คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 6 โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (16 กรกฎาคม 2557)

คมดาบซากุระ 2 : รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 6 โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (16 กรกฎาคม 2557)



 

รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย 6


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

16 กรกฎาคม 2557





 
       ผ่าความจริงวิวาทะเรื่องพลังงาน
       เหตุใดจึงต้องอ้างราคาสิงคโปร์
       


       จากการรับฟังข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานของทั้งกลุ่ม นางรสนาและกลุ่มนายปิยสวัสดิ์ที่ต่างฝ่ายต่างนำเสนอเมื่อเร็วๆ นี้ก็พอที่จะจับประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิวาทะที่เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 กลุ่มนั้นเกิดมาจากอะไร อะไรคือความเข้าใจที่ถูกและผิด จากนี้ต่อไปอีกหลายตอนจะเป็นการอรรถาธิบายเพื่อให้รู้และเข้าใจการปฏิรูป เศรษฐกิจไทย
       


       ประเด็นแรกก็คือ ราคาพลังงานและกลไกราคา


       
       ข้อเท็จจริงที่คงไม่มีใครเห็นต่างก็คือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานสุทธิ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานไม่ว่าจะในรูปของน้ำมันหรือก๊าซ ได้แต่ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้า


       
       เมื่อมีการผลิตได้เองบางส่วนและนำเข้าในส่วนที่ขาด ราคาตลาด(โลก)ที่อ้างอิงกับราคาที่สิงคโปร์จึงเข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ หากจะคิดราคาพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือก๊าซเฉพาะ ต้นทุนการขุดขึ้นมา+กำไร หรือ ราคา Cost Plus แต่เพียงลำพังก็จะเป็นการรับประกันความเสี่ยงให้กับผู้ผลิตที่ไม่ต้องคำนึง ถึงว่าราคาตลาดจะสูงหรือต่ำกว่าราคา Cost Plus
       


       การใช้ราคาตลาดที่อ้างอิงกับราคาตลาดสิงคโปร์ที่อยู่ใกล้ไทยมากที่ สุดนี้จึงมีเหตุผลฟังได้ ราคาของผู้ผลิตภายในประเทศจึงถูกกำกับด้วยกลไกตลาดทำให้ไม่อาจสูงกว่าราคานำ เข้าที่อ้างอิงมาจากราคาสิงคโปร์ได้ ลองดูราคาจริงหน้าโรงกลั่นก็ได้ว่าต่ำกว่าราคาอ้างอิงราคาตลาดที่สิงคโปร์ ที่คิดคำนวณขึ้นมา
       


       ในส่วนของน้ำมัน การกำหนดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะขึ้นอยู่กับต้นทุน 3 ส่วน (ดูในตารางของมนูญ) คือ ราคาน้ำมันดิบ + ค่าใช้จ่ายจริง + ค่าใช้จ่ายอ้างอิง ซึ่งใน 2 ส่วนหลังนี้ได้กลายเป็นประเด็นของวิวาทะว่าสมควรคิดรวมเข้าไปในราคาน้ำมัน สุก(กลั่นแล้ว)หน้าโรงกลั่นในประเทศหรือไม่ และมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันในประเทศแพงขึ้นหรือไม่
       


       ฝ่ายของนางรสนามีแนวคิดว่าไม่ควรรวมเข้าไปเพราะจะทำให้มีราคาขายแพง เกินความจำเป็นและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ผูกขาดที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นค่าใช้จ่ายจริงนั้นคิดจากค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้มีมาตรฐาน ยูโร 4 ที่ไทยใช้แต่สิงคโปร์ใช้ต่ำกว่าเพียงยูโร 2 ส่วนค่าใช้จ่ายอ้างอิงนั้นไม่ใช่ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง
       


       แต่หากมองดูให้ดีจะเห็นว่าโครงสร้างการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศนั้น ค่าใช้จ่าย 2 ส่วนหลังนี้รวมกันแล้วมีเพียง 1.26 บาทต่อลิตรหรือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้นสำหรับราคาเบนซิน 95 หน้าโรงกลั่น 26.10 บาทต่อลิตร ส่วนที่ทำให้ราคาขายปลีกแพงถึง 48.75 บาทต่อลิตรก็เนื่องมาจากภาษี (สรรพสามิต+เงินกองทุน) ที่เก็บในปัจจุบันร้อยละ 43 ของราคาขายปลีก (21.14 บาทต่อลิตร) ในขณะที่น้ำมันดีเซลเสียภาษีเพียง 2.21 บาทต่อลิตรหรือเพียงร้อยละ 7.4 ของราคาขายปลีกทั้งๆ ที่มีราคาหน้าโรงกลั่นพอๆกัน


       
       ดังนั้นค่าใช้จ่าย 2 ส่วนหลังจะเอาไปคิดรวมหรือไม่ก็ไม่ได้มีผลทำให้น้ำมันเบนซินถูกลงไปได้สัก เท่าไรเพราะมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับภาษีที่จัดเก็บ
       


       ด้วยเหตุของโครงสร้างภาษีที่บิดเบือนนี้เองราคาน้ำมันเช่นเบนซิน 95 ที่แพงเกือบ 2 ลิตรร้อยบาทนั้น จึงแพงด้วยภาษีที่เก็บเพื่อนำเอาอุดหนุนน้ำมันอื่น เช่น ดีเซล การตรึงราคาดีเซลในราคา 30 บาทมาประมาณ 3 ปีจึงใช้เงินชาวบ้านไปกว่า 3 แสนล้านบาทจากการลดภาษีสรรพสามิต มอเตอร์ไซค์ที่ใช้เบนซินจึงต้องจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนคนใช้รถราคาเป็นล้านที่ ใช้ดีเซล
       


       ส่วนความเห็นที่ว่าสมควรจะรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนนี้เข้าไปหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงที่ยกมาข้างต้นคงเป็นคำตอบในตัวของมันได้อยู่แล้วว่า หากไม่รวมเอาไว้ความเป็นจริงที่จะเผชิญก็คือจะไม่มีใครนำส่วนที่ขาดเข้ามาขายเพราะขาดทุนลิตรละ 1.26 บาทจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ยอมคิดให้ ตรงไปตรงมาง่ายๆ อย่างนี้แหละ
       


       ในส่วนของก๊าซนั้น รัฐบาลได้ตรึงราคาแอลพีจีหน้าโรงแยกก๊าซไว้ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือ 10.87 บาทต่อกก.มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ขณะที่ราคาหน้าปากหลุมอยู่ที่ 236 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเกินราคานี้ไปมากแล้ว


       
       ประเด็นของการวิวาทะกลับไม่ได้อยู่ที่ว่าจะปรับขึ้นให้สอดคล้องกับ ราคาตลาดที่สูงขึ้นมามากหรือไม่ หากแต่กลายเป็นประเด็นของการจัดลำดับว่าใครควรได้ใช้ก๊าซราคาต่ำจากการตรึง ราคาที่แหล่งผลิตในประเทศก่อนกันระหว่างประชาชนผู้บริโภคในประเทศกับอุตสาห กรรมเปโตรเคมีที่ใช้ก๊าซนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายออกมา
       


       การปรับปรุงราคาหน้าโรงแยกก๊าซเสียใหม่ให้เท่ากับราคาตลาด(โลก)ที่ ต้องนำเข้าสำหรับทุกคนทุกกลุ่มก็จะขจัดปัญหาลำดับความสำคัญนี้ไปได้เพราะ จ่ายเท่าเทียมกัน การยินยอมให้อุตสาหกรรมเปโตเคมีที่คิดค่าใช้ในลักษณะแบบ ต้นทุน+กำไร แบบกลับหลังโดยคิดราคาก๊าซที่ใช้โดยทอนมาจากราคาสินค้าเปรโตรเคมีจึงไม่ เหมาะสมสักเท่าไรในสถานการณ์ก๊าซที่ผลิตได้ในประเทศไม่พอใช้ในปัจจุบัน
       


       ส่วนประเด็นว่าราคาแพงขึ้นแล้วเดือดร้อน รัฐบาลก็สามารถพิจารณาช่วยเป็นรายกลุ่มไปจะมีเหตุผลมากกว่าที่จะอุดหนุนแบบ ไม่เลือกหน้าโดยการควบคุมราคาตั้งแต่ต้นทางหน้าโรงแยกก๊าซที่ใช้เงินไป แล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมฯ จะบอกว่าตนเองสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่ากลุ่มอื่นก็เปรียบเทียบได้ยาก แม่ค้าขายหอยทอดกล้วยแขกก็สร้างมูลค่าเพิ่มจากก๊าซได้เช่นกันมิใช่หรือ?


       
       ถ้าจะกล่าวตรงไปตรงมาอย่างไม่เกรงใจก็คือ กลไกตลาดยังคงทำงานได้สำหรับราคาพลังงาน มิใช่เป็นกลไกเพื่อการผูกขาดอย่างที่คิดเอาเองแต่อย่างใด หากจะคิดว่ากีดกันและให้ย้อนกลับไปใช้มาตรฐานที่ต่ำกว่าเช่นยูโร 2 ก็คงไม่ดีสำหรับสิ่งแวดล้อมสักเท่าไรจริงไหม ข้อเสนอของกลุ่มนางรสนาในเรื่องนี้จึงไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไร





 
รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย (6)
       
 
รู้และเข้าใจ ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย (6)




 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้