คมดาบซากุระ 2 : วิบัติเศรษฐกิจไทย : วิบัติจำนำข้าว โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (5 กุมภาพันธ์ 2557)

คมดาบซากุระ 2 : วิบัติเศรษฐกิจไทย : วิบัติจำนำข้าว โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (5 กุมภาพันธ์ 2557)


วิบัติเศรษฐกิจไทย : วิบัติจำนำข้าว


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

5 กุมภาพันธ์ 2557


 
       เฉกเช่นไททานิกที่กำลังจะจม
       เรือ “จำนำข้าว” ลำนี้จะฉุดใครจมลงไปกับมันบ้าง?

      

       วิบัติจำนำข้าวถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอภิมหาโครงการที่มีการขาดทุนมาก ที่สุดและผลประโยชน์ถึงมือชาวนาน้อยที่สุดก็ว่าได้ และบัดนี้ได้มาถึงช่วงสุดท้ายของมันแล้ว เฉกเช่นเรือที่กำลังจะจม มันจะฉุดกระชากลากใครจมลงไปกับมันบ้าง?
       


       การจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดนั้นถือได้ว่าเป็นนิติกรรม อำพรางการซื้อเสียงผ่านการซื้อข้าวจากชาวนาของพรรคเพื่อไทย เหตุก็เพราะไม่ได้มีความประสงค์ให้ผู้จำนำกลับมาไถ่ถอนทรัพย์สินที่นำมาจำนำ แต่อย่างใด ราคาซื้อที่สูงกว่าราคาตลาดเป็นเงื่อนไขของการขายขาดหาใช่จำนำไม่
       


       ประเด็นสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือเป็นการทำลายอุตสาหกรรมข้าวของ ประเทศให้ย่อยยับไปกับโครงการจำนำข้าว เหตุก็เพราะจำนำข้าวคิดต่อน้ำหนักข้าวเป็นกิโลกรัมเป็นตันเป็นเกวียนหาใช่ ตามคุณภาพแต่อย่างใดไม่ หากมิใช่ข้าวหอมมะลิข้าวบ้าอะไรก็จำนำได้ 15,000 บาทต่อตัน ใครจะมามีใจปรับปรุงผลิตหรือรักษาคุณภาพข้าว ในขณะที่เกิดการลักลอบนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์จำนำอีกต่างหาก รัฐมีหน้าที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้ค้าขายด้วยหรือ?
       


       การ “จำนำข้าว” จึงเป็นเช่นดัง “แชร์แม่ชม้อย” ที่เป็นการต้มตุ๋นครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยประสบพบมา เป็นการเอาเงินคนจำนำข้าวคนล่าสุดไปจ่ายให้กับคนจำนำคนก่อนหน้า มิได้มีการซื้อมาขายไปดังเช่นการจำนำข้าวทั่วไปแต่อย่างใดไม่
       


       การซื้อข้าวในราคาสูงมาขายในราคาที่ต่ำกว่าทำให้วงจรการ “จำนำข้าว” สั้นลงไปเรื่อยๆ เพราะผลขาดทุนที่เกิดขึ้นย่อมทำให้ขนาดเงินทุนหมุนเวียนลดลง ในขณะที่ “จำนำทุกเมล็ด” ข้าวจำนวนมากที่ซื้อเข้ามาเก็บไว้ไม่สามารถขายออกไปด้วยเหตุใดก็ตามแต่ก็ ย่อมจะเสื่อมสภาพเน่าเสียไปตามกาลเวลาเพราะมิใช่กระดาษใบหุ้น
       


       หากคิดเอาจากตัวเงินที่จ่ายซื้อข้าวไปเกือบ 7 แสนล้านบาทจากวงเงินหมุนเวียน 5 แสนล้านบาทที่กำหนดไว้เดิมตามมติครม. แต่ระบายขายออกไปได้เพียงประมาณ 1.46 แสนล้าน ในขณะที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแจ้งตัวเลขการขาดทุน “จำนำข้าว” ณ สิ้นเดือน พ.ค. 56 ถึง 3.3 แสนล้านบาทซึ่งหากคิดถึงปัจจุบันน่าจะมีเพิ่มมากถึงกว่า 4 แสนล้านบาท แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีเงินทุนไว้ใช้สำหรับหมุนเวียนจ่ายค่าข้าวเหลือเพียงไม่เกิน 7 - 4 = 3 แสนล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในรูปของข้าวในโกดังมากกว่าเงินสดในมือ
       


       การชักดาบเบี้ยวเงินชาวนาสำหรับค่าข้าวอีก 1.3 แสนล้านบาทในรอบครึ่งหลังปี 56 ที่ชาวนาได้แต่ใบประทวนแต่ไม่ได้เงินจึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนที่ ดีว่าการต้มตุ๋น “จำนำข้าว” กำลังจะถึงกาลอวสาน เหตุก็เพราะทุนหายกำไรหด โครงการนี้ไม่ได้เป็นการซื้อขายข้าวตามสภาพความเป็นจริงแต่อย่างใด หากแต่เป็นการ “ซื้อเสียง” จากชาวนาของพรรคเพื่อไทยด้วยงบประมาณของรัฐ ผ่านโครงการ “จำนำข้าว” ต่างหาก ส่วนจะมีการขายข้าวได้หรือไม่เป็นอีกเรื่อง


       
       ต่อข้อสงสัยที่ว่าทำไมจึงไม่ระบายขายข้าวที่ซื้อมาจำนวนมากมายออกไป แม้จะขาดทุนแต่ก็จะมีเงินมาหมุนเวียนจ่ายให้ชาวนาดีกว่าจะต้องไปกู้เงินมา จ่ายที่ขัดกับมติครม.ตนเองและกฎหมาย
       


       ประเด็นนี้มีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการก็คือ (1) เมื่อถูกจับได้ว่าไม่มีสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือ G to G ตามที่อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์แถลงไว้ก่อนหน้านั้น ผลก็คือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่สามารถที่จะขายข้าวตามอำเภอใจโดยอ้างการขายรัฐ ต่อรัฐโดยไม่มีการประมูลได้อีก และ (2) หากต้องประมูลขาย นอกเหนือจากการขายขาดทุนแล้ว จำนวนและคุณภาพข้าวที่จะมาประมูลซึ่งจะเป็นเงื่อนตายรัดคอตนเองเนื่องจากคน ทั่วไปจะทราบข้อมูลที่พยายามปกปิดได้ว่ามีข้าวคุณภาพที่สามารถขายได้หลง เหลืออยู่หรือไม่ และหากมีอยู่ในจำนวนเท่าใด เป็น “ข้าวหมา” ที่คนกินไม่ได้มากหรือน้อยกว่า “ข้าวคน” สักเท่าใด
       


       นอกเหนือจากการสร้างวิบัติให้ชาวนาและอุตสาหกรรมข้าวไทย “โต้ง” ผู้โกหกกำลังจะเอาตัวเองและยิ่งลักษณ์จมไปกับเรือ “จำนำข้าว” ไปติดคุก คุก และ คุก . . . จากการกู้เงิน 4 หมื่นล้านไปจ่ายเงินให้ชาวนา
       


       ประเด็นก็คือ การกู้เงินในช่วงรักษาการเป็นการผูกพันรัฐบาลหน้า รัฐธรรมนูญห้ามเอาไว้เป็นเด็ดขาดมิให้กระทำ ไม่ว่าตัวเองจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ผู้ชี้ขาดคือศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่สำนักงานกฤษฎีกา
       


       การฝ่าฝืนกระทำไปทั้งที่รู้อยู่แก่ใจเพียงเพื่อต้มตุ๋นชาวนาอีกครั้ง เพราะได้พยายามไปล่อหลอกทำทีเป็นขออนุญาต กกต. แต่ กกต.ก็ทราบดีว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะอนุมัติได้
       


       การประมูลเงินกู้ 4 หมื่นล้านบาทในวันพฤหัสที่ 6 นี้จะเป็นการสร้างความวิบัติให้เกิดกับธนาคารที่มาปล่อยกู้ สร้างวิบัติกับเจ้าของและผู้ฝากเงินธนาคารนั้นอย่างเลือดเย็นและอำมหิต
       


       หากธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอื่นใดมาให้กู้กับรัฐบาล นิติกรรมการกู้เงินดังกล่าวจะเป็นโมฆะตั้งแต่ต้นดุจดังการให้กู้เงินกับเด็ก ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สัญญาที่ทำไว้จึงใช้บังคับไม่ได้ไม่ว่ากับตัวเด็ก (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) ที่เป็นคู่สัญญาเองหรือกับรัฐบาลหน้าหรือประชาชนที่เป็นเสมือนพ่อแม่ผู้ ปกครอง
       


       การปล่อยกู้เช่นนี้จึงเป็นการฉ้อโกงเงินธนาคารตนเองโดยผู้บริหาร เนื่องจากรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสสูงมากที่จะไม่ได้รับการชดใช้ในอนาคตแต่ก็ ยังไปอนุมัติให้กู้ ด้วยกฎหมายที่มีอยู่นั้นห้ามมิให้รัฐบาลเอาเงินประชาชนมาใช้หนี้ที่รัฐบาล ก่อนหน้าได้ก่อเอาไว้โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากดื้อดึงฝ่าฝืนปล่อยกู้ก็เป็นกรรมที่ต้องรับผิดชอบเอง
       


       หนทางที่ผู้ฝากจะทำได้ดีที่สุดก็คือถอนเงินฝากที่มีอยู่ไปฝากไว้กับ ธนาคารที่มิได้มีส่วนปล่อยกู้โดยเร็ว ในทำนองเดียวกัน ผู้ถือหุ้นหากไม่ขายหุ้นออกไปก็สมควรจะเตรียมการฟ้องร้องผู้บริหารจากการโกง เงินธนาคารที่ตัวเองบริหารเพราะหนี้ 4 หมื่นล้านมีโอกาสมากที่จะเป็น NPL หรือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งจะมีผลต้องหักออกจากกำไรและส่งผลถึง เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นสมควรได้รับในที่สุด
       


       สำหรับชาวนา การออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เป็นรักษาการจ่ายเงินค่า ข้าวคงเป็นการยากยิ่งกว่ารอให้หิมะตกที่เมืองไทยเพราะยิ่งลักษณ์ไม่เคยขอโทษ เมื่อทำผิด การเรียกร้องให้ลาออกหรือการเป็นแนวร่วมกับ กปปส.น่าจะเป็นทางเลือกเพื่อให้ได้เงินค่าข้าวที่เป็นไปได้มากที่สุดในขณะ นี้
       


       “จำนำข้าว” จึงสร้างวิบัติให้กับรัฐบาลในระบอบทักษิณ ระบบเศรษฐกิจไทย และประชาชนโดยทั่วหน้าเพียงเพื่อหวัง “ซื้อเสียง” จากชาวนามาเสวยอำนาจ



 
วิบัติเศรษฐกิจไทย : วิบัติจำนำข้าว


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้