คมดาบซากุระ 2 : วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (29 มกราคม 2557)

คมดาบซากุระ 2 : วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (29 มกราคม 2557)


วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

29 มกราคม 2557



 
      “หมาใจดำ” เหล้าพื้นเมืองเชียงใหม่?
      “หญิงโง่ ใจดำ” นายกฯไทย?
       


       งานเลี้ยงกำลังจะเลิกรา ถึงเวลาคิดบัญชีแล้วว่าค่าใช้จ่ายเป็นเท่าใด แล้วทักษิณ ยิ่งลักษณ์ และคนในระบอบของเขาใครบ้างที่จะต้องรับภาระ
       


       ปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษิณได้เสนอนโยบายประชานิยมแบบสิ้นคิดให้กับสังคม ไทยเพียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่อำนาจด้วย 3 นโยบายหลักแห่งความวิบัติคือ จำนำข้าว รถคันแรก และค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันหรือ 15,000 บาทต่อเดือนสำหรับปริญญาตรี


       
       นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นำโดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อประมาณกลางปีพ.ศ. 2555 ให้พิจารณายุติโครงการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าน่าจะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (1) กรณีที่รัฐเข้าไปแทรกแซงระบบกลไกตลาด และทำให้ประเทศสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก แต่ถูกศาลยกคำร้องในเวลาต่อมาเนื่องจากการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยับยั้งหรือ ยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ



       
                                รูปที่ 1 จำนำข้าว “วันวาน”
 
วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
ที่มา : เอเอสทีวีผู้จัดการ
                                       รูปที่ 2 “หมาใจดำ”
 
วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
ที่มา : google.com
       
 
       เมื่อคำวินิจฉัยของศาลเป็นคุณ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงเคารพและทำโครงการจำนำข้าวในราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาด ต่อไป แต่ความจริงก็ยังเป็นความจริงอยู่เสมอ สิ่งที่นักวิชาการบอกไว้ล่วงหน้าว่า “นรกกำลังจะมาเยือน” นั้นก็หาได้ผิดไปแต่อย่างใดไม่
       


       เพียงที่ทำไป 2 ปี คือระหว่างปี 2554-6 มีการผลาญใช้เงินงบประมาณรัฐไปซื้อข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดถึงประมาณ 7 แสนล้านบาท แต่ระบายขายออกไปได้เพียงประมาณ 1.46 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการขายในประเทศมากกว่าต่างประเทศซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าว อ้าง วงเงินงบประมาณหมุนเวียนจำนวน 5 แสนล้านบาทที่ตั้งเอาไว้สำหรับการนี้จึงไม่พอเพียงเพราะระบายขายออกไปได้ น้อยมาก ทำให้ทุกวันนี้ต้องดิ้นรนหาเงินกู้แทนที่จะมาจากการขายข้าวมาจ่าย


       
       ธนาคารใดอยากเจ๊งเร็วก็มาให้รัฐบาลกู้จำนำข้าวได้ รับรองว่าจะมีคนถอนเงินฝากเกลี้ยงธนาคารในเร็ววัน
       


       เปรียบเทียบกับเมื่อวันวานที่ม็อบชาวนามาสนับสนุนรัฐบาลให้ดำเนิน โครงการนี้ต่อกับวันนี้ที่ชาวนาถูก “ชักดาบ” เบี้ยวหนี้ค่าข้าวที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายมากว่า 4 เดือนแล้ว โครงการนี้จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุของความวิบัติทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลัง เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ล้มเหลวหรือไม่ก็ลองดูคลิปการแถลงข่าวขาดทุนจำนำข้าวของบุญทรงและณัฐวุฒิที่ ถูกนักข่าวไล่ต้อนดูอีกครั้งก็ได้ว่าหากโครงการนี้สำเร็จสามารถช่วยชาวนาให้ มีรายได้ลืมตาอ้าปากได้และไม่ขาดทุนรัฐมนตรีจะมาแถลงด้วยสีหน้าอย่างนี้หรือ


       
       นอกจากโครงการที่เป็นภาระทางการคลังทั้ง 3 โครงการนี้แล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังได้อาศัยความเดือดร้อนจากน้ำท่วมที่เป็นฝีมือของตนเองใน ปี พ.ศ. 2554 ออก พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาทและยังออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทโดยอ้างว่าจะนำไปแก้ไขปัญหาโครงสร้าง(การขนส่ง) ของประเทศโดยมีโครงการรถไฟความ “เลว” สูงเป็นงานหลักโดยปราศจากรายละเอียดและการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ มุ่งหวังแต่เพียงกู้เงินนอกงบประมาณเอามากองไว้เพื่อจะใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ ไม่ต้องถูกตรวจสอบดังเช่นเงินในงบประมาณ
       


       แต่คราวนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยที่ไม่เป็นคุณในโครงการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงปฏิเสธที่จะทำตามโดยอ้างเหตุผลและการกระทำอีกร้อยแปด เพื่อหลีกเลี่ยง ในขณะที่เงินกู้อีก 2 ล้านล้านบาทที่ชาวไทยต้องร่วมกันใช้หนี้คืนถึงชาติหน้าที่ยังรอการวินิจฉัย อยู่


       
       จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาข้างต้นวิธีจัดการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขาดความ โปร่งใส (Transparency) และธรรมมาภิบาลในการจัดการที่ดี (Good Governance) อันเป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชัน อีกทั้งยังไม่เคารพต่อกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญที่ตนเองได้ให้คำปฏิญาณเอา ไว้แต่อย่างใด


       
       ผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วยโครงการประชานิยมรุ่นสุดท้ายอาจแสดงใน ภาพรวมโดยรูปที่ 3 ที่ชี้ให้เห็นว่า น้ำท่วมที่เธอว่า “เอาอยู่” นั้นสร้างความเสียหายทำให้เศรษฐกิจไทยวัดโดย GDP ที่ทรุดฮวบลงไปอยู่ที่ใกล้ศูนย์ในปี ค.ศ. 2011 การฟื้นตัวในปี ค.ศ. 2012 จนทำให้ GDP เติบโตเป็นร้อยละ 6.5 นั้นเกิดจากการลงทุนซ่อมสร้างความเสียหายจากน้ำท่วมในปีก่อนหน้านั้นน่าจะ เป็นรายการพิเศษควบคู่ไปกับการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกอันเป็นเสาหลักของรายได้ไม่สามารถทำให้โตเพิ่มขึ้นได้แต่ อย่างใดสวนทางกับการเดินทางไปต่างประเทศของยิ่งลักษณ์หลายสิบครั้งในรอบ 2 ปีเศษที่อยู่ในตำแหน่ง
       


       หากจะกล่าวโทษว่าเป็นเพราะ กปปส.มาป่วนเศรษฐกิจก็คงจะต้องพิจารณาตัวเลขในตารางที่ 1 จะเห็นความจริงปรากฏว่าสถานการณ์การส่งออกและเศรษฐกิจไทยในปี ค.ศ. 2013 ร่อแร่ต่ำเตี้ยติดเลข 0 ขนาดไหนใน 3 ไตรมาสก่อนการชุมนุมที่จัดโดย กปปส.ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเสียอีก


       
       ในทางตรงกันข้าม การประกาศภาวะฉุกเฉินด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นแต่อย่างใดนั้นนับว่าเป็นการซ้ำเติมวิบัติทาง เศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วให้มีมากขึ้น จะมีรัฐบาลต่างชาติประเทศใด พ่อค้าหรือผู้ลงทุนใดบ้างที่สนับสนุนให้คนประเทศตนเองเดินทางมาค้าขายหรือลง ทุนประเทศที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ก็ทำเพียงเพื่อให้อำนาจมาอยู่กับตนเองมากขึ้น
       


       ส่วนการดันทุรังบังคับให้ประชาชนไปเลือกตั้งทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่สามารถเปิดสภาฯ-ตั้งรัฐบาลได้จะเป็นการ “แช่แข็ง” ทำให้ประเทศอยู่ในสุญญากาศไปอีกหลายเดือนจนอาจหาทางออกได้ยาก
       


       “เธอ” จึงมิใช่เป็นแต่เพียง “หญิงโง่” ตามที่สังคมเข้าใจ หากแต่ยัง “ใจดำ” อำมหิตต่อเพื่อนร่วมชาติได้อย่างเหลือเชื่อ เอาประโยชน์ของว่านเครือและพวกพ้องมาอยู่เหนือประโยชน์ของประเทศชาติ
       


       เส้นทางของวิบัติเศรษฐกิจไทยที่อาจจะไม่มีการเติบโตใน ปัจจุบันทั้งๆ ที่ไม่มีวิกฤตอันใดเกิดขึ้นเลยนั้น ไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่ามาจาก ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ และคนในระบอบทักษิณสร้างขึ้นมาจากนโยบายสิ้นคิดสิ้นชาติทั้งสิ้น



 
วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
       
 
วิบัติเศรษฐกิจไทย : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?




 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้