คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (11 มิถุนายน 2557)

คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (11 มิถุนายน 2557)



รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

11 มิถุนายน 2557


 

       การจะไปสู่จุดหมายต้องมีหลัก การปฏิรูปเศรษฐกิจก็เช่นกัน
       

       สิ่งที่ประชาชน และอาจรวมถึง คสช.ที่เป็น “มือใหม่-หัดขับ” จำเป็นต้องรู้เพื่อเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจก็คือ บทบาทรัฐบาลว่ามีหน้าที่หลักอันชอบธรรมอะไรบ้าง อย่างน้อยที่สุดก็จะเป็น “ความเห็นที่สอง” เพื่อตรวจสอบความเห็นจากที่ปรึกษาฯ หาไม่แล้วจะกำหนดทิศทางของนโยบายให้ถูกต้องได้อย่างไร
       


       รัฐบาลจำเป็นต้องมีอยู่ก็เนื่องมาจากเหตุผลในการเข้ามาแก้ไขปัญหา กลไกตลาดล้มเหลวอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การผูกขาด หรือสินค้าสาธารณะ เป็นต้น
       


       สาธารณูปโภคกับสินค้าสาธารณะนั้นแตกต่างกัน มีความเข้าใจผิดคิดอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งเดียวกัน คุณสมบัติสำคัญของสินค้าสาธารณะก็คือ ไม่มีการแย่งกันใช้/บริโภค การเปิดดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุของคนหนึ่งไม่ได้เป็นการกีดกันมิให้อีกคน หนึ่งดูหรือฟังไม่ได้แต่อย่างใด จะเปิดวิทยุฟังกันทั้งเมืองก็ย่อมได้ไม่เป็นการแย่งกันบริโภคแต่อย่างใด ต่างกับสินค้าทั่วไปที่เมื่อคนหนึ่งบริโภคไปแล้วก็จะเหลือให้คนอื่นๆ ได้บริโภคน้อยลงเพราะหมดไปจากการบริโภค


       
       ดังนั้น การรับฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ที่ไม่หมดหรือน้อยลงไปเพราะการบริโภคของคนก่อน หน้านั้นจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเป็นสินค้าสาธารณะ แตกต่างกับสินค้าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า หรือน้ำมัน ที่เมื่อคนหนึ่งใช้ไปแล้วก็ย่อมจะเหลือให้คนอื่นๆ ได้ใช้น้อยลงไป หน้าร้อนเปิดไฟใช้เครื่องปรับอากาศกันทั้งเมืองโอกาสไฟดับก็มีมากเพราะแย่ง กันใช้ไฟฟ้าจนไฟฟ้ามีไม่พอใช้นั่นเอง
       


       สินค้าสาธารณะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลไกตลาดล้มเหลวก็เพราะผู้ผลิต ไม่สามารถเก็บเงินจากผู้บริโภคได้เนื่องจากคุณสมบัติไม่แย่งกันบริโภคดัง กล่าวข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเปิดเผยความต้องการของตนเองออกมา ดังนั้นการเก็บค่าชมทีวี เช่น 3 5 7 9 11 หรือช่องไทยพีบีเอส หรือฟังวิทยุจากสถานีต่างๆ จึงไม่สามารถทำได้โดยตรงเหมือนโรงหนังหรือวิกยี่เกเพราะผู้บริโภคจะดู/ฟัง จริงหรือไม่ก็ไม่ได้กีดกันทำให้คนอื่นๆ ดู/ฟังไม่ได้แต่อย่างใดไม่


       
       ถ้าผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของสถานีเก็บเงินจากผู้บริโภคไม่ได้แล้วใครจะ มาผลิตสินค้าสาธารณะเหล่านี้ให้บริโภค กลไกตลาดจึงล้มเหลวในการผลิตสินค้าสาธารณะเพื่อมาสนองตอบความต้องการของผู้ บริโภคและรัฐบาลมีหน้าที่เข้ามาแทรกแซงแก้ไขกลไกตลาดที่ล้มเหลว การอนุญาตให้มีการโฆษณาหรือการจัดสรรเงินภาษีอุดหนุนให้เป็นการเฉพาะ เช่น ช่องไทยพีบีเอสที่ไม่มีโฆษณา จึงเป็นมาตรการในนโยบายสาธารณะเพื่อแทรกแซงกลไกตลาดที่ล้มเหลวให้มีการผลิต สินค้าสาธารณะ เช่น โทรทัศน์หรือวิทยุ ให้สังคมได้บริโภคนั่นเอง
       


       แต่คลื่นความถี่วิทยุหรือโทรทัศน์ที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งแพร่ภาพและ เสียงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคนั้นมีอยู่อย่างจำกัด เฉกเช่นเดียวกับเส้นทางการบิน สายส่งไฟฟ้า ท่อประธานแก๊ส หรือโครงข่ายโทรศัพท์ ที่เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วใครจะมาสร้างเพิ่มนั้นเป็นไปได้ยาก


       
       ตลาด/อุตสาหกรรมที่อาศัยเครือข่ายเชื่อมโยง (Network Industry) กล่าวคือเป็นการรวมกลุ่มกิจการ/กิจกรรมในทางดิ่ง (Vertical Integration) เข้ามาด้วยกัน
       


       ตารางที่ 1 ที่แสดงให้เห็นถึงอุตสาหกรรมที่อาศัยเครือข่าย เช่น การขนส่งทางอากาศ หรือไฟฟ้า ที่มักจะรวมเอากิจกรรมการผลิต การขนส่งจากแหล่งผลิตเอาไปขาย และการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภครายย่อยเข้ามาอยู่ด้วยกันทำให้เกิดการผูกขาด ได้โดยง่าย



 
รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย
     



       การผูกขาดของอุตสาหกรรมเครือข่ายนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยปัจจัยสำคัญ คือการเป็นเจ้าของหรือครอบครองเครือข่ายการขนส่งสินค้า/บริการไม่ว่าจะเป็น สินค้า/บริการสาธารณะหรือไม่จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
       


       เจ้าของสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์จึงมีอำนาจผูกขาดเหนือผู้ผลิตรายการ หรือผู้ผลิตเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์เพราะได้อำนาจผูกขาดจากรัฐบาลผ่านระบบ สัมปทานในคลื่นความถี่วิทยุหรือโทรทัศน์ที่ตนเองใช้เป็นเส้นทางแพร่ ภาพ/เสียงออกอากาศรายการจากผู้ผลิตรายการไปสู่ผู้บริโภค


       
       การขนส่งทางอากาศของสายการบินมิใช่เกิดจากการมีเครื่องบินหรือสนาม บิน หากแต่มีเครือข่ายหรือเส้นทางบินที่มักได้รับอนุญาตจากรัฐบาลมารองรับต่าง หากที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ซื้อบัตรโดยสารมาเจอกับผู้ขาย (สายการบิน)
       


       ในทำนองเดียวกันอุตสาหกรรมแก๊สไม่ว่าจะมีเจ้าของบ่อแก๊สในอ่าวไทย เพียงเจ้าของเดียวหรือหลายเจ้าของ แต่หากไม่ได้เป็นเจ้าของท่อประธานแก๊สที่เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเช่นที่ ปตท.มีอยู่ ซึ่งนำแก๊สจากปากบ่อมาสู่โรงแยกหรือบรรจุเพื่อนำส่งขายผู้ค้ารายย่อยหรือสู่ โรงไฟฟ้าโรงผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ผู้ซื้อก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ทำธุรกรรมกับผู้ขายอย่างแน่นอน
       


       เงื่อนไขการผูกขาดในอุตสาหกรรมเครือข่ายจึงเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการควบ คุมผูกขาดตรงส่วนกลางน้ำคือการขนส่งฯ ด้วยเครือข่ายเชื่อมโยงนั่นเอง ที่สำคัญรัฐบาลมักเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการให้สัมปทาน ใครที่คิดว่าเงื่อนไขนี้ไม่สำคัญคงต้องคิดใหม่อย่า “มโน” เอาเองเพราะการผูกขาดที่ต้นน้ำ เช่น เจ้าบ่อ หรือผูกขาดที่ปลายน้ำ เช่น โรงแยกแก๊สก็มิได้มีอำนาจผูกขาดเหนือตลาดเท่ากับการผูกขาดที่กลางน้ำที่จะ ชี้เป็นชี้ตายทำให้ผู้ซื้อสามารถมาทำธุรกรรมกับผู้ขายได้นั่นเอง
       


       
การผูกขาดและสินค้าสาธารณะจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมีรัฐบาลเพื่อเข้ามาแก้ไข สำคัญและมีนัยมากกว่าการยกเลิกตั๋วฟรีการบินไทย



 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้