คมดาบซากุระ 2 : อนาคตเศรษฐกิจไทย โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (30 เมษายน 2557)

คมดาบซากุระ 2 : อนาคตเศรษฐกิจไทย โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย (30 เมษายน 2557)

 

อนาคตเศรษฐกิจไทย


โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย

30 เมษายน 2557



 
       เลือกตั้งมิใช่ปฏิรูป
       ยิ่งลักษณ์อยู่ไปก็มิได้ทำประโยชน์อันใดให้ประเทศ
       


       ได้รับคำถามอยู่เสมอว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะไปอยู่ที่จุดใด จะทราบคำตอบคงจะต้องดูที่ไปที่มาคนกุมบังเหียนเศรษฐกิจเสียก่อน
       


       หากได้คนโง่ + มีแนวคิดที่ผิด = ย่อยยับ
       


       นี่คือพื้นฐานสภาพข้อเท็จจริง หรือ Thesis ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ขณะที่กลุ่มต่างๆ เช่น กปปส.มีความพยายามออกมาเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ก็จะกลายเป็น Anti-Thesis
       


       มาเริ่มต้นที่ “แนวคิดที่ผิด” ทางเศรษฐกิจเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร
       


       หลักเศรษฐศาสตร์ที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ไม่เคยเข้าใจเลยแม้แต่น้อยก็ คือ การกำหนดรายได้ประชาชาติให้เพิ่มขึ้นนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มการบริโภค แต่เพียงด้านเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับการออมเป็นสำคัญควบคู่ไปด้วยกัน


       
       รายได้ = รายจ่าย หมายถึง = รายจ่ายเพื่อการบริโภค + ส่วนที่ไม่ได้ใช้ออก หรือการออมนั่นเอง
       


       แนวคิดของระบอบทักษิณที่ปรากฏคิดแต่เพียงว่า หากรายได้ = บริโภค + ออม การออกแบบนโยบายประชานิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มเงินในกระเป๋า ประชาชนให้มีมากขึ้นจะทำให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น สุดท้ายแล้วจะทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้น
       


       ผิดเพราะรู้ไม่จริงไม่ถ่องแท้ อย่าลืมว่าเมื่อบริโภคเพิ่มขึ้น ออมซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบในสมการข้างต้นก็จะต้องลดลงในสัดส่วนเท่าๆ กัน เมื่อการออมลดลงประเทศจะปรับปรุงเพิ่มศักยภาพการผลิตในอนาคตเพื่อรองรับอุป สงค์รวมจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร
       


       บุคคลทั่วไปไม่ออม ก็เท่ากับว่าโอกาสในปรับปรุงทักษะ เช่น การส่งลูกไปเรียนหนังสือก็จะหมดไป เช่นเดียวกับนิติบุคคลหากไม่ออมกำไรที่ได้มาเพื่อนำไปปรับปรุงหรือซื้อ เทคโนโลยีที่ติดมาจากเครื่องจักรรุ่นใหม่ๆ การผลิตที่มีประสิทธิภาพในอนาคตก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อไม่มีการออมก็ไม่มีการลงทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในเชิงบุคคลหรือนิติบุคคลของประเทศก็ ทำไม่ได้
       


       ผลก็คืออุปทานรวมก็ไม่สามารถขยายตัวตามอุปสงค์รวมที่เพิ่มขึ้นจากการ กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นการบริโภคได้ ยิ่งกู้เงินมากระตุ้นสร้างอุปสงค์เทียมก็ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระ ประเทศไทยจึงติดกับดักของการพัฒนากลายเป็นประเทศที่เริ่มยกระดับรายได้ตนเอง ให้สูงขึ้นเกินกว่าประเทศด้อยพัฒนาทั่วไปได้ แต่ไม่สามารถยกระดับให้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้เพราะขาดซึ่งนวัตกรรม ที่จำเป็นสำหรับการยกระดับการผลิต กลายเป็นห่านที่บินอยู่กลางฝูง ไล่กวดตัวหน้าไม่ทัน ขณะที่กำลังจะโดนตัวหลังแซงหน้า
       


       ญี่ปุ่นใช้เวลาเพียง 2 ทศวรรษหลังสงครามโลก เช่นเดียวกับเกาหลีใช้ประมาณ 35 ปีหลังจากปฏิวัติของนายพลฮี แต่ไทยใช้เวลาไป 11 แผนพัฒนาฯหรือกว่า 55 ปีแล้วก็ยังไม่สามารถขยับตัวไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไม่ว่าจะมองจากแง่ มุมใด จะต้องรอไปอีกกี่แผนพัฒนาฯ?
       


       กลับมาที่ปัจจัยสำคัญคือ คน “โง่” ที่ยิ่งลักษณ์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด
       


       ตารางข้างล่างแสดงถึงการไร้ซึ่งความสามารถทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ ทักษิณคิด (ผิด) และยิ่งลักษณ์ทำ(ผิด)ในตลอดช่วงอายุรัฐบาลของเธอ
       


       สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การควบคุมเศรษฐกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการนั้นทำไม่ได้เลย ตัวเลขจากการคาดการณ์โดยหน่วยงานสำนักงานเศรษฐกิจการคลังซึ่งถือได้ว่าเป็น มันสมองของรมต.คลังนั้นไม่ต่ำเกินไปก็สูงเกินตัวเลขจริงอยู่ตลอดเวลา แม้จะคาดการณ์ในช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 3 เดือนล่วงหน้า เช่น คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. หรือแม้แต่ ธ.ค. สำหรับในปีนั้นก็ยังไม่ใกล้เคียงถูกต้องแต่อย่างใดทั้งที่รับรู้ข้อมูลมา เกือบครบปีแล้วก็ตาม
       


       ในอีกด้านหนึ่งผลงานทางเศรษฐกิจไม่น่าประทับใจเลยก็ว่าได้ ภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันต่างอยู่ในภาวะปกติ แต่เศรษฐกิจประเทศไทยกลับโตเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี (0.1+6.5+2.9+?)
       


       ปีที่ GDP เติบโตดีที่สุดดูเหมือนจะเป็นปี พ.ศ. 2555 ที่โตถึงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2554 แต่ก็เป็นผลมาจากวิบัติเศรษฐกิจที่เกิดจากน้ำท่วมด้วยฝีมือมนุษย์โลภมากต่าง หาก บุคคลและนิติบุคคลต่างจึงต้องชะลอการบริโภคนำเงินมาเพิ่มการลงทุนเพื่อซ่อม แซมความเสียหายจากน้ำท่วมปีที่ผ่านมา
       


       ในปีถัดไป (พ.ศ. 2556) ผลงานจากนโยบายวิบัติต่างๆ ที่นำเสนอ เช่น รถคันแรก (ปลายปี 54-55) และจำนำข้าว (ปลายปี 54-ปัจจุบัน) ได้ออกฤทธิ์สร้างหายนะกับเศรษฐกิจไทยจนเติบโตได้เพียงร้อยละ 2.9
       


       รถคันแรกได้กวาดเอาอุปสงค์ในอนาคตมากองไว้ในปี พ.ศ. 2555 เพียงปีเดียว แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ผู้ซื้อส่วนมากเป็นผู้ที่ไม่มีศักยภาพ แม้ตัวเลขหนี้เสียยังต่ำแต่ก็เป็นเพราะผู้ซื้อหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ญาติหรือนายจ้างต่างต้องยอมลดการบริโภคส่วนอื่นๆ ลงเพื่อมาช่วยเหลือมิให้ต้องเป็น NPL ดังนั้นด้วยจำนวนยอดขายกว่า 1 ล้านคันก็หมายถึงครัวเรือนกว่า 1 ล้านครัวเรือนที่ต้องลดการบริโภคนำเงินมาผ่อนรถให้ต่างชาตินำกำไรกลับ ทิ้งภาวะรถติดและการใช้น้ำมันเพิ่มเอาไว้เบื้องหลังนั่นเอง
       


       ส่วนการจำนำข้าวนั้น ก่อนมี กปปส.และการยุบสภาเบี้ยวหนี้ชาวนาครั้งมโหฬารก็มีการคาดการณ์ในระดับต่ำอยู่ แล้ว เช่น ณ ก.ย. 56 ก็ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ลงจากร้อยละ 5.2 ในห้วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมาเป็น 3.7
       


       การยุบสภาและเบี้ยวหนี้ชาวนาในวงกว้างที่เปรียบเสมือนฉ้อโกงประชาชน ทำให้การบริโภคจากคนกลุ่มใหญ่ของประเทศหยุดชะงักและลดลงอย่างมีนัยสำคัญต่อ เศรษฐกิจในเวลาต่อมาเพราะชาวนาถือเป็นคนกลุ่มรายได้ระดับล่างที่มีสัดส่วน การบริโภคต่อรายได้สูงกว่าคนกลุ่มรายได้ระดับบน
       


       เศรษฐกิจปี พ.ศ. 2557 จึงไม่น่าจะเติบโตได้เกินร้อยละ 2.6 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ ณ มี.ค. 57 หากเติบโตในระดับ 0.9 หรือ 1.1 ก็ถือได้ว่าไม่โตเลยก็ว่าได้และโอกาสที่จะเกิดก็มิใช่ว่าจะมีต่ำแต่อย่างใด หากยังไม่มีรัฐบาลตัวจริงเกิดขึ้นมาในระยะเวลาอันใกล้นี้
       


       ในอีกด้านหนึ่ง การปล่อยให้รัฐบาลในระบอบทักษิณ/ยิ่งลักษณ์กลับเข้ามาบริหารอีกครั้งก็มิได้ เป็นการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด ประเด็นก็คือ ในระยะสั้นรัฐบาลใหม่แม้จะหาเงินกู้มาจ่ายค่าข้าวให้ชาวนาได้ แต่จะทำโครงการจำนำข้าวเช่นนี้ต่อไปได้อีกหรือ ในทำนองเดียวกัน โครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านหรือโครงการตามเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทจะสานต่อไปได้โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลายไปได้อย่างไร เหตุก็เพราะในระยะยาวการขาดทุนจากการสต็อกข้าวแล้วเน่าเสีย การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่ไร้ประสิทธิภาพขาดผลตอบแทน ทั้งหมดนี้จะมีผลทำให้เกิดภาระทางการคลังของประเทศที่ต้องนำเงินภาษีประชาชน มาชดใช้อย่างมหาศาล
       


       ประชาชนในขณะนี้ตื่นตัวรู้เท่าทันมากแล้วว่าการเพิ่มหนี้สาธารณะนั้น มิใช่ทรัพย์สินหากแต่เป็นหนี้สินที่ไม่ตนเองก็ลูก+หลานต้องชดใช้ต่อไป รัฐบาลอาจสามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าประชาชนได้ แต่ก็ไม่สามารถทำให้ประชาชนเพิ่มการใช้จ่ายได้เช่นเดียวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น หลังยุคฟองสบู่แตก ประชาชนจึงมีแนวโน้มที่จะออมเพื่อเหลือเงินไว้จ่ายภาษีในอนาคตจากความวิบัติ หายนะที่รัฐบาลนี้สร้างไว้ให้
       


       ไม่ว่าจะมองไปทางใด ยิ่งลักษณ์และพี่ชายคืออุปสรรคของการปฏิรูปประเทศนี้จริงๆ





 
อนาคตเศรษฐกิจไทย


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้