คมดาบซากุระ 2

โอจิ ชิโฮ (越智 志帆) แห่งวง Superfly เป็นผู้หญิงที่ผมรู้จักและอยากแนะนำให้รู้จักในเบื้องลึกว่า อะไรคือปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้เธอ? หากเป็นในช่วงสร้างชื่อเสียงในราวปี 2005-2007 หลายคนอาจจะบอกว่าเป็นเพราะคู่หูของเธอ ทะโบะ โคอิชิ แต่หากเป็นเช่นนั้นก็จะอธิบายความสำเร็จของเธอหลังจากที่ ทะโบะ ไม่ปรากฏตัวออกหน้าในฐานะสมาชิกของ Superfly ในปี 2007 จนถึงปัจจุบันไม่ได้ หากอิทธิพลของ ทะโบะ มีต่อความสำเร็จของเธอแม้แต่ในห้วงเวลาที่เขาไม่ได้ออกหน้าทำงานร่วมกับเธอ นั้น ส่วนสำคัญน่าจะมาจากการที่เขาแนะนำให้เธอรู้จักศิลปินหญิงผู้หนึ่ง นั่นคือ เจนนิส จอปปลิน (1943-1970) ที่มีชีวิต โด่งดัง และตายไปก่อนที่ โอจิ เธอจะเกิดเสียอีก

ผู้หญิงที่ผมรู้จักและอยากแนะนำให้รู้จักในครั้ง นี้เป็นนักร้องจากบ้านนอกที่สามารถนำพาตนเองเข้ามาสร้างชื่อเสียงใน เมืองกรุงได้อย่างน่าประทับใจ เธอผู้เป็นนักร้องที่ว่านี้คือ โอจิ ชิโฮ (越智 志帆) และ ทะโบะ โคอิชิ (多保 孝一) เซนเซ (ครู) ของเธอแห่งวง Superfly ทั้งคู่รู้จักกันเมื่อเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมัทซึยะมะ ในเมืองเอฮิเมะ (愛媛県) ที่ตั้งอยู่บนตอนเหนือของเกาะชิโกกุ ที่คนไทยมักไม่ค่อยไป ทั้งๆ ที่มีอะไรดีๆ ให้ดูชมชิมอีกมาก ซึ่งอยู่คนละฝั่งของอ่าวกับเมืองโอซะกะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะฮอนชู

นะกะโซโนะ มิโฮะ (中園 ミホ) นำเสนอ ฝันเฟื่องความแปลกใหม่ในหนังจากเรื่องจริงของชีวิต「物語はファンタジーだけど登場人物はリアルに」 ให้กลายเป็นอาวุธลับแห่งความสำเร็จของเธอในยุคหลังฟองสบู่แตก อะไรคือ ความสุข ในชีวิตของคนเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่น แต่งงาน กับ เป็นโสด อะไรคือความสุข? นี่คือสิ่งที่นะกะโซโนะ นำเสนอในหนังชุดพี่สาว หรือ Anego (2005) ที่ ชิโนฮะระ แสดงบทของสาวโสดออฟฟิศวัย 32 โนดะ นะโอโกะ ที่พยายามไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนเองเรียกว่าความสุข

ผู้หญิงที่ผมรู้จักและอยากแนะนำในสัปดาห์นี้ เธอมิใช่นักแสดงนักร้องที่เป็นคนหน้ากล้องที่ผู้ชมมักจะรู้จักมากกว่า หากแต่เป็นคนหลังกล้องที่มีบทบาทสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้กำกับการแสดง คนเขียนบทจึงเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการเป็นผู้ทำโครงสร้างของหนังให้ สามารถตั้งหรือยืนอยู่ได้ หนังจะดีไม่ดีจึงมิใช่อยู่ที่นักแสดงหรือผู้กำกับการแสดงแต่เพียงลำพัง หากแต่อยู่ที่คนเขียนบทที่อยู่ไกลกล้องมากกว่าเพื่อนที่จะสามารถสร้างเนื้อ เรื่องให้ดูน่าสนใจ สร้างบุคคลิกของนักแสดงให้คนดูจดจำได้ เธอผู้นั้นคือ นะกะโซโนะ มิโฮะ (中園 ミホ)

ผู้ชมที่รู้จัก อมามิ ยุกิ (天海 祐希) นั้นส่วนใหญ่น่าจะเริ่มต้นรู้จักจากหนังที่ไม่ซีเรียสเหมือนเช่น 女王の教室 (2005) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทของ โอซะวะ เอริโกะ (大澤 絵里子) “เจ้านาย” หรือ Boss หัวหน้าหน่วยต่อต้านอาชญากรรมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ในหนังชุด Boss (2009,2011) แม้หนังชุดเรื่องนี้จะมีร้อยละของผู้ชมต่ำกว่า แต่ก็เป็นที่กล่าวขานไม่แพ้กันจนต้องมีการสร้างภาค 2 อีก 11 ตอนเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษในอีก 2 ปีต่อมา ที่มาที่ไปของหนังชุดเรื่องนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากความสำเร็จ จากหนังชุดเรื่อง ลิคอนเบนโกะชิ (離婚弁護士) ในปี 2004-2005 ที่ออกอากาศทางสถานีช่อง 8 นั่นเอง จึงเกิดการรวมทีมเดิมขึ้นมาใหม่ ผู้ผลิต มิซึโนะ มิชิโอะ (光野 道夫) ผู้เขียนบท โคะบะยะชิ ฮิโรชิ (林 宏司) และผู้แสดงนำ อมามิ ยุกิ (天海 祐希) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในหนังชุดตำรวจเรื่อง Boss

ชีวิตที่สองของ อมามิ ยุกิ (天海 祐希) นั้นเริ่มจากปี 1995 หลังจากการลาออกจากโรงละครทะกะระซึกะ การเลิกจากนักแสดงนำบทชายหรือ ชุเอง โอโตะยะคุ (主演男役) ที่ใช้ความสามารถในการร้องเต้นมาสู่บทบาทการแสดงที่ส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาการ ร้องเต้นเหมือนละครเวทีที่เคยแสดง นับได้ว่าเป็นความท้าทายเพราะเป็นเสมือนต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่เช่นกัน เธอได้รับบทนำในหนังชุดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี 1997 ในหนังเรื่องซิงเกิ้ล ออกฉายทางโทรทัศน์ช่อง 8 แต่ก็ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก

ผู้หญิงที่ผมรู้จักและอยากแนะนำคนนี้อาจเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีเพราะมีหลายท่านเป็นแฟนมานาน เธอผู้นี้คือ อมามิ ยุกิ (天海祐希) เธอมี 2 ชีวิต แต่ผู้เขียนคิดว่าส่วนใหญ่จะรู้จักชีวิตที่สองของเธอเมื่อมาเป็นนักแสดงชื่อ ดังในชุดทางโทรทัศน์ในช่วงปี 2005-ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบทของทนาย ครู ผู้ประกาศข่าว หญิงมั่นที่ประกาศว่าจะไม่แต่งงาน หรือตำรวจหัวหน้าหน่วยสืบสวน อมามิมีชีวิตที่สองได้ก็เพราะชีวิตแรกของเธอที่โรงเรียนดนตรีทะกะระ ซึกะ และโรงละครทะกะระซึกะ อันอาจกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะที่เจียระไนความสามารถของเด็กสาวญี่ปุ่น มาแล้วกว่า 100 ปี

ในปี 2010 มีหนังชุดทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมือนใครออกมา 2 เรื่องในแวลาใกล้เคียงกันซึ่งผู้เขียนไม่เคยพบเห็นมาก่อนคือ นะกะเซะ โนะ โอนะ (ナサケの女) นำแสดงโดย โยเนะกุระ เรียวโกะ บทภาพยนตร์โดย นะกะโซโนะ มิโฮะ (中園 ミホ) และ โอกอน โนะ บุตะ (黄金の豚) นำแสดงโดย ชิโนะฮะระ เรียวโกะ บทภาพยนตร์โดย โยชิดะ โทะโมะโกะ (吉田 智子) หากยังจำได้ นะกะโซโนะ คือ 1 ในผู้เขียนบท doctor x หนังชุดที่กำลังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะนี้ เธอเขียนบท นะกะเซะ โนะ โอนะ ให้เป็นเรื่องราวของการสืบสวนการหลีกเลี่ยงภาษีของสำนักงานสรรพากรโตเกียว โดย โยเนะกุระ รับบท มัทซึฮิระ มัทซึโกะ (松平 松子) เจ้าหน้าที่สรรพากรที่ย้ายมาจากบ้านนอกที่มีวิธีไล่ล่า-สืบหาการหลบเลี่ยง ภาษีที่ไม่เหมือนใคร ขณะที่โอกอน โนะ บุตะ นั้น โยชิดะเขียนบทให้เป็นเรื่องราวของการคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ โดย ชิโนะฮะระ รับบท ซึซึมิ ชินโกะ (堤 芯子) ลูกสาวร้านขายผักที่เคยติดคุกเนื่องจากต้องคดีฉ้อโกงแต่กลับถูกเสนองานในขณะ ได้ทัณฑ์บนให้มาเป็นหนึ่งในทีมตรวจสอบในสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่คล้ายคลึง กับงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)+ป.ป.ช.ของไทย

ผู้หญิงชื่อ เรียวโกะ อีกคนหนึ่งที่ผมรู้จักและอยากจะแนะนำในสัปดาห์นี้เป็นสาววัยกลางคนที่มี เสน่ห์อีกแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจาก โยเนะกุระ เรียวโกะ (米倉涼子) โดยเฉพาะเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ของเธอในหนังชุดโทรทัศน์เรื่อง unfair (アンフェア) นั้นโหดและมีเสน่ห์มาก เธอผู้นี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ชิโนะฮะระ เรียวโกะ (篠原 涼子) ทั้งสองเรียวโกะอายุอานามก็ใกล้เคียงกันโดยชิโนะฮะระแก่กว่า 2 ปี (เกิด 1973) เริ่มต้นเข้าสู่วงการบันเทิงโดยผ่านการคัดเลือกประกวดร้องเพลงด้วยเพลง สโลว์โมชั่น ของ อะกินะ (中森明菜) แต่ก็ยังไม่ได้โด่งดังจนต้องทำงานในร้านซูชิไปพร้อมกันด้วยเพื่อความอยู่รอด

ระหว่างพิธีเปิดภาคเรียนของโรงเรียนมัธยม มีผู้หญิงลึกลับวัยกลางคน แต่งกายด้วยชุดแดงเริ่ดหรูปรากฏตัวเดินเข้ามาอย่างไม่สะทกสะท้านสายตาทุกคู่ บางคนก็คิดว่าเป็นครูคนใหม่ บ้างก็คิดว่าเป็นแม่ของนักเรียน แต่คงจะมีใครคาดได้บ้างว่า ผู้หญิงคนนี้คือนักเรียนม.ปลายคนใหม่อายุ 35 ปี ที่จะเข้าสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งกับ ครู โรงเรียน ตัวเธอ และเพื่อนร่วมชั้น ด้วยวัยของเธอ เหตุใดเธอจึงต้องมาเรียน ม.ปลาย เหตุใดจึงต้องการหาเพื่อนให้ได้ 100 คน เหตุใดเธอจึงมีความหลังเป็นพิเศษกับการกลั่นแกล้ง หรือ ที่รู้จักในภาษาญี่ปุ่นว่า อิจิเมะ (いじめ) อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของเธอในการเข้ามาเรียน ม.ปลาย เพื่อแก้ปัญหาของครูนักเรียนหรือเพื่อแก้ปมปัญหาของเธอเอง?

ผู้หญิงที่ผมรู้จักและอยากจะแนะนำในสัปดาห์นี้ หลายคนอาจรู้จักจากภาพยนตร์หรือหนังชุดทางโทรทัศน์ เธอไม่เคยร้องเพลง ความเด่นของเธอน่าจะมาจากผลงานการแสดงล้วนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทของ ไดม่อน มิชิโกะ (大門 未知子) หมอผ่าตัดที่ไม่เคยพลาด ในหนังชุดทางโทรทัศน์ Doctor X ที่กำลังฉายภาคแรกอยู่ในเมืองไทยขณะนี้ โยเนะกุระ เรียวโกะ (米倉涼子) มิใช่สาวน้อยเฉกเช่นไอดอลทั่วไป หากแต่เป็นสาววัยกลางคน (39 ปี) จากเมืองโยโกฮะมะ ที่เกิดในเดือนที่ร้อนที่สุด (ส.ค.) พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า เรียวโกะ (涼子) หรือ เด็กเย็น ผู้เริ่มต้นจากการฝึกบัลเลต์ตั้งแต่อายุ 5 ปีและน่าจะเข้าสู่วงการบัลเลต์ แต่กลับเข้าสู่วงการบันเทิงในฐานะนางแบบในหนังสือนิตยสารแฟชั่นสตรี สาวโฆษณาเบียร์ นางแบบชุดว่ายน้ำ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990

ผู้หญิงที่ผมรู้จักในสัปดาห์นี้หลายคนอาจรู้จักเป็นอย่างดีสำหรับ Girl Group ที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลกซึ่งจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก AKB48 นักร้องหญิงกลุ่มนี้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2005 จากไอเดียของ อะกิโมะโตะ ยะสุชิ (秋元 康) ที่อยากสร้างไอดอลที่คนทั่วไปสามารถเข้าใกล้และสัมผัสตัวจริงได้ การแบ่งออกเป็น 3 ทีมๆ ละ 16 คนโดยมีทีมสำรองที่มีสมาชิกอีกเป็นจำนวนมากจึงทำให้สามารถเปิดการแสดงสดที่ โรงละครย่านอะกิฮะบะระได้ทุกวันโดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปและยังสามารถ ขยายตัวออกไปในเมืองต่างๆ ทั้งในและนอกญี่ปุ่นในชื่อตัวย่อต่างๆ กัน SKE NMB HKT JKT SNH ที่ต่างลงท้ายตัว 48 ทั้งสิ้น  พวกเธอไม่ได้เป็นนักร้องประสานเสียง ดังนั้นจึงมีผู้สงสัยหลายคนว่าทำไมจึงต้องมีจำนวนมากมายขนาดนี้? ประมาณ 150 คนจากการสัมภาษณ์กับแอนนา โคเรน

สำหรับคนช่วง 40 ปีขึ้นไป จะมีครอบครัวคนรักหรือไม่ก็ตาม แต่ “กังวลและเปล่าเปลี่ยว” คือความหมายที่แท้จริงของ “ผู้ใหญ่” ในวัยนี้ใช่หรือไม่ ครึ่งทางของชีวิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งที่ยังคงจะต้องเดินต่อไป ยิ่งหากเป็นหญิงโสดตัวคนเดียวด้วยแล้ว ความหมายของชีวิตนับจากนี้คือการแสวงหา “ความรัก” ที่คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเพราะยังต้องแสวงหาอยู่เรื่อยไปตราบชีวิตยังไม่สิ้น จริงหรือไม่? หนังชุดทีวี ไซโกะ คะระ นิบังเมะโนะโค่ย (最後から二番目の恋) หรือ Second to Last Love จึงเป็นภาพจำลองของหญิงโสดในวัยกลางคนผ่าน โยชิโนะ ชิอะกิ (吉野 千明) แสดงโดยโคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) โปรดิวเซอร์หนังชุดทีวีที่ใช้ชีวิตในครึ่งแรกของตนไปอย่างรวดเร็ว จนวันหนึ่งก็พบว่าตนเองนั้นแท้จริงแล้ว “กังวลและเปล่าเปลี่ยว” เมื่อคิดว่าจะต้องใช้ชีวิตอีกครึ่งหนึ่งที่เหลืออย่างไรดี

สำหรับ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) ช่วงเวลารุ่งโรจน์ของเธอน่าจะอยู่ที่หนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981 ชื่อหนังเรื่องนี้ถ้าจะแปลแบบตรงตัวก็คือ เสื้อนักเรียนหญิงที่มีปกใหญ่อยู่ข้างหลังแบบทหารเรือ กับปืนกลมือ ซึ่งจะไม่ได้ใจความเพราะเนื้อเรื่องเกี่ยวประเพณีของแก๊งอาชญากรรมญี่ปุ่น ที่รู้จักว่า ยะกุซะ ที่เธอเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าทางสายเลือดเมื่อพ่อ ของเธอที่เป็นญาติที่ห่างมากคนสุดท้ายของหัวหน้าแก๊งเมะดะกะ ตายจากไปในเวลาเดียวกัน หวยจึงมาออกที่เธอแทน ชื่อที่เหมาะสมน่าจะเป็น สาวม.ปลายหัวหน้าแก๊ง เสียมากกว่า

ถ้าผู้เขียนแนะนำผู้หญิงที่ชื่อ โคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) หรือที่รู้จักในชื่อเล่นว่า คยอง-คยอง (キョンキョン) ก็ต้องแนะนำผู้หญิงคนนี้ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) เพราะเส้นทางเดินในชีวิตของทั้งสองคนมีอะไรอีกหลายๆ อย่างที่ทั้งเหมือนและตรงกันข้าม  ฮิโรโกะ (1964) มีอายุใกล้เคียงกับ คยอง-คยอง (1966) แต่แจ้งเกิดในวงการบันเทิงตั้งแต่ปี 1978 ในขณะที่มีอายุเพียง 13 ปีจากการคัดเลือกผู้แสดงที่มีผู้สมัครถึง 1224 คนในหนังเรื่อง ยะเซ โนะ โชเม (野性の証明) ที่จะต้องมาเล่นบทเด็กอายุ 8 ปีตามท้องเรื่องกับ ทะกะกุระ เคน (高倉健) ที่หลายคนอาจจำได้จากเรื่อง Black Rain ยอดนักแสดงชายชั้นนำผู้หนึ่งของวงการหนังญี่ปุ่น หนังเรื่องต่อมาที่แสดง ท่นดะ โนะ คับพูรุ (翔んだカップル) ในปี 1980 ก็ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในฐานะหนังวัยรุ่น แต่ที่ทำให้เธอกลายเป็นไอดอลขวัญใจคนญี่ปุ่นทั้งประเทศในปี 1981 กลับกลายเป็นหนังแก๊งอาชญากรรม เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ทั้ง 2 เรื่องกำกับการแสดงโดย โซมัย ชินจิ (相米 慎二)

ผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่อยากแนะนำก็คือ โคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) หรือที่รู้จักในชื่อเล่นว่า คยอง-คยอง (キョンキョン) หรือ KYON2 เข้ามาในวงการบันเทิงในปี 1981 ด้วยการเป็นนักร้องผู้ชนะจากการเข้าประกวดร้องเพลงในรายการ สะตาร์ ตันโจ (スター誕生) เช่นเดียวกับ อะกินะ นะกะโมริ (中森明菜) และ มัทซึดะ เซโกะ (松田聖子) แต่รุ่นหลังกว่า... เพลงแรกที่ร้องคือ วะตะชิ จูโรคไซ้ (私の16才) ในปี 1982 http://www.youtube.com/watch?v=jm_gdVCuY9A แต่ไม่ดัง ต้องรอจนอีก 2 ปีให้หลังในปี 1983 จึงเริ่มมีผู้ฟังสนใจและเพลงสามารถไต่อันดับเข้าสู่ 10 อันดับแรกยอดขายแผ่นซิงเกิ้ลที่จัดโดย Oricon (เหมือน บิลบอร์ด ของสหรัฐฯ)

ถ้ากล่าวถึงผู้หญิงที่ชื่ออะกินะ นะกะโมริ (中森明菜) และ มัทซึดะ เซโกะ (松田聖子) แล้วก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องตอบคำถามว่าทั้งคู่ใครเก่งกว่ากัน เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งไปโดยปริยายก็ว่าได้ เหตุก็พอจะเข้าใจได้ เพราะทั้งคู่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงที่แจ้งเกิดและโด่งดังมาในยุคสมัยเดียวกัน คือในช่วงปี 1980-9 และทั้งคู่ยังไม่มีใครเลิกออกจากวงการร้องเพลง ที่สำคัญต่างฝ่ายต่างก็มีแฟนๆ ติดตามอีกเป็นโขยง ผู้เขียนจึงอยากเสนอมุมมองที่เป็นรูปธรรมที่ใช้ความชอบหรือัตวิสัยส่วนตนให้ น้อยที่สุดและอ้างอิงได้ดังต่อไปนี้

ถ้ากล่าวถึงผู้หญิงที่ชื่ออะกินะ นะกะโมริ (中森明菜) แล้วไม่พูดถึงผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่มีอะไรอีกหลายๆ อย่างที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ผู้หญิงที่ผมรู้จักคนต่อไปที่จะแนะนำเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเธอ มัทซึดะ เซโกะ (松田聖子) เซโกะเป็นนักร้องรุ่นพี่อะกินะ เข้าวงการก่อน (1980) และมีอายุมากกว่า 3 ปี (เกิดปี 1962) เส้นทางสู่ความสำเร็จที่แจ้งเกิดในวงการเริ่มจาก 2 เพลงแรกที่ขายได้ไม่ดีนัก คือ ฮาดะชิ โนะ คิเซทซึ (裸足の季節) และ อาโอ่ย ซังโกะโชะ (青い珊瑚礁) แต่ก็เป็นการปูทางให้เพลงที่สาม คะเซะวะ อะกิอิโระ (風は秋色) http://www.youtube.com/watch?v=KC4FMN1sXqE ที่สามารถเข้าสู่และคงอยู่อันดับหนึ่งของ Oricon ได้ติดต่อกันหลายสัปดาห์ ช่วงเวลาระหว่างปี 1980-1985 น่าจะเป็นช่วงรุ่งโรจน์ที่สุดของเธอก็ว่าได้เพราะเพลงส่วนใหญ่ที่นำเสนอติดอันดับท็อปเทน http://www.youtube.com/watch?v=r6rIjuscc-o เพลงจากลิงก์ที่นำเสนออาจจะคงได้ยินผ่านหูมาบ้างไม่มากก็น้อย แนวเพลงของเธอจึงเป็น ป๊อป และ ป๊อปแดนซ์ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักแม้จนถึงปัจจุบันและอาจไม่สำคัญเท่ากับภาพ ลักษณ์ที่เธอนำเสนอ นั่นก็คือ ความเป็นไอดอลตลอดกาล (永遠のアイドル) หรือจะเรียกว่าเป็นเจ้าแม่ไอดอลของวงการบันเทิงเลยก็ว่าได้ จากไอดอลในวัยรุ่นไปสู่ ม่าม่าไอดอลแม้ว่าจะแต่งงานมีลูกแล้วก็ตาม

หากเปรียบเทียบช่วงเวลา หรือ Time Line ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นกับชีวิตนักร้องของอะกินะแล้วจะเห็นได้ว่ามีจุดเปลี่ยน หรือ Turning Point ที่ใกล้เคียงกันมาก นับจากการแจ้งเกิดเข้าวงการในปี 1982 จนถึงปี 1989 อะไรที่เธอร้องก็กลายเป็นทองคำไปเสียทุกเพลงก็ว่าได้ น่าเชื่อได้ว่ายอดขายแผ่นเสียงและซีดีของเธอทั้งหมดที่มีกว่า 25 ล้านแผ่นนั้น 2 ใน 3 จะมาจากในช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ของเธอระหว่างปี 1982-1989 จุดผกผันที่สำคัญจุดหนึ่งในชีวิตของเธอก็คือเมื่อเธอพยายามฆ่าตัวตาย ในปี 1989 แต่ไม่สำเร็จในที่พักของเพื่อนชาย คอนโดะ มาซาฮิโกะ (近藤真彦) ซึ่งเป็นนักร้องเช่นกันแต่สังกัดคนละค่ายเพลง มีหลายคนหลายทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายสาเหตุของการพยายามฆ่าตัวตาย แต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้วการอ่อนต่อโลกและขาดคนแนะนำในทิศทางที่ถูกต้อง น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาอธิบายได้

นกสิ้น เกาทัณฑ์ซ่อน เมื่อศัตรูไม่มีจะชักดาบออกมาทำไม ถึงเวลาที่จะเก็บดาบคืนสู่ฝักแล้ว จากนี้ต่อไปไม่มีอะไรดีกว่าขี่ม้าชมซากุระ ชื่นชมความงามของดอกไม้และทัศนียภาพรอบทาง ซากุระเป็นดอกไม้ที่เปรียบได้กับผู้หญิง นะกะโมริ อะกินะ (中森明菜) ก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่งในยุคทศวรรษที่ 1980 ที่ผมรู้จักและอยากแนะนำให้รู้จัก ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกในยุคเศรษฐกิจโตเร็วตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมาได้ผลิดอกออกผลช่วงทศวรรษ 1980 จึงเป็นช่วงเวลารุ่งเรืองสูงสุดทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หากจำไม่ผิดคนของบริษัทค้าหลักทรัพย์โนมูระให้ความเห็นอย่างมั่นอกมั่นใจเอา ไว้ว่า ดัชนีตลาดหุ้นโตเกียวจะพุ่งสูงขึ้นไปทะลุหลัก 40,000 ก่อนที่จะประสบปัญหาฟองสบู่แตกในปี 1989 และทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจชะงักงันต่อไปอีกกว่า 30 ปี

ผ่าความจริงวิวาทะเรื่องพลังงาน เก็บค่าเช่ากับขายเอง ก่อนจะไปประเด็นที่สองเกี่ยวกับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมัน มีประเด็นที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเรื่อง ราคาพลังงานและกลไกราคา ที่อ้างโดยนางรสนาว่า(1) น้ำมันขายปลีกในประเทศที่แพงเป็นเพราะ ปตท.มีรายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการสูงเกินควร และ (2) กลไกราคาทำงานไม่ได้กับราคาพลังงานโดยอ้างเรื่องมาตรฐานยูโร 4 เป็นการกีดกันที่มิใช่ราคา (Non-Tariff barrier)

ปิดหน้าต่างไม่มียุงมากวนใจ แต่หายใจไม่ออก เปิดหน้าต่าง หายใจสบายแต่รำคาญยุง ผู้เขียนดีใจที่ คสช.เข้ามาแก้ไขประกาศฉบับที่ 97 ได้ทันท่วงที แต่ก็ยังกังวลใจว่าหน้าต่างประวัติศาสตร์ที่ คสช. เปิดเอาไว้นั้นจะนำมาพาประเทศไทยไปสู่ที่จุดใด ครึ่งแรกของการเข้ามาเป็นรัฏฐาธิปัตย์ควบคุมอำนาจปกครองของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ที่มีแต่ไม่สามารถใช้ได้นั้น คสช.ทำได้อย่างดี ใครไม่เชื่อก็คงไม่ว่ากัน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ต่างให้การสนับสนุนซึ่งน่าจะเป็นข้อเท็จ จริงที่ปฏิเสธได้ยาก หาไม่แล้วคงหากไม่เกิดสงครามกลางเมืองกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องมีการปราบ ปรามอย่างรุนแรงนองเลือดเหมือนเช่นการยึดอำนาจทั่วไป

ผ่าความจริงวิวาทะเรื่องพลังงานเหตุใดจึงต้องอ้างราคาสิงคโปร์ จากการรับฟังข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานของทั้งกลุ่ม นางรสนาและกลุ่มนายปิยสวัสดิ์ที่ต่างฝ่ายต่างนำเสนอเมื่อเร็วๆ นี้ก็พอที่จะจับประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิวาทะที่เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 กลุ่มนั้นเกิดมาจากอะไร อะไรคือความเข้าใจที่ถูกและผิด จากนี้ต่อไปอีกหลายตอนจะเป็นการอรรถาธิบายเพื่อให้รู้และเข้าใจการปฏิรูป เศรษฐกิจไทย ประเด็นแรกก็คือ ราคาพลังงานและกลไกราคา  ข้อเท็จจริงที่คงไม่มีใครเห็นต่างก็คือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานสุทธิ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานไม่ว่าจะในรูปของน้ำมันหรือก๊าซ ได้แต่ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้า

ไทยพลาดโอกาสในการปฏิรูปแรงงาน เมื่อยังใช้ต่างชาติมาทำงานแทนโดยไร้จุดหมาย การปฏิรูปทางเศรษฐกิจของไทยที่สำคัญที่สุดน่าจะหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เรื่องนี้มิใช่เฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวพันไปถึง กฎระเบียบทางการค้า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน แต่เพียงลำพัง หากแต่เกี่ยวพันไปในหลายๆ ประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการผลิตของประเทศ

ปฏิรูปพลังงานต้องอยู่บนข้อเท็จจริง อย่า “มโน” หรือยัดเยียดให้เลือกข้างอย่างที่เป็นอยู่ การปฏิรูปพลังงานเป็นประเด็นการปฏิรูปเศรษฐกิจไทยที่มีข้อโต้แย้งถก เถียงมากที่สุดประเด็นหนึ่งก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างแนวคิดของกลุ่มที่นำโดยนายปิยสวัสดิ์และกลุ่มที่มี นางรสนาเป็นแกนนำ มีประเด็นความแตกต่างที่พอจะประมวลได้คือ    1. ความแตกต่างด้านข้อมูลว่าไทยมีน้ำมันหรือไม่ ฝ่ายนางรสนาเชื่อว่าไทยมีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มากและกล่าวหาว่าทาง การไทยปกปิดข้อมูล ประเด็นนี้น่าจะหาข้อยุติได้ไม่ยากหากทางการไทยดำเนินการเปิดเผยข้อมูลอย่าง โปร่งใส และหาข้อยุติในตัวเลขที่แตกต่างกันดังเช่นตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเพราะนี่คือเรื่องข้อเท็จจริงมิใช่ความเห็นที่ สามารถมองต่างได้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบตัวเลขที่ตนใช้ในการตัดสินใจ หากได้ข้อยุติ ประเด็นที่ติดตามมาเรื่องการวิเคราะห์และนัยแห่งนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงาน เช่น การให้สัมปทานแบบแบ่งผลผลิตหรือการเก็บค่าสัมปทานก็จะชัดเจนไม่แตกต่างอย่าง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ปฏิรูปเศรษฐกิจก็เฉกเช่นภาพสะท้อนในสระน้ำ หากไม่มีวิสัยทัศน์ภาพมันจะฟ้อง บทบาทหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของรัฐบาลก็คือ การแสวงหาฉันทานุมัติ (Consensus) จากประชาชนทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เหตุผลที่ต้องทำในเชิงเศรษฐกิจก็เพราะมีสินค้าบริการบางอย่างในบริบท ของสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุว่าเป็นสินค้าคุณธรรม หรือไร้คุณธรรม (Merit or Demerit Goods) ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ โสเภณีและการพนัน ที่ในบางประเทศบางสังคมก็ถูกทำให้ถูกกฎหมาย ขณะที่เป็นสิ่งผิดกฎหมายในอีกสังคมหนึ่ง

ปฏิรูปเศรษฐกิจ . . . ปฏิรูปบทบาทของรัฐ เมื่อรู้และเข้าใจแล้วว่า ความจำเป็นในเชิงเศรษฐกิจที่ต้องมีรัฐบาลอยู่ก็เนื่องมาจากเหตุผลในการเข้า มาแก้ไขปัญหากลไกตลาดล้มเหลวอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การผูกขาด หรือสินค้าสาธารณะ ดังนั้นการกำหนดบทบาทของรัฐบาลในสังคมก็สามารถทำได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ประเด็นเรื่องทุนสามานย์ก็ดี นโยบายประชานิยมก็ดี ก็เกิดขึ้นได้ยากหากคนในสังคมรู้และเข้าใจบทบาทของรัฐบาล ตัวอย่างที่ดีในขณะนี้คือเรื่องเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจทั้งหลายที่คณะ กรรมการฯ ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนในฐานะเจ้าของก็ดีหรือผู้บริหารก็ดีหากไม่ถูกโละทิ้ง ก็ต้องถูกลดผลประโยชน์ที่ตนเองเคยได้รับไปตามๆ กัน

การจะไปสู่จุดหมายต้องมีหลัก การปฏิรูปเศรษฐกิจก็เช่นกัน สิ่งที่ประชาชน และอาจรวมถึง คสช.ที่เป็น “มือใหม่-หัดขับ” จำเป็นต้องรู้เพื่อเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจก็คือ บทบาทรัฐบาลว่ามีหน้าที่หลักอันชอบธรรมอะไรบ้าง อย่างน้อยที่สุดก็จะเป็น “ความเห็นที่สอง” เพื่อตรวจสอบความเห็นจากที่ปรึกษาฯ หาไม่แล้วจะกำหนดทิศทางของนโยบายให้ถูกต้องได้อย่างไร รัฐบาลจำเป็นต้องมีอยู่ก็เนื่องมาจากเหตุผลในการเข้ามาแก้ไขปัญหา กลไกตลาดล้มเหลวอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การผูกขาด หรือสินค้าสาธารณะ เป็นต้น สาธารณูปโภคกับสินค้าสาธารณะนั้นแตกต่างกัน มีความเข้าใจผิดคิดอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งเดียวกัน คุณสมบัติสำคัญของสินค้าสาธารณะก็คือ ไม่มีการแย่งกันใช้/บริโภค การเปิดดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุของคนหนึ่งไม่ได้เป็นการกีดกันมิให้อีกคน หนึ่งดูหรือฟังไม่ได้แต่อย่างใด จะเปิดวิทยุฟังกันทั้งเมืองก็ย่อมได้ไม่เป็นการแย่งกันบริโภคแต่อย่างใด ต่างกับสินค้าทั่วไปที่เมื่อคนหนึ่งบริโภคไปแล้วก็จะเหลือให้คนอื่นๆ ได้บริโภคน้อยลงเพราะหมดไปจากการบริโภค

ประชาธิปไตยคือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ มิใช่ประชาชนเป็นใหญ่  กระแส “ชู 3 นิ้ว” ต่อต้านกองทัพที่มาทำการควบคุมอำนาจ การปกครองจากรัฐบาลในระบอบทักษิณดูไปแล้วก็ขาดซึ่งพลังอันเนื่องมาจากการขาด ความชอบธรรมเป็นพื้นฐานในการเคลื่อนไหว กลายเป็นเพียงยุงรำคาญ แต่วิธีการแก้ไขควบคุมกระแสต่อต้านดังกล่าวคล้ายดั่ง การขี่ช้างจับตั๊กแตน ทำได้ก็จริงอยู่แต่ก็ด้วยต้นทุนมหาศาล ม็อบต่อต้านฯ ในเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้คนเพียงไม่เกินร้อยแต่กลับสามารถดึงดูดทั้งทหารที่มา ควบคุมและสื่อฯ มาทำข่าวได้เป็นจำนวนมากกว่าหลายเท่านักสะท้อนให้เห็นบางอย่างที่ คสช.ควรพิจารณารับฟัง

มีบางครั้งบางเรื่องที่ลูกผู้ชายพึงกระทำ สนธิ(ลิ้ม) สุเทพ และมวลมหาประชาชนจึงยอมลงนรกแม้ไม่ใช่หน้าที่ การที่กองทัพมาทำการควบคุมอำนาจการปกครอง จากรัฐบาลในระบอบทักษิณที่ไร้ซึ่งอำนาจการปกครองอันเนื่องมาจากไร้ซึ่งความ ชอบธรรมทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยให้มารวมศูนย์อยู่ที่ คสช.ในวันที่ 22 ที่ผ่านมาซึ่งในความเป็นจริงแล้วเท่ากับเป็น “การรับช่วงต่อ” จากกำนันสุเทพและมวลมหาประชาชนในการขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณให้สิ้นซากนั่น เอง เพียงแค่สามสี่วันแรกผ่านไปเท่านั้นกองทัพได้ทำการขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ ให้เห็นอย่างมีประสิทธิภาพเกินคาด ไม่น่ามองเป็นอื่นไปได้นอกจาก กองทัพได้เตรียมการในเรื่องนี้มานานพอสมควรแล้ว ณ บัดนี้ พลเอกประยุทธ์ ได้กลายเป็น “ร่างทรง” ร่างใหม่ของมวลมหาประชาชนในการโค่นล้มระบอบทักษิณไปเรียบร้อยแล้ว นี่คือร่างทรงที่สามต่อจากร่างทรงแรกคือคุณสนธิ(ลิ้ม) และร่างทรงที่สองคือกำนันสุเทพ ร่างทรงที่สามคนนี้แหละที่น่าจะเป็นดาบสุดท้ายในการปลิดชีพระบอบทักษิณให้ สิ้นซากภายในปี 2557 นี้อย่างแน่นอน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้