเกี่ยวกับสมาธิวัชรเซนต่อไปว่า การที่จะเข้าถึงได้เพียงใดนั้น ที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับ "ปัญญา" ของผู้ฝึกเอง ซึ่งต้องฝึกจนเข้าใจความหมายของคำที่บอกว่า "ปล่อยวางแล้วจึงเกิดความว่าง" และ "สมาธิแบบเป็นไปเอง" ซึ่งไม่ต้องอาศัยความมานะพยายามใดๆ เนื่องจากจิตในสภาวะที่เข้าใจเช่นนี้แล้วจะเป็นเสมือนดอกบัวที่ต้องแสงแดดก็บานอย่างเต็มที่นั่นเอง ซึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตมีความสมบูรณ์ในตัวแล้ว ไม่ต้องการสิ่งแต่งเติมหรือลดทอนใดๆ อีก และความคิดของการเข้าถึงการรู้แจ้งคือ ความผ่อนคลายอย่างสิ้นเชิงของกายและใจ เฝ้าดูอย่างสงบและตระหนักรู้อย่างสงบ แต่สิ่งที่ยากก็คือคนยัง "ปล่อยวาง" ไม่ได้นั่นเอง

"คนเราจะปล่อยวางได้อย่างสิ้นเชิงมันต้องตายทั้งเป็น คนที่ไม่เคยตายทั้งเป็นจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ ต้องเข้าใจเรื่องนี้ คนชอบมองว่าความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว ผมบอกความจริงแล้วความตายทั้งๆ ที่ยังมีลมหายใจอยู่ต่างหากเป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็น ถ้าหากว่าต้องการจะข้ามพ้นจากตัวกูของกู เพราะความยึดมั่นเรื่องชีวิตอันนี้แหละที่ทำให้มนุษย์ไม่เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ เราจะเป็นอย่างพระพุทธเจ้าได้เราต้องตายทั้งๆ ที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ซึ่งลำบาก มันไม่มีใครยอมหรอก ถ้าคุณตายตอนนี้คุณก็บรรลุธรรมได้ มีแต่คนประเภทนี้เท่านั้นคุณถึงจะได้ ต้องมีความรุนแรงทางจิตใจได้ขนาดนี้คุณถึงจะได้ ก็คือนอกจากบรรลุธรรมแล้วไม่มีอย่างอื่น มีแค่นี้ มีแต่คนประเภทนี้ถึงจะบรรลุธรรม"

อย่างไรก็ตาม อ.สุวินัยมองว่า ทุกคนล้วนแต่บรรลุอยู่แล้ว และสามารถเข้าถึง "พุทธะ" ได้ทุกคน แต่เขาจะมี "ปัญญา" เข้าถึงได้ไหมเท่านั้น

"เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับศีลไม่เกี่ยวกับอะไร เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ คือคนเรามันบรรลุอยู่แล้วทุกคน เหมือนกระจกไง แต่ปัญหาก็คือคนไหนที่รู้สึกว่าเขายังไม่บรรลุก็คือเขายังมีความไม่ศรัทธาในวุฒิภาวะของตัวเองอยู่ เหมือนกระจกนั้นมีโคลนที่ปะจนหนามากและไม่สามารถที่จะสะท้อนแสงได้ เพราะฉะนั้นเราต่างกันตรงนี้ที่ใครจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่ากัน แต่คุณสมบัติในการสะท้อนแสงนี่เหมือนกัน นี่มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก มันเป็นปัจเจกจริงๆ เรื่องคุณสมบัตินี่ทุกคนรู้แจ้งอยู่แล้ว เพราะเป็นกระจกเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงก็คือว่า เขายังไม่สามารถอยู่กับความเป็นกระจกได้ ต้องพยายาม พยายามจนไม่ต้องพยายาม"

อ.สุวินัยย้ำถึงความสำคัญของ "การพยายามจนไม่ต้องพยายาม" นี้ว่า เป็นศิลปะที่มีความสำคัญมาก เพราะศิลปะในการใช้ชีวิต เป็นศิลปะในการเข้าถึงเพื่อให้รู้ถึงการผ่อนคลายที่แท้จริง และเมื่อถามถึงระยะเวลาในการฝึกของ "คุรุ" บ้าง อ.สุวินัยตอบสั้นๆ ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นว่า "ทุกลมหายใจ"


สมาธิใน "ภาวะอุ้มบาตร"

เสียงลมหายใจผะแผ่ว...ช้า พร้อมกันนั้นมือทั้งสองข้างก็ค่อยๆ ขยับเคลื่อนอย่างละมุนละไม ตามท่วงทีพลิ้วไหวของลมหายใจ ที่ดูจะประสานกลมกลืนไปกับวิถีที่เอื่อยช้า แต่ทว่าทรงพลังของท่วงทำนองเพลงแนวธิเบตที่ดังแว่วอยู่ในโสตประสาท... "ภาวะอุ้มบาตร" คือวิธีการปฏิบัติสมาธิวัชรเซนในครั้งนี้...แล้วเสียงทุ้มก้อง และชัดเจนของ อ.สุวินัย ก็แทรกขึ้นในความเงียบ

"ตามองปลายจมูก เกร็งท้องเอาไว้ มือซ้ายยก ค่อยๆ เคลื่อนแบมาจดที่ท้อง ให้สิ้นสุดลงภายในลมหายใจเข้าครั้งเดียว กลั้นลมหายใจจนกว่าจะทนไม่ได้ กลั้นจนภายในพลุ่งพล่าน ค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกทางปาก มือขวาค่อยๆ เคลื่อนมาอยู่ระดับหน้าอกในลักษณะหันฝ่ามือซ้ายและขวาเข้าหากัน ให้สิ้นสุดลงภายในลมหายใจออกครั้งเดียว...."

มือทั้งสองค่อยๆ เคลื่อนมาอยู่ที่เข่าทั้งสองข้าง ก่อนที่ดวงตาทั้งคู่จะเรื่อยมาสบกับผู้เข้าอบรมทั้งหมด "วิธีนี้จะเป็นการเข้าสู่ความสมดุล เข้าสู่ภาวะหยิน-หยาง ที่สุดแล้วคือความนิ่ง ความสามารถในการเคลื่อนไหว เข้าสู่ความตระหนักรู้ ปลุกจิตวิญญาณให้ตื่นโพลง เราอาจหลุดไปได้ในชีวิตประจำวัน แต่อย่าโทษมันจงพยายามใหม่ รูปแบบคือุปสรรคสูงสุด ในการเข้าถึงเสรีภาพที่ไร้ขอบเขต ต้องหาสมดุลให้กับตัวเอง นิ่งในนิ่ง...นิ่งในไหว...ไหวในไหว..."


การเติมเต็มจิต...สู่พลังชีวิต

"แต่ละครั้งที่มาก็คล้ายๆ กัน แต่ว่าให้ความเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้น มันติดขัด คล้ายๆ เราแก้โจทย์ไม่ได้ก็มาฟังอีก ให้กลับไปแก้โจทย์ได้ ก็กลับไปแก้โจทย์เราต่อ มันพูดลำบาก มันต้องลอง การมาที่นี่มันก็เหมือนกับที่เราไปตักน้ำใส่ตุ่ม และตักมาครั้งเดียวมันก็ยังไม่เต็ม ต้องไปตักเรื่อยๆ เพื่อให้เต็มตุ่ม"

ขวัญชัย หักทะเล ซึ่งเดินทางมาจากศรีราชาเพื่อมาฝึกเป็นครั้งที่ ๓ เล่าถึงการฝึกครั้งที่ผ่านมา และเมื่อถามถึงความรู้สึกในการฝึก ก็ได้รับคำตอบเป็นเสียงหัวเราะ และกล่าวสั้นๆ ว่า "เหมือนกับเราดูหนังแล้วเราติดใจ จนต้องไปซื้อวีซีดีมาดูอีก คือมันดี มันลึกซึ้ง บอกไม่ได้ว่าดียังไง มันต้องสัมผัสด้วยตัวเอง"

ส่วนผู้ที่ยอมรับว่าตนเองไม่มีความก้าวหน้าในการฝึกเลยทั้งๆ ที่มาเป็นครั้งที่ ๖ แล้ว อย่างเช่น ฉันทิศา ทองอุปการ พนักงานมิตซุยเทเลคอม ผู้นี้เธอเล่าว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เธอมาเป็นประจำแม้จะรู้ตัวว่าสภาวะสมาธิของตัวเองไม่ได้ก้าวหน้าขึ้นเลยก็ตาม นั่นคือเธอรู้สึกว่าวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบนี้ทำให้เธอสดชื่น เหมือนได้รับพลังชีวิตเพิ่มขึ้น


"รู้จักโดยการเข้าเว็บของ อ.สุวินัย อ่านหนังสือมูซาชิ ศรัทธาอาจารย์มานานแล้ว คิดว่าสอนแต่เด็ก มธ. แต่พอรู้ว่าเปิดกว้างก็สนใจ เคยฝึกสมาธิปกติตามที่พระสอน ท่านก็สอนดี แต่เราตัน ไม่ก้าวหน้า ขี้เกียจด้วย เวลาปฏิบัติมันอึดอัด มันไม่รู้จะไปทางไหน บางทีก็อึดอัดเรื่องสันโดษ ก็สันโดษอะไรน้า มันต้องสงบ มันต้องพอเพียง อยู่ในวัดเราก็นั่งคิดว่าเราต้องพอนะ แต่พอออกมานอกวัดแล้วมันก็อยากได้ไปหมด มันขัดแย้ง อะไรๆ ก็ไม่ลงตัว มันอึดอัด เราจะวางตัวยังไงดี ใจหนึ่งก็รักทางธรรม แต่ว่าเวลาทำงานก็ทะเยอทะยานทางโลกด้วย รู้สึกมันไม่ลงตัว เราเองก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพด้วย ไม่แข็งแรง กระเสาะกระแสะ พอมาฝึกกับอาจารย์ครั้งแรก อาจารย์ก็สอน สอนวิธีให้กลั้นลมหายใจ ให้กายกับจิตผนึกแน่น ไม่ใช่วิธีที่พระสอน แต่วันนั้นไม่คิดว่ามันเป็นสมาธิ คิดว่าอาจารย์จะสอนเรื่องกำลังภายใน สุขภาพ รู้สึกดีมาก วันแรกรู้สึกสดชื่นเลย ก็ติดใจ ก็ไม่รู้ว่านี่คือสมาธิแบบหนึ่ง ตอนหลังก็มาเรียนหลายๆ ครั้ง ก็เริ่มเข้าใจที่อาจารย์สอนว่าเป็นการฝึกสติ กายกับใจต้องแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว เลยรู้สึกว่าได้หลายอย่าง ได้ฝึกสมาธิด้วย ฝึกสติด้วยและดีกว่าสุขภาพด้วย"


ที่สุดคือ...ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง

แม้ผู้ที่เข้าร่วมฝึกสมาธิวัชรเซนจะยอมรับว่า เป็นแนวทางที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการฝึกตนเอง แต่ อ.สุวินัย ก็เปิดใจว่า ไม่อยากเปิดเผย "ศิลปะ" นี้สู่วงกว้างมากนัก เพราะคนที่รับได้จริงๆ จะมีอยู่น้อย และวิธีนี้ก็เป็นการถ่ายทอดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ไม่ใช้การถ่ายทอดสู่วงกว้าง นอกจากนี้เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นระยะเวลาที่เร็วสำหรับการที่จะเผยแพร่คำสอนนี้ในสังคมไทย และความคิดนี้ก็ถือว่ารุนแรงไปในความคิดของคนไทย

"คำสอนแบบนี้ เผยแพร่ออกไปมากมันก็ไม่ดีเพราะเหมือนกับลบหลู่ศาสนาที่บอกว่าศาสนาก็ไม่จำเป็น พระก็ไม่ต้องไปกราบไหว้ บาบาไม่มี ถ้าเอาขนาดนั้นนะ บาบาไม่มี เราคือบาบา เราคือพุทธะ มันแรงมาก สเต็ปนี้มันแรงมาก แรงเกินกว่าคนธรรมดาจะรับได้ จึงบอกว่าถ้าคนน้อยก็ไม่เป็นไร นี่ไม่ได้ตั้งลัทธิใหม่นะ ไม่ได้อะไรทั้งสิ้น แต่ว่าถ้าทางประสบการณ์ทางวิญญาณก็เป็นเรื่องแบบนี้ทั้งหมด" อ.สุวินัยอธิบาย พร้อมทั้งกล่าวว่าการปฏิบัติธรรมของคนส่วนใหญ่จะไม่ใช่ความบริสุทธิ์เลย เพราะเขาจะต้องออกไปแสวงหาและต้องมีรูปแบบอยู่ร่ำไป ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเพราะเขาไม่เคยอยู่ในโลกของเอกบุรุษ และไม่เคยอยู่ในโลกของเอกสตรี ยังเป็นโลกที่มีพระเจ้าอยู่ มีพระพุทธรูป และมีศาสนาอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่มี ไม่มีพรุ่งนี้ และนิพพานก็ยังไม่มี ซึ่งความคิดนี้เองที่ถือว่ารุนแรงไปสำหรับสังคมไทย

"รูปธรรมคืออวิชาทั้งหมดที่ดึงให้เราติดยึดกับผัสสะทั้งหมด อย่างเราตีโต๊ะนี่มือเราเจ็บ เพราะตอนนี้จิตเราอยู่กับกายเนื้อแล้ว แต่ถ้าเราตีไป แล้วดูว่าเราคือเราที่กำลังดูตัวเราที่กำลังเจ็บเพราะมือเราตีโต๊ะอยู่ เราไม่ได้อยู่กลับรูปธรรม เราไม่ได้อยู่กับความแข็ง แต่เราเห็นความแข็งที่กายสัมผัสอยู่ แต่นั่นไม่ใช่ตัวเรา คือถ้าอยู่ในภาวะแบบนี้แล้วนี่คือภาวะของวัชระ แต่ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้สามารถทนทานต่อการสอนแบบนี้ได้ ไม่งั้นก็ต้องทะเลาะกันอีก มีนิกาย มีศาสนาแยกมีคริสต์มีพุทธ มีเถรวาท มีมหายาย มีวัชรยาน มีคุรุนั้นคุรุนี้ มีตัวเรามีคนอื่น พอมาอย่างนี้แล้วก็ไม่มีแล้ว มีแต่จิตเดียวล้วนๆ เพราะตอนนี้เราเป็นนามธรรมแล้วนี่ ถ้าตอนนี้คุณเป็นหยดน้ำอยู่ที่ภูเก็ต คุณจำเป็นต้องอยากเป็นหยดน้ำอยู่ที่ฟลอริดามั้ย ไมอามี่ไหม มันไม่จำเป็น ถ้าคุณเป็นน้ำในภูเก็ตนะ แล้วคุณยังกระเสือกกระสนไปหาน้ำที่ฟลอริดา ไมอามี่ คุณก็ยังทุรนทุรายอยู่อย่างนั้น คุณต้องเดินทางไปทั่วโลกมั้ยเพื่อที่จะบอกว่าคุณเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง มันก็ไม่จำเป็น ถ้าคุณรู้สึกมันเป็นหนึ่งเดียวจริงๆ มันไม่จำเป็น การที่คุณยังมีความเคลื่อนไหวอยู่เพราะเราไม่เคยรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวต่างหาก"

เสียงเพลงที่บรรเลงแว่วนานนับ ๒ ชั่วโมงเริ่มแผ่วลง "ผู้มาเยือน" เริ่มทยอยกันออกไปสู่แสงไฟเจิดจ้าภายนอก "บ้านโยคี" การฝึกสิ้นสุด แต่ยังไม่สุดสิ้น เพราะดวงตะวันก็ยังคงจะเวียนมาอีกครั้ง และแสงจันทร์ก็ยังคงสาดแสงอยู่ในราตรีกาลนั้น...

.
..ในอนาคตข้างหน้า "สมาธิวัชรเซน" หรือ "อติโยคะ" จะสามารถแทรกซึมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในความคิดความเชื่อของคนไทยได้หรือไม่...กาลเวลาเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้คำตอบ




 

 


 

 




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้