คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 7 โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (30 กรกฎาคม 2557)

คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 7 โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (30 กรกฎาคม 2557)

 

รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 7


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

30 กรกฎาคม 2557


 




 
       ผ่าความจริงวิวาทะเรื่องพลังงาน เก็บค่าเช่ากับขายเอง
       


       ก่อนจะไปประเด็นที่สองเกี่ยวกับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมัน มีประเด็นที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเรื่อง ราคาพลังงานและกลไกราคา ที่อ้างโดยนางรสนาว่า(1) น้ำมันขายปลีกในประเทศที่แพงเป็นเพราะ ปตท.มีรายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการสูงเกินควร และ (2) กลไกราคาทำงานไม่ได้กับราคาพลังงานโดยอ้างเรื่องมาตรฐานยูโร 4 เป็นการกีดกันที่มิใช่ราคา (Non-Tariff barrier)
       


       เอาเรื่องแรกก่อน แม้ว่าค่าตอบแทนกรรมการของกิจการเครือ ปตท.จะสูง แต่ก็มิได้มีผลทำให้ราคาขายปลีกสูงตามแต่อย่างใด เหตุก็คือค่าการตลาดที่ปั๊มน้ำมันได้ไม่ว่าจะยี่ห้อ ปตท.หรือไม่นั้นต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายปลีก ย้อนกลับไปดูในตารางที่แยกแยะราคาหน้าโรงกลั่นก่อนที่จะขายไปให้ปั๊มน้ำมัน ในตอนที่ (6) ก็ได้ว่าส่วนที่ทำให้ราคาหน้าโรงกลั่นก่อนถึงปั๊มน้ำมันแพงก็คือภาษี+เงิน กองทุนที่รัฐบาลเก็บที่มีสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 40 ของราคาหน้าโรงกลั่นหรือประมาณ 21 บาทเศษต่อลิตร


       
       หากจะใช้ทฤษฎีสมคบคิดอ้างว่า ปตท.แอบบวกค่าตอบแทนไว้ในราคาน้ำมันที่ขายหน้าโรงกลั่น สิ่งที่รสนาอาจลืมคิดไปก็คือ ราคาขายปลีกจะแพงขึ้นและเมื่อสูงเกินกว่าราคาตลาดที่อ้างอิงราคาสิงคโปร์ กลไกราคาก็จะทำให้มีจากนำเข้าแทนที่จะซื้อจากภายในประเทศ
       


       ส่วนเรื่องของกลไกราคาที่รสนาคิดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันใช้ไม่ได้นั้น นางรสนาให้ข่าวไว้ว่า
       


       “ดังนั้น สิ่งที่ประธานบอร์ดปตท. และ CEO ปตท.พูดนั้นจึงเป็นการให้ข้อมูลต่อสาธารณชนที่เป็นจริงแค่ทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ไม่เคยปฏิบัติได้ในโลกความจริง ประชาชนคนไทยต้องแบกรับต้นทุนน้ำมันคุณภาพสูงแบบเสียเปล่า (Quality Give Away) เพื่อช่วยโรงกลั่นน้ำมันสามารถกีดกันน้ำมันราคาถูกเข้ามาแข่งกับตัวเอง และยังต้องช่วยทำประชานิยมอุดหนุนราคา (Cost Subsidy) ให้กับเพื่อนบ้านทั่วอาเซียนอีกด้วย” ผู้จัดการออนไลน์ 30 ก.ค.57
       


       ข้อเท็จจริงง่ายๆ ก็คือค่าปรับปรุงน้ำมันให้เป็นมาตรฐานยูโร 4 นั้นมีเพียง 0.50 บาทต่อลิตร (ดูในสูตรคำนวณราคาหน้าโรงกลั่น ตอนที่(6)) ด้วยต้นทุนที่มีเพียงเท่านี้จะกีดกันมิให้นำเข้าได้อย่างไร จะปรับปรุงตั้งแต่ต้นทางหรือนำมาทำในประเทศก็ได้มิใช่หรือ
       


       นางรสนาที่มี “ทุนทางสังคม” สูงจึงควรคิดสักนิดก่อนจะให้ข่าว กรณีทั้งสองข้างต้นเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยัน หากกระทำเช่นนี้ต่อไปอีกอาจทำให้สาธารณชนมองได้ว่าไม่คิดไม่รอบคอบขาดความ รู้ความเข้าใจและมีอคติได้โดยง่าย


       
       ประเด็นที่สองก็คือ สัมปทานปิโตรเลียม
       


       ก่อนจะไปถึงวิวาทะในขณะนี้ว่าจะใช้ระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต คงจะต้องพิจารณาหลักการในเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจเสียก่อน
       


       แม้ว่าเอกชนจะเป็นเจ้าที่ดินที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันหรือทองคำอยู่ แต่การนำมาใช้ประโยชน์แม้เอกชนเป็นเจ้าของก็ต้องขออนุญาตจากรัฐ เหตุก็เพราะการนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของเอกชนอาจส่งผลกระทบต่อเอกชนอื่นๆ รวมถึงรัฐด้วยอันเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนที่ตนเองมี


       
       ในส่วนของที่ดินที่มิใช่เป็นของเอกชน แน่นอนว่าทรัพยากรต้องตกเป็นของรัฐ การให้สัมปทานนั้นย่อมหมายว่ารัฐเล็งเห็นผลประโยชน์ที่รัฐอันเป็นตัวแทน ประชาชนควรจะได้จากการใช้ทรัพยากรดังกล่าวจึงอนุญาตมอบหมายให้เอกชนมาดำเนิน การแทน ทรัพยากรที่ได้แม้จะตกเป็นของเอกชนผู้รับสัมปทานก็จริง แต่อย่าลืมว่ารัฐหรือประชาชนส่วนรวมก็จะได้ประโยชน์ร่วมไปด้วยหาไม่แล้วจะ เอาขึ้นมาใช้ทำไม
       


       ค่าสัมปทานที่รัฐได้รับหรือผลประโยชน์ที่เอกชนจะได้ไปจึงมิใช่ ประเด็นหลักที่ควรจะคำนึงมากกว่าผลประโยชน์จากทรัพยากรที่รัฐหรือประชาชนจะ ได้รับจากการได้ใช้ทรัพยากรเพราะรัฐอาจไม่มีวิทยาการหรือทุนทรัพย์ที่จะทำ เอง
       


       กลับมาในรายละอียด ความแตกต่างในเชิงหลักการระหว่างทั้งสองระบบนั้นไม่น่าจะมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ว่าใครจะเป็นเจ้าของทรัพยากร แม้เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นเจ้าของน้ำมันหรือก๊าซที่ขุดพบได้แต่รัฐก็จะได้ ประโยชน์ไปด้วยจากการขุดพบปิโตรเลียมไม่ว่าจะขายให้ต่างประเทศหรือขายภายใน ประเทศมิใช่หรือ อีกทั้งหากเกิดศึกสงครามหรือมีการกักตุนรัฐก็มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้วที่จะ เข้ามาจัดการได้
       


       ในอีกด้านหนึ่ง สุดขั้วของระบบแบ่งปันผลผลิตคือการว่าจ้างเอกชนมาขุดเจาะแทนรัฐ ทุกอย่างที่พบ (พบน้อยหรือไม่พบ) จะเป็นของรัฐทั้งหมด เอกชนได้แต่ค่าขุดไปแต่ความเสี่ยงเป็นของผู้ว่าจ้างซึ่งรวมถึงการบริหาร จัดการหากค้นพบซึ่งดูไปแล้วอาจจะยากและปวดหัวมากกว่าไม่พบเสียด้วยซ้ำ จะมีใครรับรองได้บ้างว่าข้าราชการไทยจะไม่ขายน้ำมันหรือก๊าซราคาถูกเกินจริง แบบ “ขายหมู” ในตลาดหุ้นไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไร้ความสามารถ
       


       หากคิดแต่เพียงว่าไม่ต้องขายใครเอาไว้ใช้เอง น้ำมันหรือก๊าซเป็นทรัพยากรของคนในชาติที่จะมีสิทธิใช้ในราคาถูก หากคิดได้แค่นี้ก็ผิดแล้ว


       
       ในอดีตที่ผ่านมา คงต้องยอมรับว่ารัฐไทยไม่มีทั้งวิทยาการและกำลังทรัพย์ที่จะลงไปเสี่ยงหาก ไม่เจอ ระบบสัมปทานจึงเป็นทางเลือกที่ดีในขณะนั้น หากจะหันมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเพราะคิดว่ามีกำลังทรัพย์ ไม่เสี่ยงเพราะเขาขุดเจอมามากแล้ว และที่สำคัญไม่อยากเห็นผู้รับสัมปทานได้กำไรมาก แต่คิดหรือไม่ว่าจะสามารถบริหารจัดการได้หรือไม่ อย่าลืมว่ากำไรนั้นคู่กับความเสี่ยง เก็บค่าเช่ากับขายเองต่างกันเยอะ


       
       การวางเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงต่างหากที่สำคัญมากกว่าระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต




 
รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย (7)
       ที่มา : มนูญ ศิริวรรณ
 
              
       
               ข้อเสนอของนางรสนา

 
รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย (7)




 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้