7. งานด้านบริการและการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า

7. งานด้านบริการและการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า



งานด้านบริการและการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า


ด้านบริการ ถ้าเราอบรม คนไทยเราบริการเก่งอยู่แล้ว ทั้งโรงแรม, บันเทิง, การท่องเที่ยว, เรามีคนตกงานมากในวัยหนุ่มวัยสาว เราใช้คนเหล่านี้เป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ตอนนี้ประเทศพัฒนาแล้วต้องการมาก คนใช้และพยาบาลแพงมาก เขาจะใช้คนชาติเดียวกัน ถ้าเราอบรมให้เขารู้ภาษาอังกฤษ และมีทักษะแล้วส่งให้เขาไปเงินเดือนเขาจะเกือบแสนบาทถ้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ถ้าเราส่งไปได้ 2 แสนคน รายได้แต่ละคนประมาณ 8 หมื่นบาท หักค่าใช้จ่าย 3 หมื่นบาท คงเหลือ 5 หมื่นบาท เราจะได้เงินส่งกลับประเทศเป็นเงินแสนล้านบาทต่อปี ซึ่งคน 2 แสนคนนี้ถ้าเผื่อเป็นคนงานที่ถูกโละออก ปลดออก จะเห็นได้ว่าการส่งคนผู้มีความเชี่ยวชาญ ช่างเทคนิค, พยาบาล, ผู้ช่วยพยาบาล ไปทำงานหากินในต่างประเทศ เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว คือแก้ปัญหาคนว่างงานในประเทศ หารายได้เข้าประเทศ แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง และสภาวะหนี้เสีย ซึ่งสภาวะนี้ฟิลิปปินส์ทำมาแล้วเมื่อ 10 กว่าปีก่อน สมัยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในสมัยมากอส ซึ่งงานบริการสภาวะคู่แข่งน้อย ชาติที่ส่งคนไปทำงานต่างประเทศคือไทย, ฟิลิปปินส์ ชาติอื่น ๆ สู้เรื่องบริการเช่นไทยไม่ได้ คนจีนแท้ ๆ ก็สู้ไม่ได้ เพราะคนไทยเรานุ่มนวล แต่นี่คุณไปแข่งสินค้าอุตสาหกรรม, รถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, สิ่งทอ ซึ่งมีคู่แข่งมากมาย


สินค้าบริการคู่แข่งน้อยที่สุด ฝรั่งถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่เก่งเรื่องบริการ คนไทยโดยวัฒนธรรมเราเก่งงานบริการมาก คนไทยเราส่งไปทำงานด้านนี้ได้ถึง 10 ล้านคน ถ้าฝึกอบรมดี ๆ ถ้ากู้เงินมาเพื่อฝึกอบรมคนก็คุ้ม


เวลาผลิตสินค้าอย่าหวังให้เสร็จในกระบวนการแรก ต้องพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า ต้องเพิ่มหลาย ๆ กระบวนการเข้าไป ขอยกคุณธนินทร์ เจียรวนนท์ คุณธนินทร์บอกว่า เอาอาหารสัตว์มาแค่นี้ 8 บาท เอาอาหารสัตว์พวกถั่วเหลืองมาเลี้ยงไก่ มูลค่ากลายเป็น 24 บาทต่อกิโลกรัม แสดงว่าคุณสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มต่อวงจรอาหารสัตว์, ไก่ กลายเป็นสินค้าอื่น เป็นไก่ก็เพิ่มขึ้น 300% ดีกว่าไปผลิตสินค้าอีเล็คโทรนิค พวกไฟฟ้า ถ้าเอาไอเดียนี้มาใช้ครบวงจรจากพืชเป็นอาหาร, อุตสาหกรรมอาหาร ต่อไปทั่วโลกจะขาดแคลนอาหารมาก ยาก็ขาดแคลน คุณแปรรูปก็สะดวก


ประเทศที่น่าเรียนรู้คือไต้หวัน ประเทศไต้หวันมีอุตสาหกรรมขนาดเล็กขนาดย่อม ซึ่งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มากมาย ด้วยผมสนใจศิลปะการต่อสู้ คือ ผมหัดขว้างมีดบิน มีดบินที่ผมหัดทำในไต้หวันมูลค่ามัน 500 บาท ถ้าซื้อในไทย มีดบินนี้ตีจาก สแตนเลส มูลค่าสแตนเลสจริง ๆ อย่างมากก็ 20 - 30 บาท แต่เขามีความสามารถในการออกแบบดาบซามูไรซึ่งใช้ฟันได้ในญี่ปุ่นมูลค่าเกือนแสนบาทและห้ามซื้อ แต่ไปสั่งจากไต้หวันราคา 3 พันกว่าบาท เสียค่าภาษีและชิปปิ้งถึงเมืองไทยก็ประมาณ 5,500 บาท มีหลายอย่างที่คนไทยนึกไม่ถึง ต่างชาติสนใจศิลปะการต่อสู้ ต้นทุน 30 กว่าบาทไปขาย 500 บาทก็มีคนซื้อ ต้องรู้ DEMAND ของคน ต้องทำโมลค์นำแบบต้องพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อย่างคนสนใจสุขภาพ


บริษัทเฟอร์นิเจอร์ต้องพัฒนามาผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพออกกำลังในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหุ่นไม้มวยหย่งชุนเอาเสามาต่อแขนไป 3 แขนแล้ว 1 ขา มูลค่า 6 - 7 หมื่นบาท ไม้ท่อนเดียว คุณไปตัดไม้ตัดป่า ทำเฟอร์นิเจอร์จะมีมูลค่าเท่าไรกัน คนทั่วโลกฝึกมวยหย่งชุนหลายแสนคน ทำไมไม่คิดทำอย่างนี้เป็นบ้าง มูลค่าเพิ่มมันอยู่ที่ส่วนที่เป็น SOFT ไม่ใช่ส่วนที่เป็น HARD หรือตัววัสดุ คนไทยบกพร่องข้อนี้มาก คนไทยไม่รู้จักเอาปัจจัยพวกนี้มาทำ เอาเรื่องที่เป็น SOFT ที่เป็น CULTURE อย่างการ์ตูนไทย อย่างของเล่นสมัยนี้ อย่างชินโนซูเกะ, วอลท์ดิสนีย์ ถ้าคนไทยเราเข้าสู่วงการนี้อย่างเบิร์ด หรือศิลปินอื่น ๆ เราแปลงเป็นคาแรคเตอร์เป็นการ์ตูนรูปแบบต่าง ๆ สร้างมูลค่าที่ต่างชาติชิงของเราไปแล้วเอากลับคืนมาได้ เพราะว่าไม่ใช่คนไทยไม่มีฝีมือในการทำงานด้านบันเทิง เพียงแต่คนไทยมองไม่เห็นเองว่ามูลค่าจะมากขนาดไหน


การสร้างหนังเรื่อง "BEAUTY AND THE BEAST" กำไรไม่ใช่อยู่ที่การสร้างการ์ตูน "BEAUTY AND THE BEAST" มูลค่าคือสร้างผลิตภัณฑ์หลังจากนั้นตามมา
ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลมากละครไทยมีอิทธิพลมากในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าคุณสามารถมองระยะยาว ทำการ์ตูนหรือคาแรคเตอร์ที่เป็นสินค้าที่ต่อเนื่องจากอันนี้ได้ คุณจะไม่ใช่แค่บริษัทขายเทป ไม่ใช่แค่บริษัทผลิตรายการทีวีแล้ว แต่คุณจะเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงเต็มรูปแบบครบวงจร สามารถส่งออกไปขายคนอินโดจีนที่อยู่ทั่วโลก ต้องเปลี่ยนมุมมองการมองเห็น เมืองไทยเรายังมีศักยภาพมาก ธุรกิจไทยต้องมีความคิดในเชิงกลยุทธ์มากกว่านี้ คุณจะมีกลยุทธ์มีการวางแผนได้ คุณต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลก แนวโน้มของมันที่เรียกว่า MEGA TREND สู้ในเชิงข่าวสารซึ่งไม่ใช่แค่ข้อมูลอย่างเดียว การ์ตูน ทีวี รายการบันเทิง นี่คือข่าวสาร ต้องเปลี่ยนมุมมองข่าวสาร ทั้งหมดคือข่าวสารทั้งสิ้น ข่าวสารนี้ส่ามารถสร้างมูลค่าได้ มูลค่าจริง ๆ อย่างทีวีจะมีมูลค่าอะไรมากก็ไม่มาก ที่ขายแพงมากคือ SOFT เครื่องเล่นวีดีโอราคาไม่กี่พัน ที่แพงมากคือการเช่าวีดีโอและซีดีต่าง ๆ


กลยุทธ์ของประเทศคือ ให้ภาพอนาคตแก่ประชาชน บอกทิศทางกว้าง ๆ ทำให้คนเชื่อถือว่าเดินไปในทางนี้ไม่ตกเหว รักษาศักยภาพให้คนอุ่นใจทำมาค้าขึ้นได้ แก้ไขปัญหาที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ในด้านสิ่งแวดล้อมและการป้องกันประเทศ, การศึกษา กลยุทธ์อุตสาหกรรมผลิตสินค้าตามคู่แข่งให้ทันไม่ให้ตกรถไฟในการแข่งขันระดับโลก กลยุทธ์ธุรกิจก็รักษาสัดส่วนตลาดของตนเองในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แนวโน้ม SUNSET ก็เตรียมกระจายความเสี่ยงไปลงทุนด้านอื่น ตามทฤษฏีวัฏจักรชีวิตของสินค้า เป็นวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรม กลยุทธ์ปัจเจกชน ต้องรู้ตัวเองตลอดเวลา ว่านั่งอยู่กับที่ต้องถูกโละออกปลดออกแน่ เพราะต่อไปคนจะไม่ได้แข่งขันกันเองแล้ว คนจะต้องแข่งขันกับคอมพิวเตอร์ด้วย ในความหมายที่ว่าถ้าคุณไม่สามารถผลิตภาพหรือมีประสิทธิภาพ คุณจะถูกแทนที่ด้วยระบบรีเอ็นจิเนียริ่ง ที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่ค่าจ้างสูงขึ้นเปรียบเทียบกับการซื้อคอมพิวเตอร์ราคาแพง อาจจะโละพนักงานแล้วแทนด้วยคอมพิวเตอร์


เมื่อเข้าสู่ทุนนิยมเต็มรูปคนก็ต้องแข่งขันกับคนด้วยกันเอง คนต้องแข่งกับสมองกล บริษัทต่าง ๆ ก็แข่งขันและมีทางเลือกวิธีที่ทำให้อยู่รอด ต้องพัฒนาศักยภาพตลอดเวลา คุณต้องอ่านหนังสือมากกว่าคนอื่น แข่งกันอย่างรุนแรง เหมือนกับกวดวิชาทั้งชีวิต คนนึกว่าการสอบเอ็นทรานซ์คือการกวดวิชาครั้งเดียว มันไม่จริง ถึงเรียน MBA ก็ยังไม่จบ คนนึกว่าจบ MBA แล้วจะจบ ตราบใดที่ยังทำงานอยู่ในภาคธุรกิจมัน คือต้องเรียนหนักแบบ MBA แข่งกันแบบ MBA แข่งกันตลอด ซึ่งจะทำให้คนเครียดมาก ความกดดันจะมหาศาล คนไทยต้องเจอแน่ ๆ เพราะคุณอยากเป็นทุนนิยมนี่ คุณต้องเจอสภาพนี้


(จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)






 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้