6. หลักเกณฑ์สำหรับการผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ สำหรับบุคคลทั่วไป

6. หลักเกณฑ์สำหรับการผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ สำหรับบุคคลทั่วไป



หลักเกณฑ์สำหรับการผ่อนบ้าน , ผ่อนรถยนต์   สำหรับบุคคลทั่วไป



ปกติแล้วการผ่อนบ้านหรือรถ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมผู้บริโภคส่วนใหญ่จะใช้สินเชื่อ มีข้อควรระวังจะซื้อรถยนต์เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะทางการเงินของตัวเอง ราคารถยนต์ที่จะซื้อไม่ควรเกิน 30 % ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ตัวเองมีอ่ยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ที่เป็นเงินสด เช่น มีเงินอยู่ 2 ล้านบาท รถยนต์ที่จะซื้อไม่ควรเกิน 6 แสนบาท มีเงิน 1 ล้านบาท ควรเล่นรถมือสอง อย่างนี้จะปลอดภัย ไม่มีความกดดันเรื่องหนี้สินเลย


การผ่อนบ้าน บ้านที่สามารถซื้อได้ไม่ควรเกินกว่ารายได้ ต่อ ปี 5 ปี เช่นมีรายได้ 240,000 บาทต่อปี คูณ 5 บ้านที่ซื้อได้คือ ล้านกว่าบาท คุณก็จะผ่อนได้ 15 ปีอย่างสบาย ๆ โดยไม่มีแรงกดดัน ถ้าคุณจะผ่อนบ้านและผ่อนรถ คุณก็ควรควบคุมให้อยู่ในอัตราส่วน 30 % สภาพโดยทั่วไปคนที่ไม่ได้ร่ำรวยต้องเลือกก่อนระหว่างการซื้อบ้านหรือรถ ไม่งั้นคุณจะกลุ้มใจมาเผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินคาดไม่ถึงคุณตายแน่ คุณผ่อนได้คุณต้องดวงดีมากคุณต้องรอดปากเหยี่ยวปากกาได้อีก 15 ปีเต็ม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ในสังคมทุนนิยมที่แท้จริง เศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง 5-7 ปีก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเราจะมีหลักประกันได้อย่างไรว่า คุณจะไม่เจ็บป่วยหนัก ๆ ซึ่งต้องใช้เงินมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นผ่อนรถได้แล้วซึ่งจะเร็วกว่าก็ค่อยมาผ่อนบ้าน การผ่อนบ้านก็ใช้หลักตามนี้ คืออย่าให้เกิน 30 % ของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้ผ่อนสบายเหมือน กับการผ่อนบ้านเป็นการเสียค่าเช่าบ้านนั่นเอง เสียไป 20 ปีแล้วได้บ้านกลับมา นี่คือ การบริหารอย่างฉลาด คุณต้องควบคุมตัวเองให้ได้ เท่าที่ทราบมาส่วนใหญ่ ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ประมาณ 60-70 % ของรายได้ที่ตัวเองมีอยู่ ซึ่งตายแน่ เป็นภาวะที่ไม่เหลือทางรอดให้ตัวเอง หรือทางถอยให้ตัวเอง อย่าไปกลุ้มใจ เราคำนวณผิดพลาด เหมือนปัญหาเศรษฐกิจไทย คุณเล่นกู้มาขนาดนี้ กู้มากกว่าสินทรัพย์ของตัวเอง โดยหวังน้ำบ่อหน้า คือหวังว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มันก็เสี่ยงอยู่แล้วเหมือนกับเอาไข่ไก่ไปวางกลางถนนแล้วภาวนาอย่าให้รถทับ มันขึ้นกับดวงเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทำอย่างนี้ก็พัง วิธีบริหารคือทำอย่างไรถึงจะหากล่องใส่หลาย ๆ ชั้น หรือใส่กล่องเหล็ก แล้วมีถุงครอบกันกระแทก ถ้าเป็นแบบนี้ถึงไข่อยู่กลางถนนไข่ไก่ก็ไม่แตก ที่คนไทยมีปัญหามากที่สุดตอนนี้คือ ที่ผ่านมาไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ และไม่ได้เตรียมตัวใจสร้างระบบที่ป้องกันแรงกระทบกระเทือนจากภายนอก สถานการณ์เศรษฐกิจเราตอนนี้เหมือนไข่ไก่ไปวางบนท้องถนน ท้องถนนนี้คือโลกาภิวัฒน์ โอกาสไข่แตกมันสูงอยู่แล้ว อย่าไปเชื่อดวง คุณเชื่อดวงและใช้สิ่งศักดิ์สิทธ์มากเกินไป

 

(จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)






 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้